xs
xsm
sm
md
lg

ทัพบกอิเหนาเสริมเขี้ยวยกใหญ่ ซื้อ UH-60 “แบล็กฮอว์ก” รวดเดียว 20 ลำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เฮลิคอปเตอร์ UH-60 แบล็กฮอว์ค (Black Hawk) อายุ 40 ปีแล้ว แต่ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นอากาศยานปีกหมุนดีที่สุดในโลก นักการทหารจำนวนหนึ่งยกให้เป็น ฮ.แห่งศตวรรษที่ 20 และถ้าหากสหรัฐฯ ยอมขายให้จริง อินโดนีเซียก็จะเป็นประเทศแรกในอาเซียนและทั่วทั้งเอเชีย ที่ได้เป็นเจ้าของ ฮ.โจมตีเวอร์ชั่นต้นตำรับ อินโดนีเซียพร้อมแล้วทั้งการเมืองและการเงินต่าง สำหรับแบล็กฮอว์คฝูงใหญ่ 20 ลำ. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - อินโดนีเซียมีงบประมาณพร้อมแล้วสำหรับเริ่มการจัดซื้อจัดหาอาวุธใหม่ๆ ของเหล่าทัพ ซึ่งรวมทั้งเฮลิคอปเตอร์โจมตี UH-60 “แบล็กฮอว์ก” (Black Hawk) ฝูงใหญ่ที่หมายตาเอาไว้นานข้ามปี สื่อกลาโหมหลายแห่งรายงานในสัปดาห์นี้ อ้างการให้สัมภาษณ์นายทหารระดับสูงของกองทัพ

รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย ปุรโนโม ยุสเกียนโตโร (Purnomo Yusgiantoro) กล่าวว่าประเทศหมู่เกาะใหญ่ที่สุดในโลก มีความจำเป็นต้องจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตีสำหรับป้องกันเขตน่านน้ำแดนดิน

“แบล็กฮอว์ก เป็นตัวเลือกที่ถูกต้อง” พล.อ.ปราโมโน เอ็ดดี้วิโบโว (Pramono Eddie Wibowo) เสนาธิการทหาร ให้สัมภาษณ์ภายหลังพิธีเซ็นสัญญาระหว่างบริษัทพีที เปอร์ตามินา เปอร์เซอโร (PT Pertamina Persero) บริษัทน้ำมันกับธนาคารบีอาร์ไอ (Bank BRI) เว็บไซต์ข่าวกลาโหมอินโดนีเซียดีเฟ็นซ์ด็อทคอม รายงาน

เดือน ต.ค.ปีที่แล้ว รัฐสภาอินโดนีเซียได้ผ่านร่างรัฐบัญญัติงบประมาณ 156,000 ล้านรูเปียะ (16,000,000,000 ดอลลาร์) เป็นงบประมาณผูกพันต่อเนื่องจนถึงปี 2557 สำหรับจัดซื้อจัดหาอาวุธของกองทัพ ซึ่งรวมทั้งเรือดำน้ำ 3 ลำ เครื่องบินฝึกจากบราซิล และเกาหลี อัปเกรดเครื่องบินเอฟ-16 จำนวน 24 ลำ ที่สหรัฐฯ บริจาคให้ จัดซื้อรถถังเลโอพาร์ด 2 กับยานลำเลียงพลโจมตีแบบมาร์เดอร์ (Marder) อีก 50 คัน จากเยอรมนี ซึ่งรายการหลังเป็นการจัดซื้อเพิ่มเติม และซื้อปืนใหญ่อัตตาจร 155 มม. ของบราซิลกับฝรั่งเศส

เฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์ก 20 ลำ เป็นการตัดสินใจล่าสุดในโครงการจัดซื้อจัดหาอากาศยานปีกหมุน สำหรับหน่วยบินโจมตีของกองทัพบก

ปัจจุบัน กองทัพบกอินโดนีเซียมี ฮ.โจมตีใช้การอยู่จำนวน 24 ลำ เป็นแบบ Mi-17-V5 กับ Mi-17 “ฮิป” (Hip) รวม 16 ลำ ที่เหลือเป็นแบบ Mi-35 “ไฮนด์” (Hind) ทั้งหมดผลิตในอดีตสหภาพโซเวียต และใช้งานมานาน

