xs
xsm
sm
md
lg

ส่งออกเสื้อผ้าเขมรยังรุ่ง มูลค่าทะลุ $4,600 ล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ตำรวจปิดถนนในกรุงพนมเปญวันที่ 5 ก.ค.2555 ไม่ให้คนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกจาก จ.กันดาล ไปประท้วงที่กระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงและสวัสดิการในโรงงานซึ่งผลิตเสื้อผ้ายี่ห้อลีวายส์สเตราส์กับยี่ห้อโอลด์เนวีให้กับเจ้าของแบรนด์ในสหรัฐฯ ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าและรองเท้าจะขยายตัวต่อเนื่อง แต่คนงานชาวเขมรกว่า 335,000 คนในอุตสาหกรรมนี้ ยังมีชีวิตความเป็นอยู่ระดับแร้นแค้นเนื่องจากค่าข้างแรงงานที่ต่ำมาก. --  REUTERS/Samrang Pring. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชาในปี 2555 ยังเติบโตต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะเกิดการไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในตลาดส่งออกใหญ่ เช่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 8.72% เป็น 4,610 ล้านดอลลาร์ จาก 4,240 ล้านดอลลาร์ในปี 2554 กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยเรื่องนี้ในวันจันทร์ 28 ม.ค.

ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจอธิบายว่า การขยายตัวของอุตสาหกรรมแขนงนี้ เกิดจากความต้องการในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ตลาดใหญ่จีน ปัจจุบัน เสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชาส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น และจีน มากน้อยตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ภายในกัมพูชาเองอุตสาหกรรมนี้ยังเผชิญกับการนัดหยุดงาน และกรณีพิพาทแรงงานอย่างต่อเนื่อง คนงานนับแสนในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าของนักลงทุนต่างชาติได้รวมตัวเรียกร้องให้นายจ้างปรับค่าแรง และปรับปรุงสวัสดิการต่างๆ ในที่ทำงาน และชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับแร้นแค้น

สำนักข่าวทางการรายงานในเดือน ส.ค.ปีที่แล้วว่า ครึ่งแรกของปีรัฐบาลได้ออกใบอนุญาตลงทุนในแขนงนี้อีก 51 รายใหม่ รวมมูลค่าการลงทุน 327 ล้านดอลลาร์ เป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป 40 แห่ง โรงงานผลิตถุงเท้า 2 แห่ง โรงงานผลิตรองเท้า 8 แห่ง กับโรงงานผลิตแพรพรรณและสิ่งทอชนิดอื่นๆ อีก 1 แห่ง

นักลงทุนจากจีนเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในช่วงเดียวกัน ประกอบด้วย 16 โรงงาน ตามด้วยนักลงทุนเกาหลี กับไต้หวัน 12 และ 11 แห่งตามลำดับ นอกจากนั้น นักลงทุนจากอินเดีย สหราชอาณาจักร ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจากประเทศไทยก็เข้าไปมีกิจการในอุตสาหกรรมแขนงนี้เช่นกัน

ตามตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์เมื่อปีที่แล้ว อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตรองเท้าส่งออกในกัมพูชามีโรงงานกว่า 300 แห่ง มีคนงานทำงานในแขนงนี้ราว 335,400 คน ในนั้น 91% เป็นแรงงานสตรี

อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตรองเท้าเป็นแขนงการผลิตที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศมากที่สุดในปัจจุบัน ช่วงครึ่งแรกของปี 2555 การส่งออกผลิตภัณฑ์มีมูลค่ารวม 2,100 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ เป็นตัวเลขของกระทวงพาณิชย์.
กำลังโหลดความคิดเห็น