xs
xsm
sm
md
lg

ไม่ท้อซูเปอร์เจ็ตชนเขา อิเหนายันซื้อ Su-30 เซ็นรถถังอีก $144 ล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เครื่องบิน Su-30MK2 ไม่ได้ระบุวันและสถานที่ถ่าย อินโดนีเซียยังคงแผนการจัดซื้อเครื่องบินรบของซูคอย (Sukhoi) รุ่นนี้ต่อไป แม้ว่าเครื่องบินโดยสาร ซูเปอร์เจ็ต 100 รุ่นใหม่ล่าสุดของค่ายนี้จะบินชนภูเขาในเกาะชวาไปหยกๆ ในสัปดาห์นี้ก็ตาม อินโดนีเซียจัดซื้อ Su-30MK2 อีก 6 ลำ มูลค่า 470 ล้านดอลลาร์เพื่อให้ครบฝูง 16 ลำ โดยเซ็นสัญญาซื้อขายในงาน อาร์มส์โชว์ ที่เกาะลังกาวีของมาเลเซียปลายปีที่แล้ว. --ภาพ: RAI Novosti. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - อินโดนีเซียยังคงเดินหน้าโครงการจัดซื้อเครื่องบินรบซูคอย-30 (Su-30MK2) ต่อไป ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุเครื่องบินโดยสารซูเปอร์เจ็ต 100 ของซูคอยบินชนภูเขาบนเกาะชวาในวันพุธ 9 พ.ค.นี้ก็ตาม

ขณะเดียวกัน ในวันศุกร์ 11 พ.ค. กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้เซ็นสัญญาซื้อรถถังแบบ BMP-3F จากรัสเซีย เป็นมูลค่า 144 ล้านดอลลาร์ หนังสือพิมพ์กวนโด่ยเญินซเวิน (Quân đội Nhân dân) หรือ “กองทัพประชาชน” ในเวียดนามรายงาน

หนังสือพิมพ์ของกระทรวงกลาโหมเวียดนามตีพิมพ์เรื่องนี้ในเว็บไซต์ โดยอ้างรายงานของสำนักข่าวเวียดนามพลัส ที่อ้างการเปิดเผยของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคร่วมรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นกรรมาธิการกลาโหมที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้

นายมาห์ฟุดซ์ ชิดดิก (Mahfuds Shiddiq) แห่งพรรคจัสติสพรอสเพอริตี (Justice Prosperity Party) หรือ PKS กล่าวในวันศุกร์ว่า การจัดซื้อเครื่องบิน Su-30MK2 จากรัสเซีย มูลค่า 470 ล้านดอลลาร์มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการป้องกันประเทศให้ทันสมัย และกระบวนการในรัฐสภาใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว

อุบัติเหตุที่เกิดกับซูคอยซูเปอร์เจ็ต เกิดขึ้นได้กับทุกสายการบิน และกับเครื่องบินโดยสารทุกรุ่น โดยมีหลากหลายสาเหตุแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเกี่ยวกับเทคโนโลยี สภาพภูมิอากาศในขณะนั้น รวมทั้งความผิดพลาดด้านบุคคล และการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยการบินอีกด้วย นายชิดดิกกล่าว

อินโดนีเซียจัดทำโครงการจัดซื้อเครื่องบินรบ Su-30MK2 ตั้งแต่ปี 2553 และเซ็นสัญญาซื้อในเดือน ธ.ค.2554 ในแผนการจัดซื้อให้ครบฝูงจำนวน 16 ลำ

