xs
xsm
sm
md
lg

เพื่อนบ้านพูดกันกระฉ่อนเว็บ จับตาสหรัฐฯให้เรือรบไทย 2 ลำฟรีๆ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 19 พ.ย.2546 เรือแวนเดกริฟท์ (FFG 48 USS Vandegrift) จอดที่ท่าเรือไซ่ง่อน กลายเป็นเรือรบสหรัฐลำแรกที่กลับเข้าเวียดนามนับตั้งแต่สงครามยุติลง 28 ปีก่อนหน้านั้น เรือรบลำนี้ประจำกองทัพเรือที่ 7 เป็นส่วนหนึ่งในกองเรือบรรทุกเครื่องบินคิตตีฮอว์ค (CV 63 USS Kitty Hawk) ซึ่งปัจจุบันปลดประจำการแล้ว เรือแวนเดกริฟท์เป็นที่คุ้นเคยอย่างดีในภูมิภาคนี้ เคยแวะเยือนเกาะภูเก็ตก็หลายครั้ง เป็นหนึ่งในเรือฟรีเกตชั้นโอลิเวอร์ฮาซาร์ดเพอร์รี (Oliver Hazard Perry-Class) จำนวน 2 ลำที่สหรัฐฯ เสนอ ให้ฟรี แก่ราชนาวีไทย .. หรือว่าไทยได้ตัดสินใจไปเรียบร้อยแล้ว? แฟนๆ ข่าวกลาโหมถามกันกระฉ่อนเว็บในสัปดาห์นี้. -- US Navy Photo/Gary B Granger (RELEASED).</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ประเทศไทยได้รับความสนใจจากประชาคมออนไลน์อีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์นี้ เมื่อมีการถกเถียงผ่านเว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งเกี่ยวกับกฎหมายฉบับหนึ่งที่ค้างอยู่ในรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการมอบเรือรบเก่าให้แก่มิตรประเทศ 3 ชาติ รวมทั้ง 2 ลำสำหรับไทยด้วย ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า ราชนาวีและรัฐบาลไทยอาจจะตัดสินใจรับเรือทั้งสองลำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เรือที่สหรัฐฯ เสนอให้แก่ไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว คือเรือเร็นท์ (FFG-46 USS Rentz) กับเรือแวนเดกริฟท์ (FFG 48 USS Vandegrift) ซึ่งเป็นเรือฟรีเกตชั้นโอลิเวอร์ฮาซาร์ดเพอร์รี (Oliver Hazard Perry -Class) ที่ประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ปัจจุบัน แต่ราชนาวีไทยยังไม่เคยแสดงท่าทีใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ยังไม่มีข่าวสารอะไรเกี่ยวกับการตัดสินใจออกมาผ่านสื่อต่างๆ

เรื่องนี้กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่งเมื่อเว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งรายงานในวันอังคาร 7 ม.ค.นี้ เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่นำร่างรัฐบัญญัติเรื่องนี้เข้าพิจารณาอีกครั้ง หลังจากปล่อยค้างมาข้ามปีท่ามกลางเสียงเรียกร้องจากกระทรวงกลาโหมที่ขอให้ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้โดยเร็ว โดยชี้ให้เห็นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ที่สูญเสียไปปีละนับร้อยล้านดอลลาร์จากความล่าช้า

ตามรายงานล่าสุดซึ่งอ้างนิตยสารเนวีไทมส์ (Navy Times) สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้ผ่านร่างรัฐบัญญัติฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.ปีที่แล้ว และนำเสนอให้วุฒิสภาพิจารณา แต่วุฒิฯ คัดค้านเนื่องจากในร่างกฎหมายมีการเสนอให้เรือ 2 ลำแก่ประเทศตุรกี ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับอิสราเอลด้วย

ตามแผนการดังกล่าว สหรัฐฯ เสนอเรือฟรีเกตให้แก่พันธมิตร 3 ประเทศแบบ “ฟรีๆ” แต่ผู้รับจะต้องจ่ายเป็นค่าซ่อมแซม และอัปเกรดเรือตั้งแต่ 40-80 ล้านดอลลาร์ต่อลำ

ในแพกเกจเดียวกันนี้สหรัฐฯ เสนอ “มอบ” เรือชั้นโอลิเวอร์-ฮาซาร์ดฯ แก่เม็กซิโก 2 ลำ คือ เรือเคิร์ต (FFG 38 Kerts) กับเรือแม็คคลัสคีย์ (FFG 41 McKluskey) ให้ตุรกีคือเรือฮาลีเบอร์ตัน (FFG 43 Halyburton) กับเรือเท็ค (FFG 43 TECH)

