xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ ห่วง “สมบัด สมพอน” เรียกร้องให้ลาวโปร่งใสหาตัวให้พบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>นายสมบัด สมพอน กับพระสังฆราชเดสมอนด์ ตูตู แห่งแอฟริกาใต้เมื่อหลายปีก่อน นายสมบัดสำเร็จปริญญาตรีและปริญญาโทสาขาการเกษตรจากมหาวิทยาลัยฮาวาย ครอบครัวอยู่ในสหรัฐฯ แต่เจ้าตัวตัดสินใจกลับบ้านเกิดก่อตั้งองค์กรพัฒนาภาคเอกชน ปฏิบัติงานอยู่ในลาวมาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว ช่วยเหลือเด็กและฝึกฝนอาชีพให้แก่สตรี เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน การหายตัวไปได้สร้างความงุนงงให้แก่ฝ่ายต่างๆ และที่ผ่านมามูลนิธิรางววัลแม็กไซไซในฟิลิปปินส์ได้ออกแถลงเรียกร้องให้ทางการลาวติดตามหาตัวและให้ความปลอดภัยแก่นายสมบัด อีกหลายฝ่ายได้ออกเรียกร้องทำนองเดียวกัน มีการจัดตั้งเว็บไซต์ติดตามหาเบาะแสและร่องรอยการหายตัวของเขาขึ้นมาโดยเฉพาะ.  </b>
.

วอชิงตัน (รอยเตอร์) 16 ม.ค. - รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นางฮิลลารี คลินตัน ได้เรียกร้องในวันพฤหัสบดีนี้ ขอให้ทางการลาวทำการสอบสาวนสืบสวนอย่างโปร่งใส กรณีการหายตัวไปของนักเคลื่อนไหวปฏิบัติงานคนสำคัญคนหนึ่ง ซึ่งกลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชน เชื่อว่าถูกนำไปกักขังตัวโดยฝ่ายรัฐบาล

“เราห่วงใยอย่างลึกซึ้งต่อความเป็นอยู่ของผู้นำชุมชนลาว สมบัด สมพอน ซึ่งได้หายตัวไปเมื่อหนึ่งเดือนก่อน” นางคลินตันกล่าวในคำแถลงฉบับหนึ่ง

“เราขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลลาวให้ดำเนินการสอบสวนสืบสวนอย่างโปร่งใส และกระทำทุกอย่างภายใต้อำนาจของตน เพื่อนำกลับไปยังครอบครัวอย่างปลอดภัย”

คำแถลงส่วนตัวของนางคลินตัน สะท้อนถึงแรงกดดันของสหรัฐฯ ที่เพิ่มมากขึ้นต่อกรณีนายสมบัด ซึ่งกลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนกล่าวว่า หายตัวไปในวันที่ 15 ธ.ค. ในนครเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว หลังจากมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกให้หยุด ขณะที่เขาขับรถจี๊ปไปจากหน่วยงานพัฒนาที่เขาก่อตั้งขึ้นมา

องค์การฮิวแมน ไรท์ วอทช์ (Human Rights Watch) ซึ่งมีสำนักงานในนครนิวยอร์ก ได้ออกคำแถลงฉบับหนึ่งที่ออกเมื่อเดือนที่แล้ว ระบุว่า สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับกรณีนี้ รวมทั้งกล้องวงจรปิดที่บันทึกภาพเอาไว้ แสดงให้เห็นทางการลาวนำตัวนายสมบัดไปกักขัง ถึงแม้เจ้าหน้าที่ลาวจะกล่าวว่า ไม่ทราบเกี่ยวกับที่อยู่ของนายสมบัด ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวของเขาก็ตาม

นายสมบัด ซึ่งอายุ 60 ปี ได้รับรางวัลแม็กไซไซ เมื่อปี 2548 สาขาผู้นำชุมชน เจ้าตัวทำงานส่งเสริมการศึกษา และการพัฒนาในประเทศลาวที่ยากจน ซึ่งรางวัลที่เขาได้รับมักจะถูกเรียกเป็นรางวัลโนเบลแห่งเอเชียอยู่บ่อยๆ

