xs
xsm
sm
md
lg

ตัวเลขตื่นตา เวียดทุ่มปีละพันๆ ล้านเหรียญส่งลูกหลานเรียนนอก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR ><FONT color=#000033>ทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยลัคห่มง์ (Lac Hong University) จ.โด่งนาย (Dong Nai) ฉลองชัยการแข่งขันหุ่นยนตร์ระดับชาติเมื่อปีที่แล้ว นี่คือตัวอย่างหนึ่งในการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเวียดนามที่สร้างขึ้นมาเพื่อสอนวิชาการด้านวิศวกรรมกับเทคโนโลยีเป็นหลัก ตามความต้องการในท้องที่ จังหวัดนี้เป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมแห่งภาคใต้ แวดล้อมด้วยสวนอุตสาหกรรมหลากประเภททั้งในนครโฮจิมินห์ จ.หายซเวือง (Hai Duong) และบ่าเหรียะ-หวุงเต่า (Ba Ria- Vung Tau) ที่อยู่ติดกัน LHU อวดอัตราจ้างงานของบัณฑิตสูงถึง 98% สถาบันอุดมศึกษาในประเทศจะต้องปรับปรุงคุณภาพครั้งใหญ่ ขณะที่ชาวเวียดนามนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนต่อในต่างแดนมากขึ้นเรื่อยๆ. -- ภาพ: lhu.Ed.Vn </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เป็นเรื่องที่ฮือฮากันในประชาคมออนไลน์เวียดนาม เมื่อกระทรวงการเงินเปิดเผยตัวเลขอันน่าตื่นตาตื่นใจ ที่ในแต่ละปีชาวเวียดนามส่งเงินออกไปให้ลูกหลานที่เรียนในต่างแดนจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์ ขณะที่นักเรียนจากประเทศนี้ไป “เรียนนอก” เพิ่มขึ้นทุกปี จนทะลุปีละกว่า 100,000 คนในขณะนี้

หนังสือพิมพ์เทยบ๋าวกีงเตเหวียดนาม (Thoi bao Kinh te Vietnam) หรือ “ข่าวเศรษฐกิจเวียดนาม” รายงานเรื่องนี้อ้างการเปิดเผยของนายเหวียนเจืองซยาง (Nguyen Truong Giang) เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของกระทรวงการเงินที่ยืนยันว่าแต่ละปีมีการโอนเงิน “หลายพันล้านดอลลาร์” เพื่อการศึกษาอบรมของลูกหลาน

จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่ไปเรียนในต่างแดนเพิ่มขึ้นรวดเร็วมากในช่วงหลายปีมานี้ จากเพียง 98,536 คน ในปีการศึกษา 2553-2554 เป็น 106,104 คน ในปีการศึกษา 2544-2545 ยังไม่ได้นับรวมกับจำนวนที่ไปศึกษาต่อ หรือฝึกอบรมโดยทุนของรัฐบาลอีกปีละ 2,000-4,000 คน

ตามรายงานของสื่อทางการก่อนหน้านี้ รัฐบาลเวียดนามโดยกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมตั้งเป้าจะผลิตมหาบัณฑิต กับดุษฎีบัณฑิตที่เรียนสำเร็จจากต่างประเทศให้ได้ 20,000 คน ภายในปี 2558 นี้ และเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554

กระทรวงศึกษาธิการฯ ได้ระบุในรายงานชิ้นหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ในปัจจุบัน นักเรียนจากเวียดนามราว 60,000 คน กำลังศึกษาในสถาบันที่มีชื่อเสียงต่างๆ ในต่างประเทศ นักเรียนเวียดนามที่สมัครไปเรียนต่อในสหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และจีนมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี

การไปเรียนต่อต่างประเทศเริ่มอย่างเป็นกระบวนการในปีการศึกษา 2540-2541 ซึ่งในขณะนั้นส่วนใหญ่มุ่งไปเรียนอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ เป็นหลัก ช่วงปีต่อๆ มาปลายทางได้ขยายไปสู่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้กลายเป็นอีกปลายทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาเป็นลำดับ

นอกเหนือจากค่าเล่าเรียนแล้ว ประมาณกันว่า แต่ละปีนักเรียน หรือนักศึกษาชาวเวียดนามในต่างแดนแต่ละคนใช้เงินโดยเฉลี่ยระหว่าง 10,000-15,000 ดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่าในแต่ละปีพ่อแม่ผู้ปกครองจะส่งเงินให้ลูกรวมเป็นเงิน 1,000-1,500 ล้านดอลลาร์เป็นอย่างน้อย