ปลายปีที่แล้ว อินโดนีเซียเซ็นซื้อ ฮ.แบบ AH-64 “อาปาเช่” (Apache) จากบริษัทโบอิ้ง แห่งสหรัฐฯ จำนวน 8 ลำ คาดว่าจะส่งมอบได้ในปีนี้ และ จะเป็น ฮ.โจมตีทันสมัยที่สุด แต่ก็มีจำนวนเพียง “ครึ่งฝูง”

เมื่อรวมกับรุ่นอื่นๆ ที่เป็น ฮ.ลำเลียงขนส่ง ก็จะเป็นอากาศยานปีกหมุนทั้งหมด 100 ลำ ในนั้นเป็น “ยูโรคอปเตอร์ Bo 105” ของบริษัทเมสเซอร์ชมิตต์ ( Messerschmitt-Bölkow-Blohm) เยอรมนี จำนวน 30 ลำ กับ เบลล์ 412 เวอร์ชันต่างๆ ของบริษัทเบลล์ (Bell Helicopter) ทั้งในสหรัฐฯ และในแคนาดา รวม 32 ลำ ทั้งสองแบบสองค่ายผลิตในอินโดนีเซียภายใต้ใบอนุญาต

ยังมีเฮลิคอปเตอร์แบบต่างๆ อีก กว่า 50 ลำ ประจำการในกองทัพอากาศ แต่เกือบทั้งหมดเป็นรุ่นเก่า และในช่วงไม่กี่ปีมานี้ได้สั่งซื้อใหม่ไปทั้งสิ้น 20 ลำ ทั้งหมดเป็น ฮ.ลำเลียงขนส่ง และอยู่ระหว่างรอส่งมอบ

สำหรับ UH-60 ซึ่งผลิตโดยบริษัทซิกอร์สกี เป็น ฮ. แห่งตำนานอย่างแท้จริง ติดตั้งเครื่องยนต์ 2 เครื่อง ใบโรเตอร์ 4 ใบ เข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯ ครั้งแรกในปี 2522 และได้กลายเป็นกำลังหลักในการลำเลียงขนส่ง และภารกิจการโจมตีมาตลอด

แบล็กฮอว์กออกปฏิบัติการนอกประเทศครั้งแรกปี 2526 ในปฏิบัติการช่วยเหลือชาวอเมริกันในประเทศเกรนาดา อีก 6 ปีต่อมา ได้ออกปฏิบัติการในเหตุการณ์ที่เรียกว่า “วิกฤตการณ์ปานามา”

ในปี 2534 ระหว่างสงครามอ่าว สหรัฐฯ ใช้ UH-60 แบล็กฮอว์ก กว่า 300 ลำ ออกปฏิบัติการ ซึ่งได้กลายเป็นการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์กองทัพบกสหรัฐฯ และในปี 2536 UH-60 ได้มีบทบาทสำคัญออกปฏิบัติการในประเทศโซมาเลีย และถูกฝ่ายกบฏยิงตกไป 2 ลำ ด้วยเครื่องยิงระเบิดอาร์พีจี

