xs
xsm
sm
md
lg

จีนออกปากรถไฟความเร็วสูงลาวสร้างยากที่สุด ต้องฝ่าดงระเบิด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 11 มี.ค.2554 คนงานชาวจีนควบคุมเครื่องเจาะดินที่บ้านบ่อเปียดในแขวงหลวงน้ำทา เพื่อนำไปวิเคราะห์ชั้นดิน ทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวจะตัดผ่านบริเวณนี้ ตามรายงานล่าสุดในสัปดาห์นี้ ฝ่ายจีนได้สำรวจอะไรต่างๆ พร้อมหมดแล้ว รวมทั้งการออกแบบโครงการและแผนการก่อสร้าง ซึ่งการปฏิบัติอาจจะเริ่มขึ้นได้ในเร็วๆ นี้ สื่อของทางการอ้างคำพูดของประธานกลุ่มบริษัทรถไฟจีนที่ไปเยือนลาวระหว่างวันที่ 10-11 ก.ย.ที่ผ่านมา. -- AFP Photo/Hoang Dinh Nam.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - จีนมีทางรถไฟยาวที่สุดในโลก แต่การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในลาวนับว่ายากที่สุดในโลก เนื่องจากต้องสร้างอุโมงค์ลอดภูเขา สร้างสะพานข้ามแม่น้ำ และหุบเหว เป็นความยาวกว่า 2 ใน 3 ของระยะทางทั้งหมด และต้องสร้างผ่านเขตที่ยังเต็มไปด้วยวัตถุระเบิดตั้งแต่ครั้งสงครามที่ยังไม่ระเบิดอีกด้วย

สื่อของทางการลาวรายงานเรื่องนี้ ระหว่างประธานกลุ่มบริษัทรถไฟจีน นายหลี่สางจิ้น (Li Shangjin) ไปเยือนลาวอย่างเป็นทางการสัปดาห์นี้ ซึ่งฝ่ายจีนคาดว่าการก่อสร้างจะเริ่มขึ้นได้ในเร็วๆ นี้

ที่ผ่านมา ฝ่ายจีน “ได้ลงทุนทั้งด้านบุคลากร วัตถุ และด้านการเงินจำนวนมากพอสมควร ดำเนินการคัดเลือกแบบ ถ่ายภาพทางอากาศ เลือกแนวเส้นทางรถไฟ การเจาะสำรวจทางธรณีศาสตร์ การสำรวจภูมิประเทศ การประเมินค่าทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษาความเป็นไปได้ การออกแบบเบื้องต้น การเตรียมการลงมือก่อสร้าง..” หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่รายงาน

“ท่านหลี่สางจิ้นกล่าวว่า โครงการทางรถไฟจีน-ลาว จะลงมือก่อสร้างโดยเร็ว” หนังสือพิมพ์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในลาวซึ่งเป็นของทางการนครเวียงจันทน์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ทางรถไฟในลาวจะต้องก่อสร้างผ่านเขตภูเขาหินปูนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงในแต่ละปี “ผ่านกระดูกสันหลังอินโดจีน มีสะพาน และอุโมงค์คิดเป็น 63% ของระยะทางความยาวทั้งหมด และต้องผ่านเขตห่างไกลที่ไม่มีคนอยู่อาศัย และอาณาบริเวณทีมีระเบิดที่ยังไม่ระเบิดกระจัดกระจาย เป็นโครงการหนึ่งที่สร้างยากที่สุดในโลก” สื่อของลาวอ้างคำกล่าวของฝ่ายจีน

นายหลี่เดินทางเยือนลาวระหว่างวันที่ 10-11 ก.ย.ที่ผ่านมา และได้เข้าเยี่ยมคำนับหารือเรื่องนี้กับนายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีลาว เวียงจันทน์ใหม่กล่าว