ประเทศคอมมิวนิสต์ที่ไม่มีทางออกทะเลแห่งนี้ ไม่ค่อยอดทนกับฝ่ายที่มีความเห็นไม่ลงรอย เดือนที่แล้ว ได้ขับไล่องค์การพัฒนาจากสวิตเซอร์แลนด์แห่งหนึ่ง ซึ่งได้วิจารณ์ระบอบพรรคการเมืองเดียวในจดหมายที่ส่งถึงบรรดาประเทศผู้บริจาคช่วยเหลือลาว

กระทรวงการต่างประเทศลาวกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า ตำรวจจราจรได้เรียกให้นายสมบัดหยุดซึ่งเป็นการตรวจตามปกติ แต่ไม่ทราบเกี่ยวกับกลุ่มผู้ชายที่นำตัวเขาออกไปหลังจากนั้นไม่นาน

“การหายตัวไปของเขาได้สร้างความห่วงใยอย่างยิ่งในครอบครัวของเขา เพื่อนมิตร และเพื่อนร่วมงานในทั่วโลก เราขอเรียกร้องให้มีการนำเขากลับสู่ครอบครัวโดยเร็ว และขอส่งความคิดถึงกับคำอำนวยพรไปไปยังครอบครัว และคนที่เขารักทั้งหลาย” นางคลินตันระบุ

เมื่อเดือน ก.ค.ปีที่แล้ว นางคลินตันได้กลายเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ คนแรกที่ไปเยือนลาว นับตั้งแต่ปี 2498 เป็นต้นมา และได้ใช้เวลาราว 4 ชั่วโมงพบปะกับบรรดาเจ้าหน้าที่ โดยมุ่งให้ความสำคัญเกี่ยวกับภัยข่มขู่จากวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดที่หลงเหลือจากการทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับสงครามเวียดนาม.
.
<bR ><FONT color=#000033>นางฮิลลารี คลินตัน เข้าเยี่ยมคำนับและหารือกับนายกฯ ลาว ทองสิง ทำมะวง ในวันที่ 11 ก.ค.2555 เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐคนแรกที่ไปเยือนลาวนับตั้งแต่ปี 2498 เป็นต้นมา วันนี้นางคลินตันได้เรียกร้องให้ทางการคอมมิวนิสต์ลาวหาตัว นักพัฒนาภาคเอกชนที่หายตัวไป 1 เดือนก่อน ซึ่งองค์การพิทักษ์สิทธิมนุษยชนเชื่อว่า ถูกเจ้าหน้าที่ของทางการนำไปกักขัง ที่ผ่านมาลาวได้ให้เอกอัครรัฐทูตในประเทศต่างๆ ตลอดจนผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติชี้แจงเรื่องนี้ โดยอ้างว่าไม่รู้ไม่เห็นใดๆ เกี่ยวกับการหายตัวของเจ้าของรางวัลแม็กไซไซ. -- AFP Photo/ Pool/Brendan/Smialowski.</b>
 <bR><FONT color=#000033>สมบัด สมพอน กับบรรดาคุณครูในแขวงเซียงขวางและอาสาสมัครที่เข้าใจว่าเป็นนักศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น ในภาพที่ไม่ได้ระบุวันถ่าย สมบัดก่อตั้งหน่วยงานพัฒนาภาคเอกชนซึ่งเป็นเอ็นจีโอหนึ่งในไม่กี่แห่งที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ให้ปฏิบัติงานในลาวมาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว การหายตัวของเขาได้สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับทุกฝ่าย ภาพที่ปรากฏในกล้องวงจรปิดก็คือ เจ้าตัวถูกตำรวจจราจรเรียกให้หยุด จากนั้นไม่นานก็มีชายกลุ่มหนึ่งไปนำตัวขึ้นรถปิ๊กอัพและขับออกไปจากบริเวณดังกล่าว.</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น