xs
xsm
sm
md
lg

ค้นหาเลือดตากระเด็น สหรัฐฯ ส่งอัฐิทหารกลับจากเวียดนามอีกชุด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 19 ส.ค.2554 ทีมขุดค้นของ JPAC คุ้ยหาเศษซากและอัฐิในจุดที่ทหาร 5 นายเสียชีวิตในเหตุเฮลิคอปเตอร์ถูกยิงตกปี 2516 อาณาบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งฐานทัพใหญ่ของสหรัฐฯ บนที่ราบสูงเคแซง (Khe Sanh) หรือ เคซาน จ.บี่งจิเทียน (Binh Tri Thien) เมื่อก่อน ใน การรุกใหญ่เทศกาลตรุษ ของฝ่ายเวียดนามเหนือ-เวียดกง เดือน ม.ค.2511 เคแซงเป็นหนึ่งในเป้าหมายใหญ่กว่า 30 แห่งทั่วประเทศ และในเดือน มี.ค.2516 ซึ่งสหรัฐฯ-เวียดนามใต้เปิดรุกรบครั้งใหญ่โจมตีทางหลวงเลข 9 (เวียดนาม-ลาว) และเปิดยุทธการลามเซิน 719 ในลาว เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงใหญ่ เคแซงเป็นสมรภูมิรบร้อนระอุอีกครั้งหนึ่งมีทหารอเมริกันเสียชีวิตหลายคนเสีย ในนั้นหลายคนยังไม่ได้กลับไปจากที่นี่ การค้นหายังดำเนินต่อไป.-- DoD Photo: Thiep Van Nguyen II, Forensic Photographer/Released. </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เวียดนามและสหรัฐฯ ได้ทำพิธีส่งมอบอัฐิที่เชื่อว่าเป็นของทหารอเมริกันที่เสียชีวิตในช่วงสงครามอีก 1 ชุด เพื่อนำไปตรวจพิสูจน์อีกครั้งในรัฐฮาวาย พิธีจัดขึ้นที่ท่าอากาศยานนครด่าหนังในวันศุกร์ 22 มิ.ย.ศกนี้ นับเป็นการส่งมอบครั้งที่ 123 ในช่วง 24 ปีที่ผ่านมา สื่อของทางการรายงาน

พิธีจัดขึ้นเวลา 11.15 น. ผู้แทนฝ่ายเวียดนาม คือ นายเลแถ่งอาน (Le Thanh An) กงสุลใหญ่ประจำนครโฮโนลูลู และ พ.ท.แพทริค คีน (Patrick Keane) ผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการที่ 2 เป็นผู้แทนฝ่ายสหรัฐฯ

ทหารกองเกียรติยศจากกองบัญชาการปฏิบัติการร่วมค้นหาเชลยศึก และผู้สูญหาย (Joint POW/MIA Accounting Command- JPAC) อัญเชิญอัฐิขึ้นเครื่องบิน C-17 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋รายงานในเว็บไซต์

อัฐิทั้งหมดค้นพบจาก 8 แหล่ง อันเป็นผลจากการปฏิบัติการร่วมค้นหาระหว่างทีมของ JPAC กับทีมขุดค้นของฝ่ายเวียดนามในช่วงฤดูแล้งปี 2554-2555

สหรัฐฯ-เวียดนาม ได้ร่วมกันขุดค้นหาซากอัฐิ หรือซากเศษชิ้นส่วนต่างๆ ของผู้เสียชีวิต หรือสูญหายมาตั้งแต่ปี 2531 ซึ่งกว่า 24 ปีมานี้ ได้มีการสืบค้นไปกว่า 3,500 กรณี และขุดค้นไปกว่า 500 แหล่ง

ตามข้อมูลของ JPAC ตั้งแต่ปี 2516 มาจนถึงปัจจุบัน มีทหารอเมริกันจำนวน 982 คนที่เสียชีวิต หรือสูญหายระหว่างสงครามเวียดนามสามารถระบุตัวตนได้แล้ว อีก 257 คนในลาว 33 คนในกัมพูชา กับอีก 3 คนในจีน ยังมีทหารอเมริกันอีก 1,664 คนที่ยังขุดค้นไม่เจอ รวมทั้งอีก 1,282 คนในเวียดนาม

