xs
xsm
sm
md
lg

"ฮุนเซน" ได้ MA60 ใหม่เอี่ยม 2 ลำ จีนใจดีให้กู้อีก $430 ล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033><bR><FONT color=#000033>เครื่องบินแอนโตนอฟ 24 จำนวน 3 ลำ จอดในบริเวณสนามบินทหารท่าอากาศยานโปเจินตง ในกรุงพนมเปญ เป็น AN-24 ของ PMT Air จำนวน 2 ลำ ภาพนี้ถ่ายวันที่ 5 มิ.ย.2550 อีกเพียง 20 วันต่อมา คือในวันที่ 25 เดือนเดียวกัน หนึ่งลำในนี้ประสบอุบัติเหตุบินชนภูเขาในภาคใต้ มีผู้เสียชีวิต 22 คน ส่วน AN-24 อีก 1 ลำ (กลาง) เป็นของกองทัพอากาศที่รับโอนไปจากสายการบินแคมโบเดียแอร์ไลน์สในอดีต และเป็นเครื่องบินลำสุดท้ายของทัพฟ้ากัมพูชา ซึ่งในวันนี้กลับมามีเครื่องบินประจำการอีกครั้งหนึ่งในรอบกว่า 10 ปี เป็นเครื่อง MA60 ใหม่เอี่ยมผลิตในจีน. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร. </b> </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- กองทัพกัมพูชาเพิ่งได้รับมอบเครื่องบินแบบ MA-60 ที่ผลิตในจีนจำนวน 2 ลำ และเป็นเครื่องบินลำเลียงขนส่งลำแรกในรอบกว่าสิบปี มีการเซ็นเอกสารรับมอบในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมอยู่ใน 7 รายการอันเป็นความร่วมมือช่วยเหลือที่รัฐบาลจีนให้แก่รัฐบาลนายกรัฐมนตรีฮุนเซน รวมทั้งเงินกู้ก้อนใหม่ 430 ล้านดอลลาร์ด้วย

การเซ็นรับและมอบเครื่องบินทั้งสองลำมีขึ้นในวันที่ 13 มิ.ย.2555 ระหว่างนายเฉินเจี้ยน (Chen Jian) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จีนกับ พล.ท.เจาพิรุณ (Chau Phirun) หัวหน้ากรมใหญ่เทคนิคและอุปกรณ์ กองทัพราชอาณาจักรกัมพูชา

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกับนายเหอกว๋อชิง (He Guoqing) กรรมการประจำ คณะกรรมการกรมการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ไปเยือนกัมพูชา ได้ร่วมเป็นสักขีพยานด้วยในการเซ็นรับมอบด้วย สำนักข่าวกัมพูชา สังกัดกระทรวงแถงลงข่าวซึ่งเป็นหน่วยงานโฆษณาประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลรายงานเรื่องนี้

เครื่องบิน MA-60 หรือ "ซินโจว 60" (โมเดิร์นอาร์ค 60) ขนาด 40-70 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัทอุตสาหกรรมอากาศยานนครซีอาน (Xi'an Aircraft Industrial Corp) บริษัทลูกของกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยานจีน 1 (China Aviation Industry Corp I) พัฒนาจากโครงสร้างเดิมของแอนโตนอฟ-24 ต้นแบบจากสหภาพโซเวียต ติดเครื่องยนต์เทอร์โบพร็อบ ยี่ห้อแพร็ตแอนด์วิตนีย์ (Pratt&Whitney) จากแคนาดา

ออกมาได้ไม่กี่ปี MA60 ได้รับความนิยมแพร่หลาย เนื่องจากชื่อเสียงในเรื่องการประหยัดเชื้อเพลิงและราคาที่เป็นมิตร ปัจจุบันในย่านเอเชียมีใช้ในสายการบินเสฉวนแอร์ไลน์สของจีน ลาวแอร์ไลนส์ เมียนมาร์แอร์เวย์ส เมอร์ปาตี (อินโดนีเซีย) กับเซสต์แอร์เวย์สในฟิลิปปินส์

ในช่วงปีหลังนี้บริษัทผู้ผลิตได้สร้างรุ่นที่ใช้ขนส่งลำเลียงทางทหารออกมา และมีประจำการกองทัพหลายประเทศย่านอเมริกาใต้กับแอฟริกา โดยกัมพูชาเป็นแห่งล่าสุด

