xs
xsm
sm
md
lg

อภิมหาซูเปอร์ล่องหน เรือรบใหม่อิเหนาเก๋าสุดในย่านนี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ตัวประหลาดแห่งทะเลจีนใต้ - เห็นที่จะต้องเรียกแบบนี้ เรือเร็วตรวจการณ์ติดจรวดนำวิถี (Fast Missile Patrol Vessel) ของอินโดนีเซียรูปทรง สเตลธ์ สุดๆ ท้องเรือออกแบบเป็นตรีมารัน (Trimaran) เรือโบราณของชาวเกาะ ซึ่งทำให้แล่นตัดคลื่นแทนที่จะถูกคลื่นยกให้ลอยลำขึ้นเหมือนเรือทั่วไป ขนาดกะทัดรัด 53 ตัน ยาว 63 เมตร แล่นด้วยความเร็วถึง 35 นอต ติดเขี้ยวเล็บเพียบ เป็นลำแรกในจำนวน 4 ลำที่กองทัพเรือประเทศนี้สั่งซื้อ. -- ภาพ: PT Lundi.</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - บริษัทพีทีลุนดิน (PT Lundin) หรือนอร์ธซีโบท (North Sea Boat) ซึ่งเป็นบริษัทต่อเรือนานาชาติในชวาตะวันออกได้ส่งมอบเรือเร็วตรวจการณ์ติดจรวดนำวิถีรูปทรง “ซูเปอร์สเตลธ์” ยุคใหม่ให้แก่กองทัพเรืออินโดนีเซียในวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทนี้กล่าวว่าเป็นเรือทันสมัยที่สุดในระดับเดียวกัน

เรือรุ่นใหม่รูปทรงตรีมารัน (Trimaran) ซึ่งได้ชื่อว่า “เกลวัง” (KRI Klewang) นับเป็นลำแรกในจำนวนทั้งหมด 4 ลำที่กองทัพเรือ หรือ TNI-AL (Tentara Nasional Indonesia Angkatan Laut) สั่งซื้อ

เรือมีขนาด 53 ตัน ยาวตลอดลำ 63 เมตร ส่วนประกอบเกือบทั้งหมดของลำเรือต่อขึ้นจากวัสดุคาร์บอนผสม ออกแบบด้วยเทคโนโลยีสเตลธ์ หลบเลี่ยงการตรวจจับด้วยเรดาร์ของข้าศึก ติดเครื่องยนต์ขนาด 1,800 แรงม้า ทำความเร็วได้ถึง 35 นอต หรือเกือบ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วระดับเรือพิฆาตลำหนึ่ง

รูปทรงของเรือปิดบังอาวุธที่ติดตั้งมิดชิด มีทั้งระบบป้องกันการโจมตีทางอากาศและระบบป้องกัน/โจมตีเรือเป็นขีปนาวุธ พีทีลุนดินรายงานเรื่องนี้ในเว็บไซต์โดยไม่ได้ระบุชื่อ หรือรุ่นของระบบอาวุธ

ใต้ท้องเรือเป็นแบบตรีมารันซึ่งเป็นแบบเดียวกับเรือโจมตีชายฝั่ง LCS2 (Littoral Combat Ship-2) ซึ่งเป็นเรือฟรีเกตชั้นอินดิเพนเดนซ์ (Independence-class) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ทำให้สามารถแล่นฝ่าคลื่นแรงได้อย่างคล่องแคล่ว แทนการถูกคลื่นยกตัวเรือขึ้นสูงจากระดับน้ำทะเล

เรือสร้างขึ้นภายใต้รหัส X3K ติดตั้ง มีชั้นดาดฟ้าสำหรับจอดเฮลิคอปเตอร์ บริษัทพีทีลุนดินกล่าวว่า เป็นเรือทันสมัยล้ำยุคที่สุดในบรรดาเรือระดับเดียวกัน ที่สร้างในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.

 <bR><FONT color=#000033>ข่าวรั่วออกมาก่อนหน้านี้แล้วว่ากองทัพเรืออินโดนีเซียสนใจเรือรูปทรงล่องหนแบบตรีมารัน ท้องเรือพัฒนาต่อยอดจากคาตามารัน (Katamaran) แบบเรือโบราณของชาวเกาะทะเลใต้ แต่การต่อเรือภายใต้รหัส X3K โดยพีทีลุนดิ ปิดเป็นความลับมาตลอด. -- ภาพ: PT Lundi.</b>
.
บริษัทนี้ทำการวิจัยทดลอง และออกแบบเรือเร็วตรวจการณ์ติดขีปนาวุธ หรือ FMPV (Fast Missile Patrol Vessel) รุ่นนี้มาตั้งแต่ปี 2550 เริ่มต่อในปี 2553 และเก็บเป็นความลับตลอดมาตามความต้องการของกองทัพเรืออินโดนีเซีย บริษัทต่อเรือแถลงเรื่องนี้ในวันที่ 27 ก.ค.

ตามรายงานในเว็บไซต์ข่าวกลาโหม พีทีลุนดินก่อตั้งขึ้นโดยนักลงทุนชาวสวีเดนที่เติบโตจากครอบครัวที่เป็นเจ้าของบริษัทต่อเรือใหญ่ที่สุดในประเทศนั้น สาขาในอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ที่เมืองบุนยูวางี (Bunyuwangi) จังหวัดชวาตะวันออก นอกจากนั้น ยังมีอีก 2 สาขาในสวีเดน และในสิงคโปร์

อินโดนีเซียซึ่งภูมิประเทศประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยหลายพันเกาะ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เร่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งการป้องกันประเทศ ทั้งกองทัพบก เรือและอากาศ กองทัพเรืออินโดนีเซียซื้อเรือดำน้ำถึง 4 ลำ ในขณะที่กองทัพอากาศกำลังรอส่งมอบเครื่องบินรบ F-16 รุ่นเก่าแต่อัปเกรดจากสหรัฐฯ จำนวน 24 ลำ

ประเทศนี้ไม่ได้เป็นคู่พิพาทโดยตรงในกรณีหมู่เกาะทะเลจีนใต้เช่นประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างคือ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม แต่ตระหนักถึงภัยข่มขู่จากการที่จีนขยายแสนยานุภาพลงสู่ทะเลแปซิฟิก.
กำลังโหลดความคิดเห็น