ปีที่แล้ว อินโดนีเซียได้รับมอบเครื่องบินรบ Su-30MK2 จำนวน 3 ลำ กับ Su-27SKM อีก 3 ลำ ตามแผนการจัดซื้อมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านั้น ได้รับมอบ Su-27SK จำนวน 2 ลำ กับ Su-30MK อีก 2 ลำ เป็นล็อตที่สั่งซื้อในปี 2546 รวมเป็นเครื่องบินรบตระกูลซูคอยในประจำการปัจจุบันทั้งหมด 10 ลำ โนวอสติกล่าว
.
<bR><FONT color=#000033>รถถังเบาแบบ BMP-3 ของกองทัพบกรัสเซียระหว่างงานสวนสนามในปี 2551 เป็นภาพจากวิกิพีเดีย แต่รุ่น BMP-3F Series 2 สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกปฏิบัติการในน้ำได้นาน 7 ชั่วโมง ติดปืนใหญ่ 100 ม.เท่ากัน แต่ติดระบบควบคุมการใหม่ยิงจากน้ำอย่างแม่นยำ สัปดาห์นี้อินโดนีเซียเซ็นซื้อยานเกราะรุ่นนี้จำนวน 37 คัน มูลค่า 144 ล้านดอลลาร์. </b>
<bR><FONT color=#000033>จรวดนำวิถีพื้นสู่พื้นสำหรับทำลายเรือรบแบบ SS-N-26 หรือ P-300 ยาโค้นต์ (Yakhont) มูลค่าหน่วยละ 1.2 ล้านดอลลาร์ ที่กองทัพเรืออินโดนีเซียซื้อเข้าประจำการแทนจรวดฮาร์พูนรุ่นเก่าที่ผลิตในสหรัฐฯ อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถัดจากเวียดนามที่มีจรวดประสิทธิภาพสูงรุ่นนี้ประจำการ. -- ภาพ: RAI Novosti.</b>
.
ระหว่างงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ในกรุงจาการ์ตา เดือน ต.ค.2553 อินโดนีเซียได้เซ็นสัญญาซื้อจรวด รวมทั้งกระสุน และลูกระเบิดรวมมูลค่า 54 ล้านดอลลาร์ สำหรับติดเครื่องบินรบตระกูลซูคอยของกองทัพอากาศ โนวอสติรายงาน

อินโดนีเซียเริ่มเป็นลูกค้าอาวุธของรัสเซียมาตั้งแต่ปี 2542 หลังจากสหรัฐฯ ไม่ยอมขายอาวุธให้ในช่วงปีดังกล่าว จนถึงปี 2546 โดยอ้างการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศนี้ แต่แม้ว่าเอ็มบาร์โกจะถูกยกเลิกไปแล้ว อินโดนีเซียก็ยังซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากรัสเซียอย่างต่อเนื่อง

ตามรายงานของกวนโด่ยเญินซเวิน กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเปิดเผยในวันศุกร์ 11 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า ได้มีการเซ็นสัญญากับบริษัทโรโซโบโรเน็กซ์ ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกอาวุธของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย เพื่อซื้อรถถังสะเทินน้ำสะเทินบก BMP-3F ซีรีส์ 2 จำนวน 37 คัน ซึ่งเป็นรุ่นที่สามารถปฏิบัติการในน้ำได้นานถึง 7 ชั่วโมง ติดอาวุธปืน 100 มม. ติดระบบควบคุมการยิงจากน้ำที่ทันสมัย และมีความแม่นยำสูง

คาดว่า ฝ่ายรัสเซียจะเริ่มส่งมอบรถถังจำนวนดังกล่าวให้แก่ฝ่ายอินโดนีเซียในเดือน มิ.ย.นี้เพื่อนำเข้าประจำการในกองทัพเรือ กวนโด่ยเญินซเวินกล่าว

สำนักข่าวโนวอสติรายงานในขณะเดียวกันว่า กองทัพเรืออินโดนีเซียยังเป็นลูกค้าจรวดนำวิถีต่อต้านเรือแบบยาโคนต์ (Yakhont) หรือ SS-N-26 อีกด้วย โดยจัดซื้อจากรัสเซียในปี 2550 ราคา 1.2 ล้านดอลลาร์ต่อหน่วย และไม่มีการเปิดเผยจำนวนที่ซื้อ

การทดลองยิงระหว่างฝึกซ้อมทางเรือในมหาสมุทรอินเดียในเดือน มี.ค.ปีที่แล้วได้ผลดี จรวดใช้เวลา 6 นาที ร่อนไปจมเรือเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไป 250 กม.อย่างแม่นยำ โนวอสติกล่าว

อินโดนีเซียเป็นเพียงประเทศที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากเวียดนามที่มีจรวดนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำยาโคนต์ประจำการ ส่วนเวียดนามมีระบบป้องกันทางทะเลบาสเตียน (Bastion) อันทันสมัย ที่ใช้จรวดยาโคนต์เป็นกำลังหลักในประจำการอีกด้วย .
กำลังโหลดความคิดเห็น