xs
xsm
sm
md
lg

ตัดเย็บเสื้อผ้าเขมรไปได้ดี ปีนี้อนุญาตอีก 40 โรงงาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>คนงานจากโรงงานตัด้ย็บเสื้อผ้าส่งออกหลายแห่งกว่า 3,000 คน ตบเท้าลงสู่ท้องถนนกรุงพนมเปฯวนวันที่ 21 พ.ค.ปีนี้ เรีกยร้องให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้างอีก 5 ดอลลาร์ต่อเดือน และปรับปรุงสวัสดิการในเวลาทำงานอีกด้วย การนัดหยุดงานประท้วงจัด โดยสหภาพแรงงานประชาธิปไตยอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ซึ่งมีคนงานรวมกันกว่า 330,000 คน ทำรายได้ให้ประเทศมากเป็นอันดับ 1 แต่คนเหล่านี้กลับได้รับสิทธิประโยชน์น้อยที่สุด. -- REUTERS/Samrang Pring. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออก ซึ่งทำรายได้หลักให้แก่กัมพูชาตลอดหลายปีมานี้ ยังคงไปได้ดี ปีนี้รัฐบาลออกใบอนุญาตให้ก่อตั้งโรงงานอีกถึง 51 แห่ง ซึ่งแสดงให้เห็นความสนใจของนักลงทุนที่จะเข้าไปใช้แรงงานในประเทศนี้ ในขณะที่ค่าจ้างแรงงานยังไม่สูง

โรงงานที่ได้รับใบอนุญาตในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ รวมเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 327 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เป็นตัวเลขในรายงานของสภาพัฒนาแห่งกัมพูชา (Council for the Development of Cambodia) ซึ่งปรากฏในเว็บไซต์ข่าวหลายแห่งปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

รายงานระบุว่า ทั้งหมดเป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าจำนวน 40 แห่ง โรงงานผลิตถุงเท้า 2 แห่ง ผลิตรองเท้า 8 แห่ง และผลิตสิ่งทอชนิดอื่นอีก 1 แห่ง ในนั้นเป็นโรงงานของนักลงทุนจีน 16 แห่ง ของนักลงทุนเกาหลี กับไต้หวัน 12 และ 11 แห่ง ตามลำดับ

รายงานไม่ได้ระบุว่า โรงงานเหล่านี้ผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าให้แก่บริษัทใด หรือยี่ห้อใดบ้าง แต่ข่าวก่อนหน้าเปิดเผยให้ทราบว่า สินค้าที่ผลิตในกัมพูชาล้วนแต่เป็นยี่ห้อที่มีชื่อเสียง ทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป นักลงทุนรายอื่นๆ ยังรวมทั้งจากอินเดีย อังกฤษ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ รวมทั้งจากประเทศไทยด้วย

ตัวเลขของกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินก่อนหน้านี้ระบุว่า ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องนุ่งห่มต่างมีโรงงานกว่า 300 แห่ง จ้างแรงงานราว 335,400 คน ในนั้น 91% เป็นแรงงานสตรี

ระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย.ปีนี้ อุตสาหกรรมนำหน้านี้ส่งออกผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นมูลค่าถึง 2,100 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 9% เทียบปีต่อปี กระทรวงเศรษฐกิจฯ กล่าว ซึ่งเป็นการสวนกระแสกับวิกฤตการณ์ทางการเงินที่กำลังลามในทวีปยุโรปขณะนี้

อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกเป็นแขนงเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ประเทศมากเป็นอันดับ 1 ติดตามด้วยรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นอุตสาหกรรมที่มีการนัดหยุดงานประท้วงบ่อยครั้งที่สุด โดยลูกจ้างเรียกร้องการให้นายจ้างขึ้นค่าแรง และปรับปรุงสวัสดิการเป็นหลัก.
.
<bR><FONT color=#000033>คนงานหญิงทั้ง 2 คนนี้เป็นลมหมดสติในเหตุการณ์วันที่ 22 ก.ค.2554 ระหว่างทำงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าของนักลงทุนจากไต้หวัน ซึ่งผลิตเสื้อผ้าให้กับแฟชั่นเฮ้าส์ที่มีชื่อเสียงในยุโรป อุตสาหกรรมนี้ทำเงินให้กัมพูชามากเป็นอันดับ 1 เป็นกำลังขับดันหลักของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่คนงานในอุตสาหกรรมนี้กว่า 330,000 คน กลับได้ค่าแรงต่ำที่สุดและรับสิทธิประโยชน์น้อยที่สุด. -- REUTERS/Samrang Pring. </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น