xs
xsm
sm
md
lg

“เจนส์” ปูดข่าวไทยเริ่มยกเครื่องเรือนเรศวร-ตากสิน เชื่อม “กริพเพน”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เรือหลวงนเรศวรหมายเลข 421 ในอ่าววิกตอเรีย ฮ่องกง 16 ต.ค.2551 คู่แฝดที่ไม่ได้อยู่ในภาพนี้จะเป็นหมายเลข 422 คือเรือหลวงตากสิน บริษัท Saab แห่งสวีเดนกำลังจะอัพเกรดเรือหลวงทั้งสองลำของไทยเพื่อให้สื่อสารกับฝูงบิน JAS-39 กริพเพนได้เช่นเดียวกันเรือจักรีนฤเบศ รวมทั้งติดเขี้ยวเล็บให้แก่เรือหลวงแฝดอีกจำนวหนึ่งด้วย นิตยสารเจนส์ (Janes) ที่มีชื่อเสียงด้านข่าวกลาโหมรายงานในวันพฤหัสบดีนี้. -- ภาพ: Kazec/En.Wikipedia.Org.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองทัพเรือไทยจัดงบประมาณ 3,300 ล้านบาท ให้ Saab Group แห่งสวีเดน ติดตั้งระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์บนเรือรบแฝด “นเรศวร-ตากสิน” เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับฝูงบิน JAS-39 “กริพเพน” กับเครื่องบินติดระบบเตือนการณ์ล่วงหน้า Saab 340 “อีริอาย” (Erieye) ของกองทัพอากาศได้ ในแผนการเชื่อมระบบป้องกันเข้าด้วยกันอีกเฟสหนึ่ง

นับเป็นการอัปเกรดเรือหลวงคู่แฝดครั้งที่สอง และยังเป็นการดำเนินการขั้นตอนที่สองหลังจากเมื่อต้นปีนี้ กองทัพเรือได้ให้บริษัทจากสวีเดนติดตั้งระบบคล้ายกันนี้ในเรือหลวงจักรีนฤเบศ เพื่อเชื่อมต่อกับฝูงบินขับไล่ กับเครื่องบินตรวจการณ์ทันสมัย

กองทัพอากาศไทย ได้รับมอบ JAS-39/C/D กริพเพน ในต้นปี 2553 จำนวน 6 ลำ และมีกำหนดรับอีก 6 ลำจากผู้ผลิตในสวีเดนในปี 2556 นี้ พร้อมกับ Saab 340 ติดระบบเตือนภัยทางอากาศล่วงหน้าอีก 1 ลำ รวมเป็นสองในแผนการจัดซื้อ รวมทั้งสิ้น 1,100 ล้านดอลลาร์ เจนส์กล่าว

บริษัทสวีเดนประกาศแผนการอัปเกรดเรือรบของไทยในเดือน มิ.ย.2554 ซึ่งรวมทั้งติดตั้งระบบควบคุมการยิง 9LV MK4 ระบบควบคุมการยิงแบบ CEROS 2000 ระบบเรดาร์ Sea Giraffe AMB และระบบอิเล็กโทรออปติก-ดาตาลิงก์แบบ EOS 500 เพื่อสื่อสารกับกริพเพน และอีริอาย

ตามรายงานในเว็บไซต์ของเจนส์ในวันพฤหัสบดี 20 ก.ย.นี้ ราชนาวีไทยยังมีแผนการจัดซื้อเรือฟรีเกตอีก 2 ลำ ขนาดระวาง 2,000-3,000 ตัน โดยเล็งไปที่เรือผลิตในเกาหลีรุ่นหนึ่ง กับอีกรุ่นหนึ่งในเยอรมนี เรือรบลำใหม่จะต้องมีความเร็วอย่างน้อย 25 นอต ติดตั้งระบบอาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศ และพื้นสู่พื้น ติดปืนกล และอื่นๆ รวมทั้งลานจอดเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10 ตันด้วย

