.
โปรดคลิกรูปเหลี่ยมเล็กมุมล่างขวาชมภาพเต็มจอ
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ซาบกรู๊ปเร่งเครื่องกริพเพนเอ็นจี (Gripen NG) ยิงหมัดตรงการตลาด แข่งเครื่องบินรบรัสเซียชัดเจน เป็นครั้งแรกที่สมมติสถานการณ์สู้รบโดยเลือกเครื่องบินที่มีลักษณะคล้ายตระกูล Su-27/30 เป็นคู่ปรับ อันเป็นสิ่งที่ซาบไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งแม้แต่ค่ายอังกฤษก็ยังเลือกใช้เครื่องบินของตัวเองในสถานการณ์สมมติเช่นนี้
ซาบนำวิดีโอชุดสมบูรณ์ของกริพเพนเอ็นจีออกเผยแพร่ในวันพฤหัสบดี 10 ม.ค.ที่ผ่านมา ในโอกาสเปิดตัว “กริพเพนยุคใหม่” (Gripen New Generation) อย่างเป็นทางการ และการเลือกเครื่องบินตระกูลรัสเซียเป็นคู่ปรับในการนำเสนอจึงเป็นการประกาศตำแหน่งทางตลาดอย่างไม่ผิดบัง
เป็นที่เข้าใจกันดีว่า สวีเดนผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อต่อกรกับของค่ายรัสเซียเป็นนัยๆ ทั้งนี้ เนื่องจากได้รู้สึกถึงภัยข่มขู่ยาวนานในสยุคสงครามเย็นจากอดีตสหภาพโซเวียต เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่สวีเดน และคาบสมุทรสแกนดิเนเวียอยู่ใกล้กับอดีตอภิมหาอำนาจหนึ่งของโลก
ในประวัติศาสตร์หลายร้อยปี คาบสมุทรแห่งนี้เคยถูกจักวรรดิรัสเซียยึดครอง และยังคงตกเป็นเป้าการรุกรานของฝ่ายนั้นเสมอมาทุกยุคสมัย โฆษณากริพเพน NG ชิ้นล่าสุด จึงสะท้อนภาพประวัติศาสตร์อย่างตรงไปตรงมาที่สุด
แต่ในแง่มุมการทำตลาด ดูราวกับว่าครั้งนี้ซาบจ้องอย่างเป็นพิเศษไปยังกลุ่มประเทศที่ต้องการเครื่องบินรบประสิทธิภาพสูงที่มีราคาพอเหมาะเอาไว้ต่อกรกับนกเหล็กของค่ายรัสเซียในทวีปต่างๆ ทั่วโลก อันเป็นสถานการณ์เดียวกันกับที่ไทยประสบ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างล้วนมีเครื่องบินตระกูลซูคอยกับมิโกยานประจำการทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม มาเลเซีย พม่า และอินโดนีเซียที่อยู่ไกลออกไป
โฆษณาของซาบอาจทำให้กองทัพอากาศอินเดียต้องฉุกคิดอีกครั้งหนึ่งหลังจากเคยให้ความสนใจกริพเพน ก่อนจะเปลี่ยนเป็นราเฟล (Rafale) ของฝรั่งเศส และในที่สุดก็ตัดสินใจหันไปหาเครื่องบินรบค่ายรัสเซียอีก
ก่อนสิ้นปี 2555 ไม่กี่วันรัสเซียได้ส่งมิก-29K ที่นั่งเดี่ยว จำนวน 2 ลำ กับมิก-29KUB ที่นั่งคู่อีก 2 ลำให้อินเดีย เพื่อใช้ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินวิกรมฑิตย์ (Vikramditya) ที่รัสเซียจะส่งมอบให้อินเดียในเดือน เม.ย.นี้
ในเดือน มี.ค.2553 อินเดียได้เซ็นข้อตกลงกับรัสเซียเป็นมูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์ ซื้อ MiG-29K/KUB (ฟัลครัม-ดี) จำนวน 29 ลำ เพื่อใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบินดังกล่าว ซึ่งอยู่ในโครงการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพเรือ ในขณะที่จีนพยายามขยายแสนยานุภาพทางนาวีเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย
ตามรายงานของสำนักข่าวโนวอสติ ในเดือน ธ.ค.2555 เช่นกัน รัสเซียส่งมอบมิก-29UPG ให้กองทัพอากาศอินเดีย 3 ลำแรก ในโครงการปรับปรุงสมรรถนะของ มิก-29 จำนวนทั้งหมด 69 ลำ ที่ประจำการในกองทัพอากาศอินเดียขณะนี้ รวมมูลค่าราว 900 ล้านดอลลาร์
นักวิเคราะห์ตลาดอาวุธมองว่า วิดีโอเปิดตัวของกริพเพน NG ที่เลือกใช้เครื่องบินตระกูลรัสเซียเป็นคู่ปรับ เป็นการเล็งไปยังตลาดใหญ่เช่นอินเดียด้วย ประเทศนี้เคยประกาศแผนการจัดซื้อเครื่องบินของค่ายตะวันตกราว 200 ลำ ตลอดช่วงหลายปีข้างหน้า เพื่อทดแทนมิก-29 และเครื่องบินรุ่นอื่นๆ ที่จะปลดประจำการ
.
