xs
xsm
sm
md
lg

เรือรบอินเดียเข้าเวียดนามอีกครั้ง หลังโดนขู่ปีที่แล้ว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>หนังสือพิมพ์ของกองทัพกล่าวว่าการแวะเยือนของเรือศิวลิค (INS Shivalik) F47 กับเรือการ์มุค (INS Karmuk) P64 เป็นไปตามความตกลงความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างอินเดียกับเวียดนามที่สนิทสนมแน่นแฟ้นมานาน ภูมิหลังของการเยือนก็คืออินเดียมีผลประโยชน์แน้นแฟ้นกับเวียดนามในทะเลจีนใต้ ท่ามกลางความไม่สบอารมณ์ของปักกิ่ง และ เดือน ส.ค.ปีที่แล้วขณะแล่นออกจากท่าเรือนครหายฝ่องแห่งเดียวกันนี้ และอยู่ในทะเลจีนใต้ เรือลำเลียงยกพลขึ้นบกกองทัพเรืออินเดียลำหนึ่งโดนขู่ ให้ออกจาก เขตน่านน้ำของจีน. -- กวนโด่ยเญินซเวิน (Quân đội Nhân dân).</b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เรือรบกองทัพเรืออินเดีย 2 ลำ เข้าจอดเทียบท่าในนครหายฝ่อง (Hải Phòng) ตอนเช้าวันเสาร์ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเยือนสันถวไมตรีเวียดนามอีกครั้งหนึ่ง ในแผนการตระเวนเยือนหลายปลายทางในย่านเอเชียแปซิฟิกไปจนถึงญี่ปุ่น รวมทั้งแวะเยือนนครเซี่ยงไฮ้ของจีนด้วย

แต่ความเคลื่อนไหวนี้มีที่มาและที่ไปอย่างน่าสนใจ โดยมีสัมพันธ์ขมระหว่างอินเดียกับจีนกับผลประโยชน์ในทะเลจีนใต้ปูพื้นเป็นภูมิหลัง

การแวะเยือนของเรือศิวลิค (INS Shivalik) เรือฟรีเกตล้ำยุค กับเรือการ์มุค (INS Karmuk) ซึ่งเป็นเรือคอร์แว็ตติดขีปนาวุธนำวิถี เป็นไปตามความตกลงความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างอินเดียกับเวียดนามที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันมานาน หนังสือพิมพ์กวนโด่ยเญินซเวิน (Quân đội Nhân dân) หรือ “กองทัพประชาชน” รายงานในวันอาทิตย์ 20 พ.ค.นี้

ผู้บังคับการเรือทั้งสองลำได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากคณะกรรมการประชาชนนครหายฝ่อง และกองบัญชาการกองเรือภาคที่ 3 กองทัพเรือเวียดนาม สองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสนิทสนม และในบรรยากาศอันอบอุ่น

ระหว่างนี้ ลูกเรือลูกเรือของอินเดียจะประกอบกิจการเพื่อสังคมหลายอย่าง ทำการฝึกฝนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันกับทหารในสังกัดกองเรือภาคที่ 3 รวมทั้งจัดแข่งกีฬากระชับมิตรระหว่างสองฝ่ายด้วย หนังสือพิมพ์ที่เป็นปากเสียงของกองทัพและตีพิมพ์เผแพร่โดยกระทรวงกลาโหมกล่าว

เรือศิวลิค (INS Shivalik) F47 เป็นเรือฟรีเกตชั้นศิวลิค (Shivalik-Class) รูปทรง “สเตลธ์” ขนาด 6,200 ตัน เป็นหนึ่งในจำนวน 2 ลำเรือฟรีเกตชั้นเดียวกันที่ประจำการขณะนี้ และกองทัพเรืออินเดียมีโครงการจะผลิตอีกหลายลำ หนึ่งในบรรดาเขี้ยวเล็บสำคัญของเรือฟรีเกตชั้นนี้คือ จรวดบรามอส (Bramos) ซึ่งเป็นจรวดร่อนความเร็วระดับซูเปอร์โซนิคสำหรับทำลายเรือรบข้าศึกที่ผลิตขึ้นจากความร่วมมือระหว่างรัสเซียกับอินเดีย

ส่วนเรือการ์มุค (INS Karmuk) P64 เป็นเรือคอร์แว็ตชั้นโกรา (Kora-Class) ขนาด 1,500 ตัน เป็นหนึ่งในจำนวน 4 ลำ ที่ประจำการในกองทัพเรือปัจจุบัน เขี้ยวเล็บสำคัญยังรวมทั้งจรวดนำวิถี Kh-35 หรือ SS-N-25 หรืออูราน-อี (Uran-E) ของรัสเซีย

