xs
xsm
sm
md
lg

J-20 สเตลธ์จีน ทำท่าจะจ๋อย เรดาร์เวียดนามจับได้ชัดแจ๋ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์ข่าวกลาโหมของรัสเซียซึ่งบรรยายว่า เป็นรถบรรทุกระบบเรดาร์ป้องกัน RV-01/Vostock-E ของเบลารุส ดูไปแล้วระบบที่ใช้ตรวจจับและนำไปสู่การยิงทำลายเครื่องบินเทคโนโลยีอันล้ำหน้าราคาแพงลิ่วนั้น ไม่ต่างกับโครงเหล็กก่อสร้าง แต่ระบบควบคุมของมันสามารถตรวจจับเป้าเคลื่อนไหวทางอากาศได้ไม่น้อยกว่า 120 เป้าในขณะเดียวกันและไกลออกไปกว่า 300 กม. ระบบนี้เคยสร้างชื่อเสียงในปี 2542 เมื่อครั้งสงครามแคว้นโคโซโว ซึ่งกองทัพยูโกสลาเวียใช้ล็อกเป้าเครื่องบินโจมตี F-117A เหยี่ยวราตรี ระบบซูเปอร์ล่องหนของสหรัฐและยิงตกด้วยจรวดแซมรุ่นเก๋าของโซเวียตให้เป็นที่ฮือฮา เวียดนามกล่าวว่าของตนสามารถตรวจจับ J-20 ของจีนได้เช่นกัน.  </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ระบบเรดาร์เวียดนามสามารถจับเครื่องบิน J-20 ที่ใช้เทคโนโลยี “ล่องหน” ของจีนได้ชัดเจน ซึ่งทำให้เวียดนามขอซื้อระบบที่ทันสมัยนี้จากประเทศเบลารุสอีก 20 ชุด และหลังจากทดสอบประสิทธิภาพแล้วยังพบว่า มีสมรรถนะสูงกว่าเรดาร์ที่ผลิตในรัสเซียอีกด้วย สื่อออนไลน์ภาษาเวียดนามอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวทางทหาร

เรดาร์เวียดนามที่สามารถจับความเคลื่อนไหวของเครื่องบิน “สเตลธ์” จีนได้ อยู่ในระบบป้องกันทางอากาศ RV-01/Vostock-E เวอร์ชันเก่าของเบลารุส ที่ซื้อเข้าประจำการเมื่อปี 2548

ระบบที่เวียดนามใช้อยู่นี้ เป็นเวอร์ชันที่ใหม่กว่า และดีกว่าชุดต้นแบบของระบบ ที่กองทัพยูโกสลาเวียใช้จับเครื่องบินล่องหน F-117A “ไนต์ฮอว์ก” (Nighthawk) กองทัพอากาศสหรัฐฯ ในสงครามแคว้นโคโซโว และยิงตกในเดือน มี.ค.2542 ให้เป็นที่ฮือฮา

สหรัฐฯ แจ้งต่อสาธารณชนว่า F-117A เป็นเครื่องบินเทคโนโลยีสเตลธ์ล้ำยุคที่เรดาร์ไม่สามารถมองเห็น และสหรัฐฯ อาจจะลืมไปว่า กองทัพยูโกสลาเวียมีระบบเรดาร์กับระบบขีปนาวุธทันสมัยอื่นๆ ของอดีตสหภาพโซเวียต และค่ายยุโรปตะวันออกประจำการอยู่ครบ

เว็บไซต์กลาโหมฮว่านเกิ่ว (Hoàn Cầu) รายงานการตรวจจับความเคลื่อนไหวเครื่องบินรบยุคที่ 5 ของจีนในวันเสาร์ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่ได้ให้รายละเอียดว่า การตรวจจับมีขึ้นเมื่อไร และอย่างไร แต่กล่าวว่า ในเดือนนี้เวียดนามได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มใหญ่ไปยังเบลารุส เพื่อศึกษาระบบป้องกัน RV-01/Vostock-E รุ่นใหม่ที่เพิ่งสั่งซื้อ