เหตุการณ์กระฉ่อนโลกครั้งนั้น ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง Blackhawk Down
.
<bR><FONT color=#000033>บราซิลเป็นชาติแรกๆ ที่มีเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์คใช้ แต่เป็น UH-60L ได้รับไป 4 ลำตั้งแต่ปี 2540 ขอซื้ออีก 15 ลำ ในปี 2551 ภายใต้ระบบ FMS ได้รับมอบ 2 ลำแรกในต้นปี 2554 รวมเป็น 6 ลำ เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มี UH-60 ประจำการในปัจจุบันที่เหลือจะเป็น แบล็กฮอว์ค รุ่นส่งออก รวมทั้งที่ไทยและบรูไนขอซื้อ. -- Fab.Mil.Br</b>
.
<bR><FONT color=#000033>แบล็กฮอว์ค เป็น ฮ.ในดวงใจของกองทัพหลายประเทศทั่วโลก จนกระทั่งนักท่องโลกไซเบอร์ทำเวอร์ขั้น Stealth หรือ แบล็กฮอว์ค ล่องหน ออกเผยแพร่ และเป็นที่ฮือฮามากขึ้นเมื่อได้เข้าฉากในภาพยนตร์ Thirty Dark Zero ยุทธการถล่มบินลาดิน แต่ทั้งซิกอร์สกี้ผู้ผลิตและกองทัพบกสหรัฐต่างปฏิเสธ .. ไม่มีแบล็กคฮอว์ครุ่น สเตลธ์. </b>
.
ฝูงบินแบล็กฮอว์กยังคงออกปฏิบัติในสงครามคาบสมุทรบอลข่าน และเกาะเฮติในช่วงทศวรรษที่ 1990 และต่อมา ในสงครามอิรัก กับอัฟกานิสถาน ผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหมพร้อมใจกันยกให้แบล็กฮอว์กเป็น “เฮลิคอปเตอร์แห่งศตวรรษที่ 20”

จนถึงปัจจุบัน แบล็กฮอว์กถูกผลิตออกมาเป็นมากมายหลายเวอร์ชัน รวมทั้งเพื่อใช้ในกองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับเวอร์ชันที่ใช้งานโดยฝ่ายพลเรือน ติดตั้งเครื่องที่มีขนาดต่างกันไป ติดระบบอาวุธ เรดาร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันออกไป และยังเป็นเฮลิคอปเตอร์พาหนะสำหรับประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกด้วย

สหรัฐฯ ยังคงหวงเทคโนโลยีแบล็กฮอว์ก ปัจจุบัน เวอร์ชันที่เป็น ฮ.โจมตี UH-60 นั้น มีใช้ในเพียงไม่กี่ประเทศ และจำนวนไม่มาก แบล็กฮอว์กสำหรับส่งออกเป็นอีกเวอร์ชันหนึ่งที่ขึ้นต้นรหัสด้วย “S” รวมทั้งที่กองทัพไทยสั่งซื้อจำนวน 2 ลำ คือ S-70A-43 และ 12 ลำที่กองทัพบรูไนขอซื้อกลางปีที่แล้วเป็น S-70A-33

ถ้าหากรุ่นที่อินโดนีเซียขอซื้อเป็นแบบ UH-60 จริง ก็จะเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนและทั่วทั้งย่านเอเชีย ที่สหรัฐฯ ยอมขาย ฮ.โจมตีแบล็กฮอว์กต้นตำรับแต่เป็นรุ่นใหม่ให้ ถัดจากโคลัมเบีย (UH-60S) อิสราเอล (UH-60A) เม็กซิโก (UH-60L) บราซิล (UH-60L) ตุรกี (UH-60) และสวีเดน (UH-60M)

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เซ็นซื้อ 20 ลำ ในปี 2551 ภายใต้ระบบ FMS (Foreign Military Sale) เป็น UH-60L และยังรอส่งมอบ บาห์เรน ขอซื้ออีก 9 ลำ ในปี 2555 เป็น UH-60M ภายใต้ระบบ FMS เช่นกัน

เมื่อหลายปีก่อนเคยมีข่าวฮือฮาเกี่ยวกับแบล็กฮอว์ก “สเตลธ์” จนกระทั่งมีการนำ ฮ.เก่าลำหนึ่งไปแต่งเป็น “แบล็กฮอว์กล่องหน” เข้าฉากในภาพยนตร์ Zero Dark Thirty ที่เกี่ยวกับปฏิบัติการโจมตีแหล่งกบดานของบินลาดิน ผู้นำอัลกออิดะห์ ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีอาคารเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก และตึกเพนตากอน ที่ทำการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่เรียกกันทั่วไปว่า เหตุการณ์ 9/11

ทั้งซิกอร์สกี้ และกองทัพบกสหรัฐฯ ต่างยืนยันว่า ไม่เคยมีโครงการผลิตแบล็กฮอว์ก “สเตลธ์”.
กำลังโหลดความคิดเห็น