ทั้งสองลำรวมอยู่ในกองเรือจำนวน 4 ลำ ที่กองทัพเรืออินเดียส่งออกตระเวนเยือนหลายประเทศ ตั้งแต่อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงญี่ปุ่น รวมเป็นเวลา 2 เดือน

กลับไปอีกครั้ง กวนโด่ยเญินซเวิน (Quân đội Nhân dân)

2

3

4

5

6
กองทัพเรือภาคตะวันออกของอินเดียแถลงเมื่อต้นเดือนนี้ว่า กองเรือสันถวไมตรีนี้นำโดยเรือพิฆาตชั้นราชบุตร (Rajput-Class) ลำหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ระบุชื่อ กับเรือสนับสนุน-เติมน้ำมันอีก 1 ลำ ทั้งสองลำไม่ได้เข้าเทียบท่านครหายฝ่องในคราวนี้ และไม่มีการกล่าวถึง

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากองเรือรบอินเดียที่ตระเวนเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สัปดาห์ที่ผ่านมา และแล่นเข้าสู่ทะเลจีนใต้ขณะนี้ จะเข้าร่วมการฝึกร่วม “ริมแพ็ค” หรือ Rim of the Pacific ที่กำลังจะเริ่มขึ้นวันที่ 22 มิ.ย. ใกล้กับทะเลญี่ปุ่น การฝึกร่วมดังกล่าวจัดปะจำทุกๆ 2 ปี โดยกองทัพเรือสหรัฐฯ

อินเดียกำลังจะเป็น 1 ใน 22 ประเทศ ที่เข้าร่วมการฝึก RIMPAC 2012 ประเทศพันธมิตรอื่นๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ชิลี โคลัมเบีย ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ เปรู เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ ไทย ตองกา และอังกฤษ โดยไม่จีนร่วมด้วย

ในช่วงสงครามเย็น อินเดียแม้จะได้ชื่อเป็นประเทศประชาธิปไตยใหญ่ที่สุดในโลก แต่ก็มีความบาดหมางกับสหรัฐฯ โดยไปมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับอดีตสหภาพโซเวียต ในขณะที่สหรัฐฯ หนุนหลังรัฐบาลปากีสถาน ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านไม้เบื่อไม้เมากับอินเดีย

ยุคสงครามเย็นผ่านพ้นไป อินเดีย และสหรัฐฯ ต้องพึ่งพาอาศัย และร่วมมือกันในการต่อต้านภัยคุกคามร่วมคือ จีน นำมาสู่ความร่วมมือด้านกลาโหม และสหรัฐฯ เริ่มขายอาวุธคุณภาพดีให้แก่กองทัพอินเดียที่พึ่งพาอาวุธของโซเวียต-รัสเซียมาโดยตลอด

ในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา กองทัพเรือได้เข้าร่วมการฝึกมะละบาร์ (Exercise Malabar 2012) กับกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีที่ 1 กองทัพเรือแปซิฟิกของสหรัฐฯ ที่จัดขึ้นในทะเลเบงกอล อินเดียได้ส่งเรือพิฆาตชั้นราชบุตรจำนวน 2 ลำคือ เรือฟรีเกตชั้นศิวลิค 1 ลำ เรือคอร์แว็ตชั้นโคราอีก 1 ลำ กับเรือสนับสนุน-เติมน้ำมัน 1 ลำ เข้าสมทบ

หลายปีมานี้ อินเดียซึ่งเศรษฐกิจเติบโตในระดับสูง ได้ทุ่มงบประมาณมหาศาลพัฒนาการป้องกันประเทศ ทั้งกองทัพบก ทัพเรือ และกองทัพอากาศ ในขณะที่ยังมองจีนเป็นภัยคุกคามอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลเบงกอล

ปัจจุบัน กองทัพเรืออินเดียมีเรือพิฆาตชั้นราชบุตรประจำการจำนวน 5 ลำ นาอกจากนั้น ยังมีเรือพิฆาตชั้นเดลี (Delhi-Class) ที่เก่ากว่า ขนาดใหญ่โตกว่า และแล่นได้ช้ากว่าอีก 3 ลำ รวมเป็นทั้งหมด 8 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินอีก 1 ลำ เรือดำน้ำทั้งเก่า และใหม่รวม 20 ลำ รวมทั้งเรือดำน้ำโจมตีขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ 1 ลำด้วย