ผู้แทนกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้อธิบายให้คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องของวุฒิสภาทราบว่า ถึงแม้ตุรกีจะเป็นประเทศมุสลิม แต่เป็นพันธมิตรนาโต้ของสหรัฐฯ มานาน และมิใช่ครั้งแรกที่ตุรกีได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผลิตในสหรัฐฯ ปัจจุบัน ทัพเรือตุรกียังมีฟริเกตชั้นเพอร์รีประจำการอยู่ด้วย

ยังไม่ทราบชะตากรรมของร่างรัฐบัญญัติฉบับดังกล่าว แต่วุฒิสภามีกำหนดนำเข้าพิจารณาใหม่ทั้งหมดในวันที่ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา เนวีไทม์สกล่าว
.
<bR><FONT color=#000033>จากหน้าสุด --เรือฟรีเกตเร็นท์ (FFG 46 USS Rentz) ที่สหรัฐเสนอมอบให้ไทยฟรีๆ เรือพิฆาตพิงค์นีย์ (DDK 91 USS Pinkney) เรือพิฆาตแซมป์สัน (DDG 102 USS Sampson) เรือลาดตระเวนโชซิน (CG 65 USS Chosin) เรือบรรทุกเครื่องบินนิมิตซ์ (CVN 68 USS Nimitz) แล่นเข้าขบวนในทะเลจีนใต้วันที่ 15 ก.พ.2553 เป็นกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีครบเครื่อง ใต้ผืนน้ำก็ยังมีอีก 1-2 ลำ สหรัฐกำลังทยอยปลดประจำการเรือฟรีเกตชั้นโอลิเวอร์ฮาซาร์ดเพอร์รี (Oliver Hazard Perry-Class) ให้หมดภายในปี 2558 เรือพิฆาตชั้นอาร์ลีเบิร์ค (Arleigh Burke-Class) เช่นทั้งสองลำนี้ ก็อยู่ในคิวถูกปลดด้วย เพื่อนำเรือรบยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยีใหม่เข้าใช้แทน. -- US Navy Photo/John Philip Wagner Jr/(Released). </b>
2
.

กองทัพเรือสหรัฐฯ ทยอยปลดประจำการเรือฟรีเกตชั้นนี้มาตั้งแต่ปี 2538 และมีกำหนดจะให้แล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2558 รวมทั้งสิ้น 51 ลำ ที่นำเข้าประจำการในช่วงปี 2522-2532 เรือนำของชั้นคือ FFG 7 Oliver-Hazard Perry ปลดตั้งแต่ปี 2540 หลังใช้งานมา 20 ปี

ตามข้อมูลของกองทัพเรือสหรัฐฯ จนถึงสิ้นปี 2555 ที่ผ่านมา ยังมีเรือชั้นโอลิเวอร์-ฮาซาร์ดฯ ประจำการอยู่ไม่ถึง 20 ลำ ลำ รวมทั้ง 6 ลำที่เสนอ “มอบ” ให้เม็กซิโก ตุรกี กับไทยด้วย ส่วนลำอื่นๆ ที่เหลือมีอยู่อย่างน้อย 6 ลำ ที่จะทยอยปลดระหว่างเดือน ก.พ.-ส.ค.ปีนี้

ที่ผ่านมา มีอย่างน้อย 10 ลำที่ปลดประจำการ และถูกนำไปตัดขายเป็นเศษเหล็ก หรือทำลายโดยฝ่ายความมั่นคง อีกจำนวนหนึ่งรอเวลานำไปทำลาย ที่เหลือ “มอบ” หรือ “ขาย” ให้พันธมิตรในตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และยุโรปตะวันออก ผู้แทนกองทัพเรือสหรัฐฯ บอกกับวุฒิสภาว่า การปลดประจำการเรือชั้นเพอร์รี มีค่าใช้จ่ายลำละ 1 ล้านดอลลาร์ และหากยังเก็บไว้ก็จะมีค่าดูแลรักษาต่างๆ ประมาณ 30 ล้านดอลลาร์ต่อปีต่อลำ

สำหรับยูเอสเอสเรนท์ กับยูเอสเอสแวนเดกริฟท์ เข้าประจำการพร้อมกันในปี 2527 ซึ่งครบกำหนดใช้งาน 20 ปีในปี 2557