นอกจากนั้น ยังมีทหารอเมริกันสูญหายมาตั้งแต่ครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ในอีกหลายดินแดนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งในอินโดนีเซีย และปาปัวนิวกินีด้วย

ในเวียดนาม นอกจากจะมีผู้เสียชีวิตบนบกแล้ว ยังมีอีกจำนวนหนึ่งที่เสียชีวิตในทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ นักบินที่เครื่องบินของพวกเขาถูกฝ่ายเวียดนามยิง และไปตกลงนอกชายฝั่ง

สหรัฐฯ ใช้งบประมาณมหาศาลในแต่ละปีในการค้นหาคนเหล่านี้ ในขณะที่ยิ่งเนิ่นนานออกไปการค้นหาก็ยิ่งยากลำบากขึ้น และโอกาสที่จะพบยิ่งน้อยลง ไม่ต่างกับในประเทศเพื่อนบ้านคือ ลาว และกัมพูชา.
.
 <bR><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเดือน เม.ย.2511 ทหารสังกัดกองพลทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐฯ กำลังสอบสวนเชลยศึกเวียดนามเหนือ บนที่ตั้งในที่ราบสูงแคแซง (เคซาน) หลังถูกโจมตีใน การรุกรบใหญ่เทศกาลตรุษ ไม่นาน  ฐานทัพแห่งนี้เป็นจุดสูงข่มทางหลวงเลข 9 อยู่ใกล้ชายแดนเวียดนาม-ลาว ใน จ.บี่งจิเทียนเมื่อก่อน มีทหารอเมริกันจำนวนมากเสียชีวิตที่นี่หลายคน ในนั้นหลายคนยังไม่ได้กลับไปจากที่นี่ การค้นหายังดำเนินต่อมาจนทุกวันนี้.-- ภาพ: นิตยสาร LIFE. </b>
<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 1 ก.ย.2554 คริสเตน เบเคอร์ ผู้นำทีมค้นหา (ซ้าย) กับจ่าเจคอบ ไวเมอร์ แห่งกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐฯ จดบันทึกเหตุการณ์และพิกัดต่างๆ ก่อนจะปิดแหล่งขุดค้นในอาณาบริเวณที่เคยเป็นฐานทัพสหรัฐฯ บนที่ราบสูงแคแซง (เคซาน) ใน จ.กว๋างจิ (Quang Tri) ปัจจุบัน ทีมงาน JPAC ราว 35 คนปฏิบัติงานที่นี่มาตั้งแต่ต้นปี ค้นหาทหารอเมริกัน 5 นายที่เสียชีวิตในเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกปี 2516 ที่นี่เคยเป็นสมรภูมิรบใหญ่มา 2 ครั้ง ทหารอเมริกันหลายคน ยังไม่ได้กลับออกไปจากที่นี่ การค้นหายังดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน. -- DoD Photo: Thiep Van Nguyen II, Forensic Photographer/Released. </b>
<bR><FONT color=#000033>ทหารสหรัฐฯ แบกหีบศพบรรจุอัฐิซึ่งเชื่อว่าเป็นของทหารอเมริกันที่เสียสูญหายในครั้งสงคราม ถูกค้นพบในปฏิบัติการร่วมค้นหาระหว่างฝ่ายเวียดนามกับสหรัฐฯ ที่ผ่านมา พิธีจัดขึ้นที่สนามบินนครด่าหนังวันศุกร์ 22 มิ.ย.2555 นับตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมามีทหารอเมริกันที่เสียชีวิตในเวียดนามระบุตัวตนได้แล้ว 689 คน ยังเหลืออีก 1,282 คน การร่วมค้นหาเริ่มอย่างเป็นทางการในปี 2531 และยังจะดำเนินต่อไป. -- REUTERS/US General Consulate/Ho Chi Minh City/Dinh Dai Nghia/Handout.  </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น