เป็นที่ทราบกันดีว่าจนถึงปัจจุบันกองทัพอากาศกัมพูชาไม่มีเครื่องบินที่อยู่ในสภาพขึ้นบินได้แม้แต่ลำเดียว อากาศยานทันสมัยที่สุดเป็นยูโรค็อปเตอร์ ที่ได้ฝรั่งเศสบริจาคให้จำนวน 2 ลำ กับ ฮ.แบบ Mi-8 และ Mi-17 ผลิตในรัสเซีย ที่หลงเหลือมาแต่ครั้งสงครามอีกราว 10 ลำ
.
<bR><FONT color=#000033>เครื่องบินแอนโตนอฟ AN-24 ที่ผลิตในอดีตสหภาพโซเวียต ในสภาพทรุดโทรมจอดตายสนิทในบริเวณสนามบินทหาร ภายในท่าอากาศยานโปเจินตง วันที่ 5 มิ.ย.2550 เป็นหนึ่งในสองลำที่กองทัพอากาศรับโอนไปจากสายการบินแคมโบเดียแอร์ไลน์ส สัปดาห์นี้ทัพฟ้ากัมพูชามีเครื่องบินลำเลียงขนส่งใช้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี เป็นแบบ MA60 ใหม่เอี่ยม 2 ลำ ผลิตในประเทศจีน. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร. </b>
<bR><FONT color=#000033>เครื่องบินโดยสาร MA60 หนึ่งใน 4 ลำของสายการบินลาวจอดที่ท่าอากาศยานวัดไตวันที่ 7 พ.ย.2554 พัฒนาขึ้นมาจากโครงเดิมของ AN-24 ของอดีตสหภาพโซเวียต MA60 ของจีนได้รับความนิยมแพร่หลายรวดเร็ว ผู้ผลิตในนครซีอานทำออกมาหลายรุ่น รวมทั้งเวอร์ชั่นที่ใช้ทางการทหารด้วย กัมพูชาได้รับมอบ 2 ลำในสัปดาห์นี้ กลายเป็นเครื่องบิน 2 ลำแรกของกองทัพอากาศในรอบกว่า 10 ปี. -- REUTERS/Martin Petty. </b>
.
เครื่องบินขนส่งลำเลียงของกองทัพอากาศก่อนหน้านี้ เป็นแบบแอนโตนอฟ 24 (Y-7 เวอร์ชั่นที่ผลิตในศจีน) โดยได้รับมอบจากสายการแคมโบเดียแอร์ไลน์ส แต่ทั้ง 2 ลำจอดนิ่งมานานกว่า 10 ปีที่สนามบินทหารโปเจินตง เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบมิก-21 (MiG-21) จากอดีตสหภาพโซเวียตอีกกว่า 10 ลำ

สำนักข่าวของทางการไม่ได้ระบุชัดเจนว่า MA60 ทั้ง 2 ลำ เป็นความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากจีนหรือซื้อด้วยเงินกู้

จีนได้กลายเป็นผู้สนับสนุนหลักของกองทัพกัมพูชา ช่วงไม่กี่ปีมานี้จีนได้บริจาครถบรรทุกทหารชนิดต่างๆ ให้กัมพูชากว่า 250 คัน ชุดเครื่องแบบอีก 50,000 ชุด นอกจากนั้นยังมีอาวุธอีกหลายชนิด ตั้งแต่ปืนกลประจำกายรุ่นใหม่ทันสมัยสำหรับหน่วยรบพิเศษ ปืนกลเบาอีกหลายรุ่นที่ปรากฏให้เห็นตามแนวชายแดนในช่วงที่มีความตึงเครียดกับไทย

ต่างไปจากกรณีรถบรรทุกทหารกับชุดเครื่องแบบที่มีการประชาสัมพันธ์เป็นข่าวครึกโครม ที่ผ่านมาไม่เคยมีการเปิดเผยเกี่ยวกับความช่วยเหลือหรือข้อตกลงซื้อขายใดๆ ระหว่างกัมพูชากับจีน เกี่ยวกับอาวุธเหล่านี้

ในวันเดียวกันกัมพูชาได้เซ็นความตกลงรับเอาเงินกู้ 430 ล้านดอลลาร์จากธนาคารส่งออกและนำเข้าจีน ซึงส่วนใหญ่เป็นเงินกู้เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์จากจีนสำหรับโครงการปรับปรุง ก่อสร้างหรือขยายทางหลวงหลายสาย กับการก่อสร้างเขื่อนเอนกประสงค์อีก 1 แห่งใน จ.พระตะบอง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ

ในนั้นการปรับปรุงยกระดับและขยายทางหลวงหมายเลข 6 (พนมเปญ-เสียมราฐ-ศรีโสภณ) เพียงสายเดียว มีมูลค่าถึง 250 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์.
กำลังโหลดความคิดเห็น