นอกเหนือจากราชนาวีแล้ว กองทัพบกไทยยังมีแผนการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์อีก 2 ลำ ด้วยงบประมาณ 2,800 ล้านบาท ซึ่งมีการพูดถึง UH-60M “แบล็คฮอว์ก” หลังจากไทยสั่งซื้อไป 6 ลำก่อนหน้านี้ ขณะที่งบประมาณกลาโหมปี 2556 เพิ่มขึ้นราว 7% เป็นประมาณ 5,700 ล้านดอลลาร์ เจนส์กล่าว

เรือหลวงนเรศวร กับเรือหลวงตากสินสร้างขึ้นจากโครงเรือฟรีเกตแบบ 035H2 (Type- 035H2) ซึ่งเป็นเรือฟรีเกตชั้นเจียงฮู 3 (Jianghu III-class) ของกองทัพเรือจีน และต่อโดย China State Shipbuilding Corp แห่งนครเซี่ยงไฮ้ มูลค่าลำละ 2,000 ล้านบาท โดยติดเครื่องยนต์ และระบบอาวุธของตะวันตก

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ราคาจะต่ำกว่าเรือที่ต่อในตะวันตกถึง 1 ใน 4 แต่ฝีมือการต่อของจีนไม่เป็นที่ประทับใจ กองทัพเรือไทยต้องตามแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งรื้อระบบสายไฟต่างๆ ภายใน และติดตั้งใหม่เสียเอง ซึ่งเป็นแบบอย่างให้จีนได้พัฒนาเรือฟรีเกตชั้นนี้ต่อไป ทั้งนี้ เป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่ง

เรือหลวงทั้งสองลำติดตั้งเครื่องยนต์ LM2500 กับแก๊สเทอร์ไบน์ของเยเนอรัลอิเล็กทริก ความเร็วสูงสุด 32 นอต (59 กม./ชม.) มีรัศมีทำการกว่า 7,400 กม. และติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล 20V1163 TB83 ไว้สำรอง อาวุธสำคัญคือ จรวดฮาร์พูน ( RGM-84 Harpoon SSM) พื้นสู่พื้น ที่ผลิตในสหรัฐฯ

สำหรับระบบจรวด RIM-162 Evolved Sea Sparrow Missile ที่จะติดตั้งใหม่ เป็นระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน และป้องกันการโจมตีทางเรือที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูงที่สุดอีกระบบหนึ่งในโลก ใช้ในเรือพิฆาตชั้นอาร์ลีห์เบอร์ค (Arleigh Burke-class Destroyer) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ รวมทั้งในเรือพิฆาตซูมวอลต์ (Zumwalt-class Destroyer) ซึ่งเป็นเรือพิฆาตเทคโนโลยีสเตลธ์ ที่สหรัฐฯ จะทยอยนำเข้าประจำการในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

ปัจจุบัน เรือรบแฝดของไทยยังติดตั้งปืนใหญ่เรือ Mk-45 Mod 2 ขนาด 127 มม./54 คาลิเบอร์ 1 แท่น ซึ่งเป็นระบบปืนใหญ่ที่ใช้แพร่หลายในเรือพิฆาต เรือฟรีเกต กระทั่งเรือลาดตระเวนขนาดใหญ่ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในหลากหลายเวอร์ชันต่างกันออกไป เรือทั้งสองลำยังติดปืนใหญ่กล 37 มม./63 คาลิเบอร์ แบบ 76 (Type 76A) ผลิตในจีนแท่นคู่ 2 แท่น ปืนกล 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 4 แท่น และติดตอร์ปิโดขนาด 324 มม. กับท่อยิง Mk-32 Mod 5 จำนวน 2 แท่นๆ ละ 3 ท่อ

เรือหลวงนเรศวร กับเรือหลวงตากสินยังมีลานจอด โรงเก็บ และระบบชักลาก สำหรับเฮลิคอปเตอร์แบบเวสต์แลนด์ซูเปอร์ลิงซ์ 300 (Super Lynx 300) ที่ผลิตในอังกฤษอีก 1 ลำด้วย.
.
กำลังโหลดความคิดเห็น