xs
xsm
sm
md
lg

ชาวมุสลิมหวัง “ซูจี” ช่วยคลี่คลายความขัดแย้งทางศาสนาในประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า กล่าวแถลงข่าวที่สำนักงานพรรค NLD ในนครย่างกุ้ง วันที่ 6 มิ.ย. นางอองซานซูจีแสดงความวิตกต่อสถานการณ์ความรุนแรงเกี่ยวกับศาสนาในรัฐยะไข่ และเรียกร้องให้ชาวพุทธเห็นใจต่อชาวมุสลิมที่เป็นส่วนน้อยในประเทศ. -- AFP PHOTO/Ye Aung Thu.  </font></b>
.

เอเอฟพี - นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า ในวันนี้ (6 มิ.ย.) เรียกร้องให้ประชาชนชาวพุทธในประเทศแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อชนกลุ่มน้อย หลังเกิดเหตุความไม่สงบเกี่ยวกับศาสนาในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของประเทศ

ชาวมุสลิม 10 คน ถูกฆ่าเมื่อวันอาทิตย์ (3 มิ.ย.) ในรัฐที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีพรมแดนติดกับบังกลาเทศ โดยบรรดาม็อบที่โกรธแค้นจากเหตุฆ่าข่มขืนหญิงท้องถิ่นซึ่งกล่าวหาว่าผู้ลงมือเป็นชายชาวมุสลิม 3 คน

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวมุสลิมซึ่งถูกมองว่าเป็นชาวต่างชาติ แม้ว่าจะอาศัยอยู่ในพม่ามาเป็นเวลานานหลายทศวรรษนี้ กำลังบ่อนทำลายความพยายามสร้างความปรองดองในชาติ นับตั้งแต่พม่าดำเนินการปฏิรูปการเมืองในปีก่อน

นางอองซานซูจีแถลงข่าวกับสื่อในนครย่างกุ้ง แสดงความวิตกกังวลต่อการจัดการสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ในรัฐยะไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความล้มเหลวในการลดความรู้สึกต่อต้านชาวมุสลิมหลังเกิดเหตุผู้หญิงถูกทำร้าย

“หากจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นแรกๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว สถานการณ์อาจไม่ลุกลามบานปลาย” นางอองซานซูจีกล่าว และนางยังได้เรียกร้องให้มีความเข้าใจกันระหว่างชุมชนทางศาสนาต่างๆ ในรัฐยะไข่ ไม่กระทำการใดๆ บนพื้นฐานของความโกรธ และเรียกร้องให้ชาวพุทธที่เป็นประชากรส่วนใหญ่มีความเห็นอกเห็นใจต่อชนกลุ่มน้อย

ชาวมุสลิมทั้ง 10 คน เสียชีวิตหลังจากกลุ่มม็อบหลายร้อยคนเข้าโจมตีรถโดยสารในวันอาทิตย์ โดยเชื่อว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุฆ่าข่มขืนโดยสารอยู่บนรถคันดังกล่าว แต่ผู้ต้องสงสัยในเหตุฆ่าข่มขืน 3 คน ถูกทางการควบคุมตัวไว้แล้ว สื่อของทางการระบุ

หลังจากนางอองซานซูจีแสดงความคิดเห็นถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นางอองซานซูจีได้พบกับกลุ่มชายชาวมุสลิมที่สำนักงานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย โดยหนึ่งในนั้นได้กล่าวว่า เขาต้องการการรับรองจากนางอองซานซูจีว่าเธอจะช่วยคลี่คลายความตึงเครียดดังกล่าว

“ผมรู้สึกกังวลต่ออนาคตเพราะปัญหาเหล่านี้ แต่ตอนนี้เรารู้สึกผ่อนคลายขึ้นมากหลังจากได้หารือกับเธอ” ชาวชาวมุสลิมคนหนึ่ง กล่าว

เหตุปะทะกันระหว่างชาวพุทธและมุสลิมเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวในพม่า และรัฐยะไข่ที่ติดพรมแดนกับบังกลาเทศเป็นจุดที่สถานการณ์ความตึงเครียดเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด โดยในเดือน ก.พ.2554 รัฐบาลทหารได้ประกาศเคอร์ฟิวเมืองซิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ เนื่องจากเกิดเหตุจลาจลระหว่างชาวมุสลิม และชาวพุทธ.
กำลังโหลดความคิดเห็น