เบื้องหลังแฝงเร้น US Nay Photos (Released)
<bR><FONT color=#000033>เรือดำน้ำที่ไม่ได้ระบุชั้นลำหนึ่งแล่นนำหน้าเรือบรรทุกเครื่องบินคาร์ล วินสัน (USS Carl Vinson) CVN 70 เรือลาดตระเวณติดขีปนาวุธนำวิถีบังเกอร์ฮิล (USS Bunker Hill) CG 52 เรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิธีชั้นอาร์ลีห์เบิร์ค ฮัลซีย์ (USS Halsey) DDG 97 จากกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตี 1 ระหว่างการฝึกมะละบาร์ (Exercise Malabar 2012) ร่วมกับเรือรบอินเดียเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ในทะเลเบงกอลซึ่งกองทัพเรือจีนกำลังแผ่อิทธิพลเข้าไป เรือรบของอินเดียที่กำลังเยือนเวียดนามสุดสัปดาห์นี้กำลังมุ่งไปยังทะเลญี่ปุ่น เพื่อร่วมการฝึก RIMPAC กับสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรอีก 20 ประเทศในเดือนหน้า. -- US Navy photo/Mass Communication Specialist 2nd Class James R Evans/Released.</b>
7
<bR><FONT color=#000033>เรือคาร์ล วินสัน (USS Carl Vinson) CVN 70 ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนิมิตซ์ (Nimitz-Class) นำเรือรบสหรัฐฯ เข้าขบวนแล่นสวนขบวนเรือฝ่ายอินเดีย ระหว่างการฝึกซ้อมมะละบาร์ 2012 วันที่ 16 เม.ย.2555 สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเรือรบอินเดีย 2 ลำกำลังเยือนเวียดนาม ก่อนจะไปเยือนเซี่ยงไฮ้ โดยมีปลายทางสุดท้ายในทะเลญี่ปุ่น เพื่อร่วมการฝึก RIMPAC 2012 ซึ่งกองทัพเรือสหรัฐจัดขึ้น 2 ปีต่อครั้ง มี 22 ประเทศในย่านแปซิฟิกและไกลออกไป แต่ไม่มีจีนรวมอยู่ด้วย. -- US Navy photo/Mass Communication Specialist 2nd Class Lori D Bent/Released.</b>
8
<bR><FONT color=#000033>ทหารเรืออเมริกันบนเรือบรรทุกเครื่องบินคาร์ล วินสัน โบกมือให้เรือพิฆาตรณวิชัย (INS Ranvijay) D55 กองทัพเรืออินเดีย ขณะแล่นผ่านระหว่างการร่วมฝึกซ้อมมะละบาร์ 2012 ในทะเลเบงกอลวันที่ 16 เม.ย.2555 เรือรณวิชัยเป็นเรือพิฆาตชั้นราชบุตร (Rajput-Class) แบบเดียวกับอีกลำหนึ่งที่นำขบวนเข้าทะเลจีนในขณะนี้ ซึ่งเรือในขบวน 2 ลำไปแวะเยือนเวียดนามในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา. -- US Navy photo/Mass Communication Specialist 2nd Class Lori D Bent/Released.</b>
9
<bR><FONT color=#000033>เรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถี รณวีร์ (INS Ranvir) D54 กองทัพเรืออินเดีย ระหว่างร่วมฝึกมะละบาร์ 2012 ในภาพวันที่ 14 เม.ย.2555 ในทะเลเบงกอล เบื้องหลังเป็นเรือบังเคอร์ฮิล (USS Bunker Hill1) CG52 ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวณชั้นติคอนเดโรกา (Ticonderoga-Class) ติดจรวดร่อนโทมาฮอว์คของสหรัฐฯ เรือรณวีร์ เป็นเรือพิฆาตชั้นราชบุตร (Rajput) หนึ่งในสองลำที่เข้าร่วมการฝึกที่ผ่านมา เรือชั้นเดียวกันนี้อีก 1 ลำ กำลังนำกองเรือของอินเดียทั้งหมด 4 ลำ มุ่งสู่ทะเลญี่ปุ่น เพื่อร่วมการฝึก RIMPAC 2012  ปลายเดือนหน้า ระหว่างทาง 2 ลำได้ไปแวะเยือนเวียดนาม.-- US Navy photo/Mass Communication Specialist 2nd Class James R Evans/Released.</b>
10
<bR><FONT color=#000033>เรือกุลิศ (INS Kulish) P63 ซึ่งเป็นเรือคอร์แว็ตชั้นกอรา (Kora-Class) แล่นเข้าขบวนกับเรือดำน้ำที่ไม่ได้ระบุชั้นลำหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐฯ ระหว่างการฝึกมะละบาร์ 2012 ในทะเลเบงกอลวันที่ 14 เม.ย.2555 เรือกุลิศเป็นคอร์แว็ตชั้นเดียวกันกับเรือการ์มุค (INS Karmuk) P64 ที่ไปแวะเยือนเวียดนามสุดสัปดาห์นี้ พร้อมกับเรือศิวลิค (INS Shivalik) F47 ทั้งสองลำกำลังติดตามเรือพิฆาตชั้นราชบุตร (Rajaput-Class) พร้อมเรือสนับสนุน-เติมน้ำมันอีกลำหนึ่งไปร่วมฝึกซ้อม Rim of the Pacific 2012 กับพันธมิตรอีก 21 ประเทศในปลายเดือนหน้าในทะเลญี่ปุ่น.-- US Navy photo/Mass Communication Specialist 2nd Class James R Evans/Released.</b>
11
<bR><FONT color=#000033>เรือสัตปุระ (INS Satpura) F48 กองทัพเรืออินเดียระหว่างร่วมฝึกมะละบาร์ 2012 ในภาพวันที่ 16 เม.ย.2555 เรือสัตปุระเป็นเรือฟรีเกตรูปทรง สเตลธ์ ชั้นเดียวกันกับเรือศิวะลิค (INS Shivalik) F47 ที่แวะเยือนเวียดนามในขณะนี้ และกำลังจะไปเยือนนครเซี่ยงไฮ้ของจีน แต่ปลายทางสุดท้ายอยู่ที่ทะเลญี่ปุ่นเพื่อร่วมฝึกซ้อม RIMPAC ในปลายเดือน มิ.ย. -- US Navy photo/Mass Communication Specialist 3rd Class Christopher Farrington/Released.</b>
12
<bR><FONT color=#000033>เรือบรรทุกเครื่องบินคาร์ล วินสัน (USS Carl Vinson) CVN 70 กับเรือศักดิ์ (INS Shakti) A57 ซึ่งเป็นเรือน้ำมันของกองทัพเรืออินเดีย ระหว่างฝึกซ้อมเติมน้ำมันในภาพวันที่ 14 เม.ย.2555 เป็นครั้งแรกที่เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ เติมเชื้อเพลิงจากเรือน้ำมันของอินเดีย อันเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกมะละบาร์ (Exercise Malabar 2012) ในทะเลเบงกอล เรือบรรทุกน้ำมันของอินเดียลำหนึ่งกำลังติดตามกองเรือรบอีก 3 ลำ แล่นเข้าทะเลบจีนใต้ในขณะนี้. -- US Navy photo/Mass Communication Specialist Seaman Apprentice Andrew K Haller/Released.</b>
13
อินเดียมีปัญหาพิพาทชายแดนกับจีนมานานครึ่งศตวรรษ และยังไม่มีการแก้ไข ปีที่แล้วหลังจากบริษัทน้ำมันรัฐบาลอินเดียเซ็นสัญญาสำรวจก๊าซและน้ำมันในทะเลเวียดนาม จีนได้กล่าวเตือน “บริษัทต่างชาติ” ที่เข้าไปสำรวจทรัพยากรในน่านน้ำของจีน อันเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามออกแถลงตอบโต้โฆษกของจีนเวลาต่อมา ระบุว่าบริเวณที่สำรวจร่วมกับอินเดียอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลของเวียดนาม ตามกฎหมายทางทะเลขององค์การสหประชาชาติ และเวียดนามมีสิทธิ์อย่างสมบูรณ์จะร่วมกับใครก็ได้ สำรวจและผลิตพลังงานขึ้นมาใช้