นายซยางย้ำว่า นี่เป็นเพียงตัวเลขประมาณการเฉลี่ย ซึ่งค่าใช้จ่ายจริงนั้นสูงกว่านี้มาก
.
 <bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บบล็อกส่วนตัวของนักศึกษาเวียดนามคนหนึ่งถ่ายกับเพื่อนๆ ในวันฉลองปริญญาที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีออคแลนด์ (Auckland University of Technology) ประเทศนิวซีแลนด์ ตัวเลขของทางการชี้ชัด ในแต่ละปีชาวเวียดนามส่งเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้บุตรหลานที่กำลังศึกษาในต่างแดน นิวซีแลนด์กับออสเตรเลียเป็นสองปลายทางที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงปีหลังๆ นี้.</b>
2
<bR><FONT color=#000033>ภาพโฆษณาของมหาวิทยาลัยลัคห่มง์ (Lac Hong University) จ.โด่งนาย (Dong Nai) ในภาคใต้เวียดนามที่เปิดการเรียนการสอนสนองความต้องการในท้องถิ่น ไม่เพียงแต่เน้นหนักในสาขาวิศวรรกรรมกับเทคโนโลยีเท่านั้น หากเปิดสอนสารพัดสาขารวมทั้งภาษาอังกฤษด้วย LHU ยังร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศหลายแห่ง สนองการไปศึกษาต่อต่างประเทศของบัญฑิตตามความนิยมแห่งยุคสมัย.  -- ภาพ: lhu.Ed.Vn </b>
5
 <bR><FONT color=#000033>บัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งในกรุงฮานอยในวันรับปริญญา ในช่วงปีที่กระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมเข้มงวดกวดขันเรื่องคุณภาพ สื่อของทางการรายงานก่อนหน้านี้ว่าปีการศึกษา 2555-2556 กระทรวงฯ สั่งล้มเลิกโครงการสอนระดับมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศราว 20,000 โครงการ หลังตรวจพบไม่ได้มาตรฐานสากล สถาบันอุดมศึกษาในเวียดนามจะต้องปรับปรุงคุณภาพกันยกใหญ่. -- ภาพ: Dan Tri Online. </b>
5

เจ้าหน้าที่ผู้นี้กล่าวอีกว่า ชาวเวียดนามส่งลูกหลานไปเรียนในต่างประเทศเพราะเชื่อว่า จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพดีกว่า และได้ค่าจ้างสูงกว่าเมื่อเรียนจบกลับมา เพราะฉะนั้น จึงไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับสถาบันการศึกษาในประเทศที่จะต้องปรับปรุงคุณภาพครั้งใหญ่ อย่างน้อยก็ต้องให้เท่าเทียมกับในประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ

จากจำนวนที่กำลังศึกษาต่อในต่างแดน 106,000 คนในปีนี้ มีประมาณ 35,900 คน ที่ไปศึกษาในประเทศแถบเอเชีย นายซยางกล่าว

การที่ชาวเวียดนามนิยมส่งลูกหลานไปเรียนต่างแดนมากขึ้น ได้เปิดโอกาสให้แก่สถาบันการศึกษาของต่างประเทศเข้าไปเปิดให้บริการในเวียดนาม แต่ในปัจจุบัน ก็ยังมีจำนวนน้อย เช่น มหาวิทยาลัย RMIT (Royal Melbourne Institute of Technology) หรือ British International University เป็นต้น

ในเดือน ก.ย.2555 รัฐบาลเวียดนามได้ออกข้อกำหนด และระบุคุณสมบัติของสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่จะเข้าไปเปิดให้บริการในเวียดนาม โดยจะต้องมีการลงทุนราว 7,000 ดอลลาร์ต่อนักศึกษา 1 คน ทั้งนี้ ไม่นับค่าเช่าที่ดิน และมูลค่าการลงทุนจะต้องไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านด่ง หรือประมาณ 15 ล้านดอลลาร์ TBKT รายงาน

เวียดนามกำหนดเอาไว้ชัดเจนว่า หากนักลงทุนต่างชาติจะก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในเวียดนามจะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการฯ อนุมัติได้ในระดับวิทยาลัย แต่หากเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งฝึกฝนด้านวิชาชีพจะต้องผ่านการอนุมัติจากกระทรวงแรงงาน สวัสดิการสังคมและทหารผ่านศึกเท่านั้น.
กำลังโหลดความคิดเห็น