1
2
กองทัพอากาศไทยได้รับกริพเพน 6 ลำแรกในต้นปี 2554 และกำลังรอส่งมอบจากซาบอีก 6 ลำ ตามสัญญาการจัดซื้อจัดหา 2 ครั้ง และมีแนวโน้มว่าจะสั่งซื้อกริพเพนอีก 1 ฝูงเพื่อนำเข้าประจำการแทนเอฟ-5 อีกฝูงหนึ่งที่ทยอยปลดประจำการช่วงปีข้างหน้า
วิดีโอเปิดตัวกริพเพน NG ในวันพฤหัสบดี เริ่มด้วยการอวดสมรรถนะของอุปกรณ์เซ็นเซอร์ใหม่ ที่สามารถตรวจจับเป้าหมายกับความเคลื่อนไหวที่เป็นภัยคุกคามทางภาคพื้นดินได้อย่างละเอียด ชัดเจน และนำไปสู่การทิ้ง “สมาร์ทบอมบ์” ทำลายข้าศึก
จากนั้นวิดีโอได้นำเข้าสู่สถานการณ์สมมติในประเทศเล็กๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งฝูงบิน "ราชอาณาจักร" (Kingdom) ประกอบด้วยกริพเพน NG ออกบินลาดตระเวน และพบข้าศึกซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านซ่องสุมกำลังทางบกใหญ่โต พร้อมยาตราข้ามแม่น้ำที่เป็นพรมแดนธรรมชาติเพื่อบุกยึดเมืองหลวง กริพเพน NG จทั้ง 4 ลำ ได้รับมอบหมายให้ทำลายสะพานข้ามแม่น้ำตัดเส้นทางเดินทัพ
กริพเพน NG ได้อวดความสามารถพิเศษในการขึ้นลงบนทางหลวง เพื่อติดอาวุธแทนการบินกลับฐานที่อยู่ไกลออกไปมาก และอาจจะไม่มีเวลาพอสกัดกั้นข้าศึก ซึ่งจะต้องฝ่าด่านเครื่องบินรบของอีกฝ่าย และในที่สุด ได้นำไปสู่การพันตูอย่างใกล้ชิดกันกลางอากาศ หรือ “ด็อกไฟต์”
วิดีโอได้ฉายภาพรวมให้เห็นความได้เปรียบด้วยระบบเรดาร์ใหม่ของกริพเพน NG รวมทั้งระบบดาต้าลิงก์อันเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิบัติการ Joint Strike ของฝูงบิน ที่นำไปสู่ชัยชนะ ..
กริพเพน NG ยิงแฟลร์ (ดีคอย) หลอกจรวดของซู-30 ก่อนจะใช้ความคล่องแคล่วที่เป็นต่อวกกลับเป็นฝ่ายกระทำ ยิงเครื่องบินข้าศึกตกไป และทำลายสะพานได้สำเร็จ ทำให้กองทัพข้าศึกหมดหนทางเข้ายึดเมืองหลวง
วิดีโอกริพเพน NG ยังโชว์อานุภาพของจรวดมีทีออร์ (Meteor) เป็นครั้งแรกอีกด้วย และนี่คือ เขี้ยวเล็บสำคัญสำหรับเครื่องบินรบยุคที่ 4+ เลือดไวกิ้ง.
.