การกลับคืนสู่ทะเลจีนใต้ของเรือรบอินเดียยังมีความหมายสำคัญ หลังจากในเดือน ส.ค.2554 เรือไอย์ราวัต (INS Airavat) L24 ซึ่งเป็นเรือยกพลขึ้นบก ได้รับคำขู่ผ่านคลื่นวิทยุขณะแล่นออกจากท่าเรือหายฝ่อง และอยู่ในทะเลจีนใต้ เสียงขู่จากแหล่งที่ไม่ได้ระบุตัวตน แจ้งว่า “ท่านกำลังอยู่ในน่านน้ำของจีน จงให้ออกไปจากน่านน้ำของจีน” แต่ก็ไม่มีเหตุการณ์อะไรติดตามมา ซึงนายทหารเรืออินเดียให้สัมภาษณ์ในภายหลังว่า ไม่มีอะไรน่าตื่นตระหนก เพราะ “เราอยู่ในน่านน้ำสากล”

อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดียกับจีนได้พบเจรจากันและตกลงเพิ่มการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือสองฝ่าย เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์เข้าใจผิดระหว่างปฏิบัติการในทะเล

กองเรือภาคตะวันออกของอินเดียแถลงในสัปดาห์ต้นเดือน พ.ค.นี้ระบุว่า การไปแวะเยือนนครเซี่ยงไฮ้ของเรือรบอินเดียครั้งนี้ ยังเป็นการต่างตอบแทนการเยือนของเรือเจิ้งเหอ (Zheng He) ของกองทัพเรือจีน ที่ไปแวะเมืองโกจิ (Kochi) ในวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา และจอดที่นั่นเป็นเวลา 3 วัน.
กำลังโหลดความคิดเห็น