xs
xsm
sm
md
lg

คาดทะเลจีนใต้ประเด็นสำคัญถกความมั่นคงอาเซียนสัปดาห์นี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ผู้ประท้วงถือป้ายประณามจีน เรียกร้องให้ชาวฟิลิปปินส์ลุกขึ้นมาปกป้องอธิปไตย ไล่เรือออกจากหมู่เกาะปะการังใน ทะเลตะวันตก ของฟิลิปปินส์ ขณะเดินขบวนไปตามถนนในย่านใจกลางกรุงมะนิลาในวันที่ 20 เม.ย.2555 อันเป็นช่วงที่ความตึงเครียดเหนือหมู่เกาะพิพาทกำลังพุ่งสูง ทั้งฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม มาเลเซีย บรูไนและไต้หวันต่างก็กล่าวอ้างความเป็นเจ้าของบางส่วน ขณะที่จีนและเวียดนามกล่าวอ้างทั้งหมด. --  REUTERS/Romeo Ranoco.  </b>
.

เอเอฟพี - ความพยายามที่จะผ่อนคลายความตึงเครียดในทะเลจีนใต้คาดว่าจะเป็นประเด็นหลักในการหารือด้านความมั่นคงภูมิภาคเอเชียสัปดาห์นี้ ที่ประเทศกัมพูชา

นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จะเข้าร่วมการประชุมระดับภูมิภาคอาเซียนในกรุงพนมเปญ วันพฤหัสบดี (12) ไม่กี่วันหลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศจากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มการประชุมร่วมกับคู่เจรจาจาก จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และออสเตรเลีย ที่ต่างมีกำหนดเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

ความขัดแย้งเกี่ยวกับการอ้างอำนาจอธิปไตยในบริเวณทะเลจีนใต้ คาดว่าจะเป็นประเด็นร้อนในการหารือของสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศในวันจันทร์ (9) ก่อนเปิดการประชุมที่รวมประเทศที่ได้รับเชิญทั้งหมด 27 ประเทศ

ฟิลิปปินส์เป็นผู้นำผลักดันอาเซียนให้รวมตัวกันโน้มน้าวจีนให้ยอมรับระเบียบปฏิบัติ (code of conduct) ทางทะเล ที่ความตึงเครียดปะทุขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ กับทั้งเวียดนาม และฟิลิปปินส์ที่ต่างกล่าวหาถึงพฤติกรรมที่แข็งกร้าวของจีนในบริเวณพิพาท ขณะที่ฝ่ายจีนนั้นต้องการที่จะเจรจาตกลงกับผู้อ้างสิทธิตามแต่ละประเทศ เพื่อพยายามที่จะขยายอำนาจเหนือพื้นที่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และอุดมไปด้วยทรัพยากร

“นี่เป็นเวลาของสมาชิกอาเซียน พวกเขากำหนดให้เดือนนี้เป็นเส้นตายสำหรับการออกระเบียบปฏิบัติฉบับร่าง ที่คาดว่าจะมีความคืบหน้ามากขึ้น” คาร์ล เธเยอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย กล่าว

จีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไน และมาเลเซีย ต่างอ้างสิทธิพื้นที่ซ้อนทับในทะเลจีนใต้ ที่เป็นเส้นทางเดินเรือการค้าที่สำคัญ และเชื่อว่าอุดมไปด้วยน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

ก่อนหน้านี้ จีนสร้างความไม่พอใจให้แก่เวียดนามด้วยการเปิดประมูลสำรวจแหล่งน้ำมันในน่านน้ำพิพาท ส่งผลให้ชาวเวียดนามจัดชุมนุมประท้วงในกรุงฮานอยเมื่อต้นเดือน ขณะที่จีน และฟิลิปปินส์ต่างก็มีเหตุตึงเครียดระหว่างกันเกี่ยวกับน่านน้ำพิพาทนี้

ในการประชุมอาเซียนครั้งล่าสุดเมื่อเดือน เม.ย. ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการรวมจีนเข้าหารือการร่างระเบียบปฏิบัติ แต่อาเซียนยังคงหวังที่จะบรรลุข้อตกลงกับจีนภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งนับเป็นเวลามากถึง 10 ปี หลังจากมีคำมั่นเป็นครั้งแรกที่จะสร้างกรอบผูกพันทางกฎหมายสำหรับแก้ไขความขัดแย้งต่างๆ
.
<bR><FONT color=#000033>พระสงฆ์เดินผ่านหน้าอาคารสันติภาพที่จัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 45 ในกรุงพนมเปญ วันที่ 8 ก.ค. นักวิเคราะห์ระบุว่า ความพยายามที่จะผ่อนคลายความตึงเครียดในทะเลจีนใต้คาดว่าจะเป็นหัวข้อสำคัญในการหารือความมั่นคงสัปดาห์นี้ -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.</b>
.
นายเคิร์ท แคมป์เบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออก กล่าวว่าเขาเห็นความโน้มเอียงเกี่ยวกับประเด็นนี้ หลังจากสังเกตเห็นการเจรจาเพิ่มขึ้นระหว่างอาเซียนและจีนเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติ

ขณะที่ เออร์นี่ โบวเออร์ จากศูนย์ยุทธศาสตร์และการต่างประเทศศึกษา กรุงวอชิงตัน ระบุว่า เมื่อไม่นานนี้ สหรัฐฯได้ขยายความสัมพันธ์ทางทหารกับฟิลิปปินส์และเวียดนาม และการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯและจีนจะเป็นประเด็นที่ทุกๆ ฝ่ายต่างก็ต้องคำนึงถึงในการประชุมในสัปดาห์นี้

คาดว่าการประชุมครั้งนี้ นางคลินตันอาจเป็นเพียงพลังเงียบให้การสนับสนุนอาเซียนอยู่เบื้องหลัง ขณะเดียวกัน นางคลินตันต้องการที่จะสร้างความมั่นใจให้แก่ประเทศต่างๆ ว่าสหรัฐฯ มีความมุ่งมั่นต่อภูมิภาค ไม่เพียงแค่พยายามแสวงหาการตอบโต้จีน

“รัฐมนตรีคลินตันจะพยายามที่จะบรรลุข้อเสนอจำนวนหนึ่งที่เน้นย้ำว่า สหรัฐฯ นั้นให้ความสนใจอย่างกว้างขวางต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากกว่าเพียงแค่ถ่วงดุลทางทหาร” เธเยอร์ กล่าว

ความพยายามดังกล่าวของนางคลินตัน จะเริ่มต้นก่อนเดินทางมาถึงกัมพูชา จากการแวะเยือนกรุงฮานอย โดยจะเข้าพบกับตัวแทนนักธุรกิจทั้งของสหรัฐฯ และเวียดนาม ถัดจากนั้น มีกำหนดแวะเยือนลาว ซึ่งจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ คนแรกที่เดินทางเยือนลาวในรอบ 57 ปี

หลังจากการประชุมความมั่นคงเสร็จสิ้น รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ รายนี้จะนำคณะผู้แทนของสหรัฐฯ เข้าร่วมประชุมธุรกิจที่เมืองเสียมราฐ ในวันศุกร์ (13) ด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น