xs
xsm
sm
md
lg

พม่าระบุมีผู้เสียชีวิต 3 คน จากเหตุปะทะครั้งล่าสุดในยะไข่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> เจ้าหน้าที่กู้ภัยช่วยเหลือชาวมุสลิมอพยพออกจากบ้านไปยังพื้นที่ปลอดภัย ในเมืองซิตตะเว เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ทางการพม่าระบุว่ามีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 คน จากการปะทะกันระหว่างชาวพุทธและมุสลิมครั้งล่าสุดเมื่อวันอังคาร (19) --  AFP PHOTO. </font></b>
.

เอเอฟพี - เจ้าหน้าที่พม่าระบุวันนี้ (21 มิ.ย.) ว่า เหตุรุนแรงในชุมชนที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดทางภาคตะวันตกของพม่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 คน และจากเหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นตลอดเดือนนี้ ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตมีจำนวนมากกว่า 60 คน

เจ้าหน้าที่นายหนึ่งระบุว่า ชาวพุทธ 3 คน ถูกสังหารเมื่อวันอังคาร (19) ในเหตุปะทะกันในหมู่บ้านยาสีดอง ห่างจากเมืองซิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ ประมาณ 65 กม.

“ยอดผู้เสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อยๆ เราไม่ทราบข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ว่าเริ่มขึ้นได้อย่างไร” เจ้าหน้าที่คนเดิมจากเมืองซิตตะเว กล่าว พร้อมให้ข้อมูลว่า พายุฝนทำให้การเดินทาง และการติดต่อสื่อสารในพื้นที่เป็นไปอย่างยากลำบาก

แม้มีรายงานเหตุนองเลือดครั้งใหม่เกิดขึ้น แต่เจ้าหน้าที่ระบุว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐยะไข่อยู่ภายใต้การควบคุม หลังมีประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่มาเป็นเวลามากกว่าสัปดาห์

พื้นที่ภาคตะวันออกของพม่าเกิดเหตุความไม่สงบ การลอบวางเพลิง และการโจมตีแก้แค้นกันไปมาระหว่างชาวพุทธยะไข่และมุสลิมโรฮิงญา ซึ่งสร้างความวิตกกังวลให้แก่นานาชาติ และการปะทะกันหลายระลอกนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 60 คน ซึ่งรวมทั้งชาวมุสลิม 10 คน ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. โดยกลุ่มม็อบชาวพุทธที่ต้องการแก้แค้นให้แก่หญิงชาวพุทธที่ถูกฆ่าข่มขืน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความไม่สงบ

แกนนำมุสลิมโรฮิงญากล่าวว่า จำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริงในหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลอาจสูงกว่านี้

ความรุนแรงระหว่างชาวยะไข่และโรฮิงญา ทำให้ประชาชนทั้งสองฝ่ายจำนวนหลายหมื่นคนต้องอพยพย้ายที่อยู่อาศัย และพักแรมอยู่ในค่ายบรรเทาทุกข์ โครงการอาหารโลก (WFP) ที่เป็นฝ่ายให้ความช่วยเหลือด้านอาหารขององค์การสหประชาชาติระบุเมื่อวันอังคาร (19) ว่า หน่วยงานได้จัดหาอาหารให้แก่ประชาชนมากกว่า 65,000 คน และคาดว่ายังมีผู้ต้องการความช่วยเหลืออีกราว 25,000 คน

สหประชาชาติระบุว่า ชาวโรฮิงญาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่ข่มเหงมากที่สุดในโลก และรายงานระบุว่า มีชาวโรฮิงญาราว 800,000 คน อาศัยอยู่ในพม่า ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐยะไข่

ด้านบังกลาเทศ ประเทศเพื่อนบ้านของพม่า ที่มีชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ราว 300,000 คน ได้ผลักดันเรือชาวโรฮิงญาจากพม่าที่พยายามหลบหนีข้ามฝั่งนับตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบกลับประเทศ

ประธานาธิบดีเต็งเส่งกล่าวเตือนว่า ความไม่สงบอาจขัดขวางกระบวนการปฏิรูปประชาธิปไตยของประเทศ ขณะที่พม่าหลุดพ้นจากการปกครองระบอบทหารที่ยาวนานหลายทศวรรษ.
กำลังโหลดความคิดเห็น