3
4
5
โปรดคลิกรูปเหลี่ยมเล็กมุมล่างขวาชมภาพเต็มจอ
วิดีโอที่ซาบกรุ๊ปนำออกเผยแพร่วันพฤหัสบดี 10 ม.ค.2556 วันเปิดตัว “กริพเพนยุคใหม่” (Gripen New Generation) เป็นท่อนแรกของทีเซอร์ที่ออกมานำร่องก่อนหน้านี้ ประกอบกันเข้าเป็นวิดีโอความยาวเกือบ 7 นาทีครึ่ง แนะนำคุณสมบัติ และความสามารถของกริพเพน NG นับเป็นครั้งแรกที่ซาบเลือกเอาเครื่องบินรบที่มีรูปลักษณ์คล้ายกับ Su-27/30 ของรัสเซียอันเป็นคู่ปรับโดยนัยมาเป็นคู่กรณีในการพันตูกลางหาว หรือ “ด็อกไฟต์” เป็นเวลาสั้นๆ และการยิงทำลายข้าศึกทั้งฝูง ถึงแม้ว่าสถานการณ์จริงจะไม่ได้ง่ายเช่นที่ปรากฏในวิดีโอชิ้นนี้ก็ตาม .. ซาบประกาศจุดยืนของกริพเพน NG ชัดเจน. |
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ซาบกรู๊ปเร่งเครื่องกริพเพนเอ็นจี (Gripen NG) ยิงหมัดตรงการตลาด แข่งเครื่องบินรบรัสเซียชัดเจน เป็นครั้งแรกที่สมมติสถานการณ์สู้รบโดยเลือกเครื่องบินที่มีลักษณะคล้ายตระกูล Su-27/30 เป็นคู่ปรับ อันเป็นสิ่งที่ซาบไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งแม้แต่ค่ายอังกฤษก็ยังเลือกใช้เครื่องบินของตัวเองในสถานการณ์สมมติเช่นนี้
ซาบนำวิดีโอชุดสมบูรณ์ของกริพเพนเอ็นจีออกเผยแพร่ในวันพฤหัสบดี 10 ม.ค.ที่ผ่านมา ในโอกาสเปิดตัว “กริพเพนยุคใหม่” (Gripen New Generation) อย่างเป็นทางการ และการเลือกเครื่องบินตระกูลรัสเซียเป็นคู่ปรับในการนำเสนอจึงเป็นการประกาศตำแหน่งทางตลาดอย่างไม่ผิดบัง
เป็นที่เข้าใจกันดีว่า สวีเดนผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อต่อกรกับของค่ายรัสเซียเป็นนัยๆ ทั้งนี้ เนื่องจากได้รู้สึกถึงภัยข่มขู่ยาวนานในสยุคสงครามเย็นจากอดีตสหภาพโซเวียต เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่สวีเดน และคาบสมุทรสแกนดิเนเวียอยู่ใกล้กับอดีตอภิมหาอำนาจหนึ่งของโลก
ในประวัติศาสตร์หลายร้อยปี คาบสมุทรแห่งนี้เคยถูกจักวรรดิรัสเซียยึดครอง และยังคงตกเป็นเป้าการรุกรานของฝ่ายนั้นเสมอมาทุกยุคสมัย โฆษณากริพเพน NG ชิ้นล่าสุด จึงสะท้อนภาพประวัติศาสตร์อย่างตรงไปตรงมาที่สุด
แต่ในแง่มุมการทำตลาด ดูราวกับว่าครั้งนี้ซาบจ้องอย่างเป็นพิเศษไปยังกลุ่มประเทศที่ต้องการเครื่องบินรบประสิทธิภาพสูงที่มีราคาพอเหมาะเอาไว้ต่อกรกับนกเหล็กของค่ายรัสเซียในทวีปต่างๆ ทั่วโลก อันเป็นสถานการณ์เดียวกันกับที่ไทยประสบ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างล้วนมีเครื่องบินตระกูลซูคอยกับมิโกยานประจำการทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม มาเลเซีย พม่า และอินโดนีเซียที่อยู่ไกลออกไป
โฆษณาของซาบอาจทำให้กองทัพอากาศอินเดียต้องฉุกคิดอีกครั้งหนึ่งหลังจากเคยให้ความสนใจกริพเพน ก่อนจะเปลี่ยนเป็นราเฟล (Rafale) ของฝรั่งเศส และในที่สุดก็ตัดสินใจหันไปหาเครื่องบินรบค่ายรัสเซียอีก
ก่อนสิ้นปี 2555 ไม่กี่วันรัสเซียได้ส่งมิก-29K ที่นั่งเดี่ยว จำนวน 2 ลำ กับมิก-29KUB ที่นั่งคู่อีก 2 ลำให้อินเดีย เพื่อใช้ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินวิกรมฑิตย์ (Vikramditya) ที่รัสเซียจะส่งมอบให้อินเดียในเดือน เม.ย.นี้
ในเดือน มี.ค.2553 อินเดียได้เซ็นข้อตกลงกับรัสเซียเป็นมูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์ ซื้อ MiG-29K/KUB (ฟัลครัม-ดี) จำนวน 29 ลำ เพื่อใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบินดังกล่าว ซึ่งอยู่ในโครงการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพเรือ ในขณะที่จีนพยายามขยายแสนยานุภาพทางนาวีเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย
ตามรายงานของสำนักข่าวโนวอสติ ในเดือน ธ.ค.2555 เช่นกัน รัสเซียส่งมอบมิก-29UPG ให้กองทัพอากาศอินเดีย 3 ลำแรก ในโครงการปรับปรุงสมรรถนะของ มิก-29 จำนวนทั้งหมด 69 ลำ ที่ประจำการในกองทัพอากาศอินเดียขณะนี้ รวมมูลค่าราว 900 ล้านดอลลาร์
นักวิเคราะห์ตลาดอาวุธมองว่า วิดีโอเปิดตัวของกริพเพน NG ที่เลือกใช้เครื่องบินตระกูลรัสเซียเป็นคู่ปรับ เป็นการเล็งไปยังตลาดใหญ่เช่นอินเดียด้วย ประเทศนี้เคยประกาศแผนการจัดซื้อเครื่องบินของค่ายตะวันตกราว 200 ลำ ตลอดช่วงหลายปีข้างหน้า เพื่อทดแทนมิก-29 และเครื่องบินรุ่นอื่นๆ ที่จะปลดประจำการ
.
