xs
xsm
sm
md
lg

จีนเปิดสนามบินฉางสุ่ยเดือนนี้ ใหญ่โตสูสีสุวรรณภูมิ ประตูสู่อาเซียน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 8 มิ.ย.2555 ด้านหน้าอาคารผู้โดยสารสนามบินนานาชาติฉางสุ่ย โครงการมูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ในนครคุนหมิง ซึ่งจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการตามกำหนดวันที่ 28 มิ.ย.นี้ แต่นี่ก็เป็นเพียงเฟสแรกเท่านั้น สนามบินแห่งนี้ออกแบบโดยบริษัทสถาปัตยกรรม-วิศรรมที่ปรึกษาจากสหรัฐฯ และอังกฤษ ดูเป็นสากล กำลังจะเป็นประตูใหญ่เข้าบ้านแห่งใหม่เชื่อมต่อกับกลุ่มอาเซียน-เอเชียใต้ จนถึงตะวันออกกลาง-ยุโรป จะช่วยทำให้มณฑลที่อยู่ห่างไกลในเขตเขา สว่างไสวทัดเทียมกับภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศที่พัฒนาไปไกล ไม่เพียงเท่านั้นรถไฟความเร็วสูงกำลังจะพุ่งออกจากที่นี่ไป 3 ทิศทางเชื่อมกับพม่า เวียดนาม ไทย ไปจนถึงสิงคโปร์. -- ภาพ:  Xinhua.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รัฐบาลจีนประกาศเปิดใช้ท่าอากาศยานนานาชาตินครคุนหมิงอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 มิ.ย.นี้ซึ่งเป็นเฟสแรก สนามบินใหญ่แห่งนี้ถูกออกแบบมาให้รับผู้โดยสารได้ 68 ล้านต่อปี เมื่อการขยายในเฟสที่ 2 แล้วเสร็จ เพื่อรองรับอนาคตในแผนการพัฒนามณฑลภาคตะวันตกเฉียงใต้ให้เป็นจุดศูนย์กลางความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มอาเซียน และเอเชียใต้ รวมทั้งตะวันออกกลาง และทวีปยุโรป

พร้อมๆ กับเปิดใช้สนามบินใหญ่แห่งนี้ ผู้นำจีนได้ยืนยันกับ นายกรัฐมนตรีลาวนายทองสิง ทำมะวง ที่ไปเยือนปลายเดือนที่แล้วว่า โครงการถไฟหัวกระสุน 7,000 ล้านดอลลาร์จากมณฑลหยุนหนันเข้านครเวียงจันทน์ไปเชื่อมต่อกับไทยที่ จ.หนองคาย ยังคงอยู่ เพียงรอความชัดเจนทางด้านนโยบายของไทยเท่านั้น

ท่าอากาศยานฉางสุ่ย (Changshui) มูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ สร้างขึ้นในพื้นที่เกือบ 33 ตารางกิโลเมตร ในแหล่งที่เคยเป็นภูเขาที่สิ้นสภาพแล้ว อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 2,100 เมตร สร้างขึ้นใช้แทนท่าอากาศยานนานาชาติอู๋เจียปา (Wujiaba) ซึ่งใช้งานมานาน

สนามบินใหม่ประกอบด้วย 2 รันเวย์ เทียบกับสนามบินเก่าที่มีเพียงหนึ่ง ซึงจะเลิกใช้ และจะถูกทำลายหลังจากนี้ สื่อของทางการกล่าว

ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัว เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จครบทุกเฟสในปี 2580 คุนหมิงจะกลายเป็นศูนย์การคมนาคมขนส่งทางอากาศขนาดใหญ่อันดับ 4 ของประเทศ ถัดจากนครปักกิ่ง กว่างโจว กับเซี่ยงไฮ้ ขณะที่ทางการท้องถิ่นของมณฑลนี้กล่าวว่า จะสร้างให้ท่าอากาศยานฉางสุ่ยเป็น “โครงการใหญ่แห่งศตวรรษ”

สนามบินแห่งใหม่ก่อสร้างเมื่อปี 2552 จะรองรับผู้โดยสารได้ 38 ล้านคนในปี 2563 และเพิ่มเป็น 68 ล้านคนหลังจากนั้น

