xs
xsm
sm
md
lg

OIC เดินทางลงพื้นที่เกิดเหตุความไม่สงบในรัฐยะไข่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. เด็กชายยืนอยู่กลางถนนที่สองข้างทางเหลือเพียงเศษซากบ้านเรือนที่ถูกเผาทำลายจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมืองซิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ ทางภาคตะวันตกของพม่า. -- AFP PHOTO. </font></b>

เอเอฟพี - สมาชิกขององค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ได้เดินทางเยือนรัฐยะไข่ของพม่า เพื่อสำรวจผลที่เกิดจากเหตุรุนแรงความแตกต่างทางศาสนาระหว่างชุมชนชาวพุทธ และมุสลิม เจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่าระบุวันนี้ (11 ก.ย.)

เจ้าหน้าที่เมืองซิตตะเว ระบุว่า คณะผู้แทนจาก OIC นำโดยทูตโอฟุค โกเซน ผู้สังเกตการณ์ถาวร OIC ต่อสหประชาชาติ เดินทางถึงรัฐยะไข่เมื่อวันอาทิตย์ (9 ก.ย.)

“พวกเขาพบกับรัฐมนตรีกิจการพรมแดม และมุขมนตรีรัฐยะไข่ และได้เยือนค่ายผู้ลี้ภัย พร้อมทั้งบริจาคสิ่งของ” เจ้าหน้าที่เมืองซิตตะเวกล่าว

การต่อสู่ในรัฐยะไข่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากทั้งสองฝ่ายเกือบ 90 คน นับตั้งแต่ความรุนแรงปะทุขึ้นในเดือน มิ.ย. แต่กลุ่มเรียกร้องสิทธิมนุษยชนระบุว่า ยอดผู้เสียชีวิตน่าจะสูงกว่าที่ทางการรายงานไว้

กลุ่มฮิวแมน ไรท์ วอช ได้กล่าวหาว่า กองกำลังของรัฐบาลพม่าเปิดฉากโจมตีใส่ชาวมุสลิมโรฮิงญา ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลไปทั่วโลกอิสลามเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาเหล่านี้

ในการประชุมสุดยอดผู้นำองค์การความร่วมมืออิสลามเมื่อเดือนก่อนที่นครเมกกะ สมาชิก OIC ทั้ง 57 ประเทศ มีมติที่จะยื่นเรื่องประเด็นปัญหาการปฏิบัติต่อมุสลิมโรฮิงญาในพม่าต่อสหประชาชาติ พร้อมทั้งประณามการกระทำรุนแรงของเจ้าหน้าที่พม่าต่อชาวโรฮิงญา และการปฏิเสธสิทธิการเป็นพลเมืองของชาวโรฮิงญา

ในเดือน ส.ค. พม่าเห็นชอบที่จะอนุญาตให้ OIC จัดหาความช่วยเหลือให้แก่รัฐยะไข่ ในเงื่อนไขที่ความช่วยเหลือดังกล่าวต้องให้แก่ทุกชุมชนในพื้นที่

หนังสือพิมพ์นิวไลท์ ออฟ เมียนมาร์รายงานว่า คณะผู้แทนได้หารืออย่างจริงใจเกี่ยวกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ รวมทั้งการฟื้นฟู และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

บ้านเรือนหลายร้อยหลังคาถูกเพลิงเผาไหม้เสียหายในเหตุรุนแรง และประชาชนราว 70,000 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญาต้องอาศัยอยู่ในค่ายพักแรมที่รัฐจัดหาให้

สหรัฐฯ ระบุวานนี้ (10) ว่า มีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในรัฐยะไข่ หลังจากคณะผู้แทนของสหรัฐฯ ที่นำโดยนายเดเร็ค มิตเชลล์ ทูตสหรัฐฯ ประจำพม่า และนายโจเซฟ ยุน ทูตอาวุโส เดินทางเยือนพื้นที่

เนื่องจากมีภาษาพูดใกล้เคียงกับบังกลาเทศที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน โรฮิงญาในพม่าราว 800,000 คน ถูกรัฐบาล และประชาชนในประเทศมองว่าเป็นผู้อพยพผิดกฎหมาย.
กำลังโหลดความคิดเห็น