เว็บไซต์แห่งนี้อ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวว่า ระบบเรดาร์รุ่นใหม่จะทำให้กองทัพอากาศเวียดนามสามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวของอากาศยาน “ครอบคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ยและไกลออกไป” เช่นเดียวกับทั่วทั้งอาณาบริเวณ “ทะเลตะวันออก” ทำให้มีเวลามากยิ่งขึ้นสำหรับการป้องกันเขตน่านน้ำแดนดินของตน

เว็บไซต์ Russian Military Review ได้รายงานก่อนหน้านี้ว่า เวียดนามกับเบลารุสได้เจรจาในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบเรดาร์ที่ซื้อขายกันครั้งใหม่เมื่อไม่นาน หลังจากเวียดนามสั่งซื้อล็อตแรกในปี 2548 และนำเข้าติดตั้งในโครงข่ายการป้องกันทางอากาศมาตั้งแต่นั้น

การเจรจาซื้อขายครั้งใหม่ยังรวมถึงชิ้นส่วน เพื่อนำไปอัปเกรดระบบเรดาร์ที่ซื้อล็อตแรกด้วย เว็บไซต์เดียวกันกล่าว

คณะทหารจากกองทัพประชาชนเวียดนามกำลังศึกษาระบบเรดาร์ใหม่อยู่ที่เมืองมินสต์ (Minsk) ของเบลารุสในขณะนี้ เว็บไซต์แห่งเดียวกันระบุ
.
<bR><FONT color=#000033>จานเรดาร์ ระบบของเบลารุสในเวียดนามที่สื่อออนไลน์นำออกเผยแพร่ ราวกับพยายามยืนยันว่าข่าวการตรวจจับเครื่องบินรบทันสมัยที่สุดของจีนได้นั้นเป็นเรื่องจริงที่ไม่ได้โม้ เวียดนามซื้อระบบป้องกันนี้เมื่อปี 2548 และติดตั้งอยู่ในข่ายป้องกันทางอากาศมาตั้งแต่นั้น เมื่อเร็วๆ นี้ซื้ออีก 20 ชุด และในเดือนนี้ผู้เชี่ยวชาญของกองทัพประชาชนเวียดนามจำนวนหนึ่งกำลังศึกษาดูงานระบบใหม่ล่าสุดอยู่ที่เมืองมินสค์ (Minsk). </b>
2
<bR><FONT color=#000033>สื่อออนไลน์ภาษาเวียดนามนำภาพที่ตั้งระบบเรดาร์ RV-01 ของกองทัพประชาชนออกแสดง พร้อมให้เห็นแผ่นป้ายที่ตั้งของกองทัพ สำนักข่าวแห่งเดียวกันรายงานปลายสัปดาหาที่แล้วว่าระบบเรดาร์ในปัจจุบันที่ซื้อจากเบลารุส สามารถตรวจจับเครื่องบินล่องหนรุ่นใหม่ล่าสุดของจีนได้ และ เวียดนามสั่งซื้อเรดาร์รุ่นใหม่ล่าสุดอีก 20 ชุด พร้อมอุปกรณ์เพื่ออัพเกรดรุ่นเก่าที่ไม่มีการเปิดเผยจำนวน. </b>
3
นักวิเคราะห์กล่าวกับ Russian Military Review ว่า เวียดนามซื้อระบบเรดาร์ RV-01/Vostock-E รุ่นใหม่ก็เพื่อรับมือเครื่องบินรบยุคที่ 5 คือ J-20 ของจีนโดยเฉพาะ และยังสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายป้องกันที่ใช้่อยู่ในปัจจุบันได้