ลาวและจีนเซ็นสัญญากันตั้งแต่ปี 2553 การก่อสร้างทางรถไฟช่วงด่านชายแดนบ่อหาน-บ่อแตน ไปยังนครเวียงจันทน์ควรจะเริ่มตั้งแต่ต้นปี 2554 แต่ก็ไม่สามารถเป็นไปได้ด้วยปัญหาหลายประการ รวมทั้งปัญหาคอร์รัปชันอื้อฉาวในกระทรวงการรถไฟของจีนเอง และปัญหาความไม่ชัดเจนในนโยบายของไทย ในการก่อสร้างส่วนที่ผ่านดินแดนไทย เพื่อต่อไปยังมาเลเซีย และสิงคโปร์

ทางรถไฟความเร็วสูงระยะทางประมาณ 450 กม.ในลาวมีมูลค่าถึง 7,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งลาวจะต้องเข้าถือหุ้นในนี้ 30% ฝ่ายจีนถืออีก 70% หากไม่สามารถทำให้เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟความเร็วสูงสายอาเซียนได้ ก็อาจจะไม่คุ้มกับการลงทุน

ต่างไปจากทางรถไฟความเร็วสูงทั่วไป จีนกำลังจะทำให้ช่วงที่ผ่านดินแดนลาวมีทั้งขบวนขนส่งผู้โดยสาร และขบวนขนส่งสินค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวและการค้าระหว่างจีนกับสมาชิกกลุ่มอาเซียน ระบบรถไฟจะช่วยลดเวลาในการขนส่ง และลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้อย่างมาก

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ กลุ่มบริษัทรถไฟจีนมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ และระบบรถในประเทศคิดเป็นระยะทางราว 2 ใน 3 ของทั้งหมด รวมทั้งระบบ และเส้นทางเดินรถในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศด้วย

ตามรายงานก่อนหน้านี้ กลุ่มบริษัทรถไฟจีนพร้อมลงลงมือสร้างเส้นทางช่วงคุนหมิง-สิบสองปันนาไปยังชายแดนลาว โดยจะก่อสร้างพร้อมๆ กับส่วนที่อยู่ในดินแดนลาว.

งานเริ่มแล้ว AFP Photo/Hoang Dinh Nam
<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 11 มี.ค.2554 คนงานชาวจีนควบคุมเครื่องเจาะดินที่บ้านบ่เปียดในแขวงหลวงน้ำทา เพื่อนำไปวิเคราะห์ชั้นดิน ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลแสงสีศิวิไลซ์ แต่ชาวบ้านกว่า 1,000 ครอบครัวในย่านนี้กำลังจะต้องอพยพออกจากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายบ่อเต็น-เวียงจันทน์ การก่อสร้างจริงจะเริ่มขึ้นในเร็วๆ นี้ สื่อของทางการรายงาน. -- AFP Photo/Hoang Dinh Nam.</b>
2
<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 11 มี.ค.2554 คนงานชาวจีนเข้าพื้นที่บริเวณบ้านบ่อเปียด แขวงหลวงน้ำทา ปักธงแดงกำกับเอาไว้แสดงแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เบื้องหลังเป็นภูเขาที่อาจจะต้องเจาะอุโมงค์หรือสร้างสะพานยกระดับอ้อมไป ทางรถไฟสายนี้กว่า 2 ใน 3 จะเป็นสะพานกับอุโมงค์ หลายบริเวณที่จะตัดผ่านยังเต็มไปด้วยวัตถุระเบิดตั้งแต่ครั้งสงคราม ซึ่งจะต้องกวาดเก็บให้หมดก่อน.  -- AFP Photo/Hoang Dinh Nam.</b>
3
<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 11 มี.ค.2554 แม่หญิงลาวชาวบ้านบ่อเปียด แขวงหลวงน้ำทา กำลังทำงานในบริเวณบ้านขณะคนงานชาวจีนกำลังขุดๆ เจาะๆ ในบริเวณใกล้เคียง เตรียมการก่อสร้างทางรถไฟจากชายแดนเข้าเวียงจันทน์ ราษฎรในพื้นที่ห่างไกลเหล่านี้ดูจะไม่ใช่ลูกค้าของรถไฟความเร็วสูง แต่จะต้องอพยพออกจากพื้นที่เปิดทางให้โครงการได้เกิด. -- AFP Photo/Hoang Dinh Nam.</b>
4
กำลังโหลดความคิดเห็น