หลายปีมานี้ ทั้งยูเอสเอสเร็นท์ และยูเอสเอสแวนเดกริฟท์ ต่างได้รับมอบภารกิจให้ประจำกองทัพเรือที่ 5 และกองทัพเรือที่ 7 จึงเป็นที่คุ้นเคยในภูมิภาคนี้ แต่เรือแวนเดกริฟท์เป็นที่รู้จักมักคุ้นดีกว่าสำหรับไทย เนื่องจากเคยแวะเยือนเกาะภูเก็ตมาหลายครั้ง และร่วมฝึกซ้อมรบกับพันธมิตรในย่านนี้ในหลายโอกาส

เรือแวนเดกริฟท์ยังสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์ด้านกลาโหมระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนาม โดยไปเยือนนครโฮจิมินห์ในเดือน พ.ย.2526 กลายเป็นเรือรบสหรัฐฯ ลำแรกที่กลับไปเวียดนาม ตั้งแต่สงครามยุติลงในปี 2518
.
เก่าแต่ยังเก๋า US Navy Photo/General Dynamics
 <bR><FONT color=#000033>เรือแวนเดกริฟท์ (USS Vandegrift) ซึ่งเป็นเรือฟริเกตชั้นโอลิเวอร์ฮาซาร์ดเพอร์รี (Oliver Hazard Perry-Class) ทดลองยิงจรวดนำวิถีวันที่ 15 มี.ค.2539 เป็นเรือขนาด 4,100 ตัน ยาว 138 เมตร ความเร็วสูงสุดกว่า 29 นอต (54 กม./ชม.) ปฏิบัติการไกลสุด 9,300 กม. ฯลฯ ติดจรวดฮาร์พูน ตอร์ปิโด ปืนใหญ่ระบบฟาลังซ์ ระบบต่อสู้อากาศยานและเรือดำน้ำ อื่นๆ  อีกเพียบ ทั้งไต้หวันและมาเลเซียขอซื้อ แต่สำหรับไทยสหรัฐฯ เสนอให้เรือชั้นนี้ฟรีๆ 2 ลำพร้อมเม็กซิโกกับตุรกี. -- US Navy Photo. </b>
3
 <bR><FONT color=#000033>เขมรก็รู้จัก -- เรือแวนเดกริฟท์ (FFG 48 USS Vandegrift) แล่นกับเรือตรวจการณ์ PC 1141 กับ PC 1108 ของกองทัพเรือกัมพูชาในภาพวันที่ 24 ต.ค.2555 เป็นส่วนหนึ่งของการฝึก CARAT ในอ่าวไทยกับอีกหลายประเทศ -บังกลาเทศ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และติมอร์เลสเต เรือแวนเดกริฟท์เป็นที่รู้จักอย่างดีในย่านนี้ .. หรือกำลังจะตกเทอดมาสู่ราชนาวีไทย? ชาวเว็บถามกันในสัปดาห์นี้. -- US Navy Photo/Robert Clowney (Released).</b>
4
 <bR><FONT color=#000033>เรือฟริเกตเร็นท์ (FFG 46 USS Rentz) ในภาพวันที่ 15 ก.พ.2553 ขณะร่วมกองเรือบรรทุกเครื่องบินนิมิตซ์กองทัพเรือที่ 7 ในทะเลจีนใต้ ช่วงปีหลังๆ เรือเร็นท์ห่างเหินภูมิภาคนี้ไปเนื่องจากมีภารกิจหลักในการปราบปรามยาเสพติดตามชายฝั่งแปซิฟิกตะวันออก เป็นอีกลำที่สหรัฐฯ เสนอมอบให้แก่กองทัพเรือไทยฟรีๆ แต่จะมีค่าซ่อมบำรุง 40-80 ล้านดอลลาร์ต่อลำ ขึ้นอยู่กับ ออพชั่น ที่ต้องการ. -- US Navy Photo/John Philip Wagner Jr (Released).</b>
5
 <bR><FONT color=#000033>เรือฟริเกตเร็นท์ (FFG 46 USS Rentz) ออกแล่นทดสอบในทะเลนอกฝั่งซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนียอันเป็นขั้นตอนปฏิบัติหลังนำเข้าประจำการ ในวันที่ 6 ส.ค.2527 กองทัพเรือสหรัฐทยอยปลดประจำการเรือชั้นโอลิเวอร์ฮาซาร์ดเพอร์รี (Oliver Hazard Perry-Class) ที่มีทั้งหมด 51 ลำ ในช่วงกว่า 30 ปีมานี้ ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่ถึง 20 ลำ รวมทั้ง 2 ลำที่เสนอให้ไทยฟรีๆ แต่มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและอัพเกรด 30-80 ล้านดอลลาร์ต่อลำ. -- US Navy Photo.  <bR><FONT color=#000033>
6
<bR><FONT color=#000033>เรือฟริเกตเร็นท์ (FFG 46 USS Rentz) ออกแล่นทดสอบในทะเลนอกฝั่งซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนียอันเป็นขั้นตอนปฏิบัติหลังนำเข้าประจำการ ในภาพวันที่ 6 ส.ค.2527 เข้าใจกันว่าทั้งเรือเร็นท์และเรือแวนเดกริฟท์ ที่สหรัฐฯ เสนอให้ไทยฟรีๆ มีกำหนดจะปลดประจำการในปี 2557 หลังใช้งานครบ 20 ปี แต่ก็ยังเป็นเรือรบทันสมัย ยังเป็นที่ต้องการของหลายประเทศ. -- US Navy Photo.</b>
7
<bR><FONT color=#000033> เรือฟริเกตเร็นท์ (FFG 46 USS Rentz) แล่นอยู่ใกล้ๆ เรือชายฝั่ง (Littoral Surface Craft-Experimental) หรือ LSC(X)) ที่อยู่ระหว่างการทดสอบ ในภาพวันที่ 1 ส.ค.2548 ซึ่ง LSC(X) จะเป็นเรือรบในอนาคตอีกรุ่นหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐ เช่นเดียวกับ LCS 1 กับ LCS 2 ที่ทยอยนำเข้าประจำการช่วงปีสองปีมานี้ ขณะเดียวกันสหรัฐฯ ได้ทยอยปลดประจำการเรือฟริเกต และเรือพิฆาตรุ่นปัจจุบันจ่อคิวรอ. -- US Navy Photo/John F Williams/Released.</b>
8
 <bR><FONT color=#000033>เรือโจมตีชายฝั่งอินดีเพนเดนซ์ (LCS 2 Independence) ระหว่างแล่นทดสอบในอ่าวเม็กซิโกโดยบริษัทผู้ผลิต ก่อนนำเข้าประจำการกองทัพเรือเมื่อปีที่แล้ว นี่คือตัวอย่างของเรือรบยุคใหม่ที่สหรัฐทยอยนำเข้าประจำการแทนเรือที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งถูกปลดประจำการมาเป็นชุดๆ ไป รวมทั้งเรือฟริเกต 2 ลำที่เสนอให้ไทยฟรีๆ ในขณะนี้ด้วย. -- Photos by Dennis Griggs/General Dynamics/Released. </b>
9
.