ในครั้งสงครามแคว้นโคโซโว ระบบเรดาร์ที่ผลิตในเบลารุส ตรวจจับเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด F-117A ของสหรัฐฯ ได้ ขณะบินในความสูง 10 กิโลเมตร และในระยะห่างออกไปถึง 72 กม. กองพันขีปนาวุธที่ 3 ในสังกัดกองพลขีปนาวุธที่ 250 ของยูโกสลาเวียได้ใช้จรวดต่อสู้อากาศยาน SA-3 “Goa” ของอดีตสหภาพโซเวียตยิงตกในวันที่ 27 มี.ค.2542

เหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มต้นจากระบบของรัสเซียที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติในน่านฟ้าได้ก่อน และได้ส่งข้อมูลเข้าไปสู่ข่ายป้องกันของระบบที่ผลิตจากเบลารุส ซึ่งทำให้สามารถระบุเป้าหมายที่ไม่เป็นมิตร และล็อกได้อย่างแม่นยำ เว็บไซต์ข่าวกลาโหมแห่งเดียวกันระบุ

หากปราศจากการรบกวนใดๆ ระบบนี้สามารถตรวจจับเป้าเคลื่อนไหวได้ไกลถึง 350 กม. และ จับได้ไม่น้อยกว่า 120 เป้าหมายในขณะเดียวกัน แม้ภายใต้สภาพอากาศเลวร้าย

นักวิเคราะห์มองว่า เวียดนามตัดสินใจถูกต้องในการจัดซื้อระบบเรดาร์ทันสมัยนี้ของเบลารุส นอกเหนือจากการแสวงหาอาวุธกับความร่วมมือด้านกลาโหมจากมิตรเก่าแก่ เช่น รัสเซีย ยูเครน สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ หรือแม้กระทั่งเกาหลีใต้ ในขณะที่โลกตะวันตก รวมทั้งฝรั่งเศส เยอรมนี กับอังกฤษ ต่างก็จ้องเข้าไปยังตลาดเวียดนามเช่นกัน

หากเวียดนามหาความร่วมมือกับค่ายตะวันตกในด้านกลาโหมได้ ขีดความสามารถในการป้องกันก็จะสูงยิ่งขึ้นไปอีก นักวิเคราะห์กล่าว.
<bR><FONT color=#000033>เครื่องบินรบยุคที่ 5 สเตลธ์ ของจีนซึ่งอยู่ระหว่างการบินทดลองในช่วงท้ายๆ อาจจะเจอปัญหาใหญ่เสียแล้ว หากเรดาร์ของเวียดนามตรวจจับได้ตามที่สื่อรายงาน มันก็จะมีค่าไม่ต่างไปจากเครื่องบินรบธรรมดารุ่นอื่นๆ ในขณะนี้ และหากระบบเรดาร์ของเบลารุสตรวจจับได้ ก็คงไม่ต้องพูดถึงระบบอื่นๆ ของสหรัฐฯ กับพันธมิตรทั้งหลายทั้งปวง.</b>
4
<bR><FONT color=#000033>เครื่องบินโจมตี F-117A รูปทรงซูเปอร์สเตลธ์ที่สหรัฐฯ บอกกับสาธารณชนว่า เรดาร์ไม่สามารถตรวจจับได้ แบบเดียวกับที่ถูกกองทัพยูโลสลาเวียสอยร่วงไป 1 ลำ ในเดือน มี.ค.2542 ในสงครามแคว้นโคโซโว (เซอร์เบีย) ด้วยการตรวจจับของระบบเรดาร์โซเวียตผสมผสานกับระบบของเบลารุส นักวิเคราะห์มองว่าการที่เวียดนามซื้อระบบเรดาร์รุ่นใหม่ล่าสุดของระบบนี้ก็เพื่อรับมือเครื่องบิน J-20 สเตลธ์ของจีนโดยเฉพาะ. </b>
5

"เหยี่ยวราตรี" ปีกหัก

กำลังโหลดความคิดเห็น