ดูจะเป็นเจตนาสร้างให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่นี่ดูเป็นสากลอย่างแท้จริง สนามบินใหม่ออกแบบโดย SOM (Skidmore, Owings & Merrill LLP) ซึ่งเป็นบริษัทสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ร่วมกับกลุ่ม Arup กลุ่มวิศวกรรม และที่ปรึกษาจากกรุงลอนดอน ทั้งนี้ เป็นข้อมูลที่เป็นทางการในเว็บไซต์ของท่าอากาศยาน

เมื่อเริ่มก่อสร้าง 3 ปีที่แล้ว ตั้งใจจะใช้ “เจิ้งเหอ” (Zhenghe) สนามบินอยู่ห่างจากตัวเมืองราว 22 กม. ต่อเชื่อมกันด้วยโทลล์เวย์ระยะทาง 21 กม. กับทางหลวงสายเก่าอีกสายหนึ่ง
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 8 มิ.ย.2555 ส่วนหนึ่งในบริเวณห้องผู้โดยสารขาออกสนามบินฉางสุ่ย ที่จะเปิดใช้ตามกำหนดในวันที่ 28 มิ.ย.นี้ หลังก่อสร้างมา 3 ปี โครงการนี้มีมูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ (23,000 ล้านหยวน) สร้างขึ้นในอาณาบริเวณราว 33 ตารางกิโลเมตร และอยู่สูงจากระดับนำทะเล 2,100 เมตร ที่นี่จะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางอากาศใหญ่โตเป็นอันดับ 4 ของประเทศ รองจากนครปักกิ่ง กว่างโจวและเซี่ยงไฮ้ เป็นประตูใหญ่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทางทิศตะวันตกเฉียงใต้. -- ภาพ:  Xinhua.</b>
2
<bR><FONT color=#000033>อาสาสมัครซักซ้อมกันในภาพวันที่ 8 มิ.ย.2555 เตรียมรับการเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปลายเดือน สนามบินฉางสุ่ยมูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ในนครคุนหมิง มีความใหญ่โตสูสีกับสนามบินสุวรรณภูมิของไทย อยู่ในแผนการของรัฐบาลกลางที่จะพัฒนาให้มณฑลหยุนหนันเป็น หัวสะพาน เชื่อมกับกลุ่มอาเซียนกับเอเชียใต้ ที่นี่ยังจะเป็นต้นทางรถไฟความเร็วสูง 3 สายเชื่อมต่ออนุภูมิภาคแม่น้ำโขงไปจนถึงสิงคโปร์ด้วยจุดประสงค์ทั้ง ขนคน-ขนของ.  -- ภาพ:  Xinhua.</b>
3
<bR><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 8 มิ.ย.2555 คนงานกำลังหามสิ่งของเดินผ่านบริเวณห้องพักของผู้โดยสารขาออก อันเป็นมุมหนึ่งที่ดูโล่งโปร่งสบายภายในสนามบินนานาชาติฉางสุ่ย นครคุนหมิงที่สร้างเสร็จหมาดๆ และจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 28 เดือนนี้ รัฐบาลกลางจงใจสร้างที่นี่ให้เป็นศูนย์กลางการติดต่อค้าขายและการคมนาคมขนส่งระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียนและเอเชียใต้ทั้งมวล สนามบินมูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ซึงจะมีขนาดใหญ่โตสูสีกับสนามบินสุวรรณภูมิของไทย. -- ภาพ:  Xinhua.</b>
4
อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานเฉิงสุ่ยเต็มรูปแบบ มีเนื้อที่ใช้งานกว้างขวางถึง 548,300 ตารางเมตร เกือบเท่าๆ กับสนามบินสุวรรณภูมิของไทยในปัจจุบัน ซึ่งอาคารผู้โดยสารมีเนื้อที่ 563,000 ตารางเมตร

นครคุนหมิงกับมณฑลหยุนหนัน ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลในกรุงปักกิ่งให้เป็นศูนย์กลางการติดต่อค้าขาย และความสัมพันธ์ในทุกรูปแบบกับกลุ่มอาเซียน

ตามแผนการที่เรียกว่า “หยุนหนันหัวสะพาน” จากมณฑลนี้จะมีทางรถไฟความเร็วสูงแยกออก 3 ทิศทาง ลงใต้เข้าลาว และไทยจนถึงสิงคโปร์สายหนึ่ง ออกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้าพม่าสู่กรุงย่างกุ้งอีกหนึ่ง อีกสายหนึ่งมุ่งสู่ชายแดนภาคเหนือเวียดนามไปเชื่อมกับระบบรถไฟความเร็วสูงของประเทศนี้อนาคต

อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันรถไฟความเร็วสูงเส้นทางคุนหมิง-เวียงจันทน์-หนองคาย-กรุงเทพฯ เป็นรูปเป็นร่างมากที่สุด มีการกำหนดแนวทางรถไฟที่ชัดเจน มีการเวนคืนที่ดินในส่วนที่จัดเข้าเขตชุมชมรายทาง และงานสะสางงานหน้าดินในแหล่งก่อสร้างบางจุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ลาว-จีนได้เซ็นความตกลงสร้างทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ในปี 2553 การก่อสร้างควรจะเริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย.2554 แต่ติดขัดในความไม่แน่นอนทางด้านนโยบายส่วนต่อในประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญอันดับต้นๆ แก่ระบบรถไฟความเร็งสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และอื่นๆ แทนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายเมื่อก่อน สื่อของลาวรายงาน

แหล่งทำกินแห่งใหม่ www.kunming.cn
นครคุนหมิงเปลี่ยนรูปแปลงโฉมไม่หยุดยั้ง นับตั้งแต่รัฐบาลกลางในปักกิ่งออกนโยบายพัฒนาพัฒนาให้มณฑลหยุนหนันเป็น “หัวสะพาน” เชื่อมการค้า-การคมนาคมขนส่งกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนและเอเชียใต้ ความเคลื่อนไหวด้านการค้าการลงทุนมีความคึกคัก ในคุนหมิงมีกิจกรรมแสดงสินค้าและนิทรรศการการค้า-อุตสาหกรรมกับการลงทุนปีละหลายครั้ง ครั้งล่าสุด จัดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของนครนี้กล่าวว่า มีบริษัทธุรกิจจาก 30 ประเทศเข้าร่วม ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกาตะวันออก ยุโรป และออสเตรเลีย ส่งสินค้า และบริการไปร่วม คุนหมิงนับเป็นแหล่งทำมาหากินแห่งใหม่ของทั่วทั้งอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งมวล มีทั้งโอกาสและความท้าทายในตลาดใหญ่ที่มีประชากรกว่า 300 ล้านคน.


5
<br><FONT color=#0000330>เว็บไซต์ kunming.cn บรรยายสองภาพข้างบนนี้ว่า เป็นร้านค้าที่มีรอยยิ้มอันอบอุ่นต้อนรับลูกค้าเสมอและอาหารที่นำไปออกงานก็ส่งกลิ่นหอมหวลไปแต่ไกล.</b>
6

7

8

9

10

11
.

ขณะเดียวกัน ในจีนเองก็ประสบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในกระทรวงการรถไฟ ซึ่งอดีตรัฐมนตรีว่าการเจ้าของแผนการรถไฟหัวกระสุนจีน-อาเซียน ถูกนำตัวขึ้นดำเนินคดีในศาลเมื่อเร็วๆ นี้ฐานทุจริต-รับสินบน

ระหว่างไปร่วมงานแสดงสินค้า และบริการในกรุงปักกิ่งวันที่ 27-29 พ.ค. นรม.ลาว ได้พบหารือกับผู้นำระดับสูงของจีนหลายนายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ นายเวินเจียเป่า นายกรัฐมนตรีกับรองประธานาธิบดีสีจิ้นผิง

นายทองสิงยังไปเยี่ยมเยือนรัฐวิสาหกิจรถไฟจีนอีกด้วย หนังสือพิมพ์ “ประชาชน” กระบอกเสียงของศูนย์กลางพรรค/พรรคประชาชนปฏิวัติลาว รายงานสัปดาห์ที่แล้ว

การค้าสองทางระหว่างจีนกับกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ความตกลงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีผลสมบูรณ์ในต้นปี 2553

ตามสถิติอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปีที่แล้ว มูลค่าการค้าจีน-อาเซียนใน 10 เดือนแรกของปีพุ่งขึ้นเป็น 295,9000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นในอัตรา 25.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 และตัวเลขปี 2533 ทั้งปีสูงถึง 292,7800 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึง 37.5% เทียบกับปี 2542 โดยมีมาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด.
กำลังโหลดความคิดเห็น