เรือชั้นเพอร์รียังคงเป็นเรือรบทันสมัย หลายลำผ่านการศึกษาอย่างโชกโชนมาในช่วงปลายยุคสงครามเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย และเกือบทั้งหมดได้ทำหน้าที่ติดตามกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีของสหรัฐฯ ไปในทุกน่านน้ำทั่วโลก

และแม้ว่าจะสร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์ในการคุ้มครองเรือรบลำอื่นๆ กับภารกิจปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก แต่ก็สามารถใช้งานได้หลากหลาย ติดอาวุธนำวิถี และอาวุธอื่นๆ อีกรอบตัว ล้วนเป็นระบบเดียวกับที่ใช้ในเรือรบอีกหลายลำของราชนาวีไทย รวมทั้งจรวดฮาร์พูนด้วย

ถึงแม้จะเก่า แต่เรือรบชั้นนี้ยังได้รับความสนใจจากหลายประเทศ รวมทั้งกองทัพเรือไต้หวันที่ขอซื้อจากสหรัฐฯ จำนวน 4 ลำ และปลายปีที่แล้วนายทหารระดับสูงแห่งกองทัพเรือคนหนึ่งกล่าวว่า มาเลเซียมีความประสงค์จะขอซื้อเรือรบชั้นนี้จากสหรัฐฯ จำนวน 4 ลำ แต่หลังจากนั้นก็ยังไม่มีรายงานความคืบหน้าใดๆ อีก

กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กำลังอยู่ระหว่างพัฒนานำกองทัพเรือเข้าสู่ยุคใหม่ โดยนำเรือรบยุคใหม่เข้าประจำการ รวมทั้งเริ่มนำเรือโจมตีชายฝั่ง หรือ Littoral Combat Ship เข้าใช้งานในช่วงปี 2 ปีมานี้ เช่นเดียวกับเครื่องบินของกองทัพเรือที่จะเปลี่ยนไปใช้ F-35 และกำลังพัฒนายานบินแบบไร้คนบังคับเพื่อใช้ทั้งในภารกิจลาดตระเวน และโจมตี

ขณะเดียวกัน ก็กำลังพัฒนา “เรือไร้คนบังคับ” เพื่อใช้ในภารกิจออกล่า-ตรวจหาเรือดำน้ำข้าศึกที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเรือฟรีเกตที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น