1
2
กองทัพอากาศไทยได้รับกริพเพน 6 ลำแรกในต้นปี 2554 และกำลังรอส่งมอบจากซาบอีก 6 ลำ ตามสัญญาการจัดซื้อจัดหา 2 ครั้ง และมีแนวโน้มว่าจะสั่งซื้อกริพเพนอีก 1 ฝูงเพื่อนำเข้าประจำการแทนเอฟ-5 อีกฝูงหนึ่งที่ทยอยปลดประจำการช่วงปีข้างหน้า
วิดีโอเปิดตัวกริพเพน NG ในวันพฤหัสบดี เริ่มด้วยการอวดสมรรถนะของอุปกรณ์เซ็นเซอร์ใหม่ ที่สามารถตรวจจับเป้าหมายกับความเคลื่อนไหวที่เป็นภัยคุกคามทางภาคพื้นดินได้อย่างละเอียด ชัดเจน และนำไปสู่การทิ้ง “สมาร์ทบอมบ์” ทำลายข้าศึก
จากนั้นวิดีโอได้นำเข้าสู่สถานการณ์สมมติในประเทศเล็กๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งฝูงบิน "ราชอาณาจักร" (Kingdom) ประกอบด้วยกริพเพน NG ออกบินลาดตระเวน และพบข้าศึกซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านซ่องสุมกำลังทางบกใหญ่โต พร้อมยาตราข้ามแม่น้ำที่เป็นพรมแดนธรรมชาติเพื่อบุกยึดเมืองหลวง กริพเพน NG จทั้ง 4 ลำ ได้รับมอบหมายให้ทำลายสะพานข้ามแม่น้ำตัดเส้นทางเดินทัพ
กริพเพน NG ได้อวดความสามารถพิเศษในการขึ้นลงบนทางหลวง เพื่อติดอาวุธแทนการบินกลับฐานที่อยู่ไกลออกไปมาก และอาจจะไม่มีเวลาพอสกัดกั้นข้าศึก ซึ่งจะต้องฝ่าด่านเครื่องบินรบของอีกฝ่าย และในที่สุด ได้นำไปสู่การพันตูอย่างใกล้ชิดกันกลางอากาศ หรือ “ด็อกไฟต์”
วิดีโอได้ฉายภาพรวมให้เห็นความได้เปรียบด้วยระบบเรดาร์ใหม่ของกริพเพน NG รวมทั้งระบบดาต้าลิงก์อันเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิบัติการ Joint Strike ของฝูงบิน ที่นำไปสู่ชัยชนะ ..
กริพเพน NG ยิงแฟลร์ (ดีคอย) หลอกจรวดของซู-30 ก่อนจะใช้ความคล่องแคล่วที่เป็นต่อวกกลับเป็นฝ่ายกระทำ ยิงเครื่องบินข้าศึกตกไป และทำลายสะพานได้สำเร็จ ทำให้กองทัพข้าศึกหมดหนทางเข้ายึดเมืองหลวง
วิดีโอกริพเพน NG ยังโชว์อานุภาพของจรวดมีทีออร์ (Meteor) เป็นครั้งแรกอีกด้วย และนี่คือ เขี้ยวเล็บสำคัญสำหรับเครื่องบินรบยุคที่ 4+ เลือดไวกิ้ง.
.
3
4
5