xs
xsm
sm
md
lg

จีน-อาเซียน จับมือกระตุ้นเศรษฐกิจ วางปัญหาพิพาททางทะเลชั่วคราว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ของกัมพูชา (กลาง) และรัฐมนตรีอาเซียนนั่งอยู่บนเวทีระหว่างพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 44 ที่จ.เสียมราฐ เมื่อวันที่ 27 ส.ค. --  AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy. </font></b>
.
br>เอเอฟพี - จีน และชาติสมาชิกอาเซียนให้คำมั่นวันนี้ (29 ส.ค.) ที่จะพยายามสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น พักความตึงเครียดในภูมิภาคเกี่ยวกับข้อขัดแย้งทางทะเลในทะเลจีนใต้ที่อุดมด้วยทรัพยากรไว้ชั่วคราว

การค้าระหว่างจีน และอาเซียนก้าวกระโดดเป็นมูลค่ามากกว่า 200,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ค.) ของปี 2555 ขยายตัวขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบปีต่อปี นายเฉิน เต๋อหมิง รัฐมนตรีพาณิชย์ของจีน กล่าวระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ที่จัดขึ้นใน จ.เสียมราฐ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของกัมพูชา

ความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างอาเซียน และจีนเป็นความสำคัญอย่างยิ่งท่ามกลางความซบเซาของเศรษฐกิจโลก นายเฉิน เต๋อหมิง กล่าว พร้อมย้ำว่า ทั้งสองฝ่ายมีพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับความร่วมมือ และโอกาสที่สดใส

จีนเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน ขณะที่กลุ่ม 10 ประเทศอาเซียนในปีก่อนสามารถแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของจีน

“จีนปรารถนาที่จะเป็นเพื่อนบ้านที่ดี มิตรที่ดี และหุ้นส่วนที่ดีของอาเซียน” นายเฉิน กล่าว

ในการหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจของภูมิภาคในสัปดาห์นี้ นับเป็นการรวมตัวกันครั้งแรกของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของชาติสมาชิกอาเซียน นับตั้งแต่การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศในเดือน ก.ค. สิ้นสุดลงด้วยความดุเดือดเกี่ยวกับวิธีที่จะจัดการกับข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ ที่เผยให้เห็นถึงความแตกแยกภายในกลุ่ม

ความตึงเครียดที่แขวนอยู่เหนือการประชุมไม่ปรากฎให้เห็นในการประชุมกันที่ จ.เสียมราฐ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า สมาชิกอาเซียนไม่ต้องการให้ปัญหาความขัดแย้งทางทะเลกระทบต่อธุรกิจ

“นี่เป็นการเล่นเกมที่แตกต่างไป รัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีเศรษฐกิจมีวาระที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง” คาร์ล เธเยอร์ ผู้เชี่ยวชาญภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

แรงเสียดทานภายในอาเซียนผ่อนคลายลงอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากอินโดนีเซียทำให้กลุ่มเห็นชอบใน 6 ข้อสำคัญเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ หลังใช้ความพยายามทางการทูตอยู่นานในหลายวัน หลังการประชุมอาเซียนล้มเหลว เธเยอร์ ระบุ

จีนอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือทะเลที่อุดมด้วยทรัพยากรเกือบทั้งหมด และยังเป็นเส้นทางเดินเรือการค้าสำคัญ แต่สมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน ต่างอ้างสิทธิทับซ้อนเหนือทะเลดังกล่าวเช่นกัน นอกจากนั้น รัฐบาลเวียดนาม และฟิลิปปินส์ได้กล่าวหาจีนถึงพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้นในน่านน้ำพิพาท

ตามข้อมูลของอาเซียนระบุว่า เศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียน ที่รวมทั้งกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า สิงคโปร์ และไทย เติบโตขึ้นร้อยละ 4.7 ในปี 2554 แต่ลดลงจากปี 2553 ที่เติบโตร้อยละ 7.6
กำลังโหลดความคิดเห็น