xs
xsm
sm
md
lg

“ซูจี” หารือ KNU แก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นางอองซานซูจี (ซ้าย) กล่าวแถลงต่อสื่อหลังเสร็จสิ้นการหารือกับคณะผู้แทนจาก KNU ที่บ้านพักของนางซูจีในนครย่างกุ้ง วันที่ 8 เม.ย.--  AFP PHOTO/Soe Than Win.  </font></b>

เอเอฟพี - นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่าหารือกับกลุ่มกบฎชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงในวันนี้ (8 เม.ย.) นับเป็นการทำหน้าที่ทางการเมืองครั้งแรกของซูจี ตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

นางอองซานซูจีที่ชนะที่นั่งในรัฐสภาเป็นครั้งแรกจากการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 1 เม.ย. ได้ใช้เวลาหารืออยู่ร่วม 2 ชั่วโมงกับคณะผู้แทนจากสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ในนครย่างกุ้ง

ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยกล่าวถึงการหารือครั้งนี้ว่า เป็นเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการปรองดองในชาติ

นางอองซานซูจีกล่าวว่า เป้าหมายของพรรค NLD คือ การมีเอกภาพในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และเชื่อว่า ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ควรรวมอยู่ในกระบวนการนี้ร่วมกัน

การหารือครั้งนี้มีขึ้นหลังจากคณะผู้แทนจาก KNU หารือกับประธานาธิบดีเต็งเส่งในกรุงเนปีดอ วานนี้ ที่ถือเป็นการหารือระหว่างกันเป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน

พม่าพิจารณาให้ KNU เป็นกลุ่มองค์กรผิดกฎหมาย และกองกำลังทหารของ KNU ต่อสู้กับรัฐบาลมานับตั้งแต่ปี 2492 ในพื้นที่ป่าทางตะวันออกใกล้พรมแดนไทย

KNU ลงนามข้อตกลงกับรัฐบาลพม่าชุดใหม่ในเดือนม.ค. 2555 อันเป็นความหวังของการสิ้นสุดความขัดแย้งที่ยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งในโลกอย่างถาวร

นางซิบโปร่า เส่ง เลขาธิการ KNU กล่าวว่า KNU ร้องขอให้ประธานาธิบดีเต็งเส่งทบทวนข้อห้ามที่มีกับองค์กร เพราะสถานะของ KNU คือ อันตราย น่าหวาดกลัว และน่าเป็นกังวลต่อผู้คนในประเทศนี้

นางซูจี ที่ระบุว่า จะใช้ตำแหน่งของเธอในฐานะเป็นผู้บัญญัติกฎหมายพยายามที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวจะดีขึ้นหากไม่มีการห้ามองค์กรใดๆ ในพม่า

สงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศนับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 2491 และการยุติความขัดแย้งเป็นข้อเรียกร้องหลักของประชาคมโลกต่อพม่า

รัฐบาลเดินหน้าลงนามข้อตกลงสันติภาพเบื้องต้นกับกลุ่มกบฎหลายกลุ่ม อันเป็นส่วนหนึ่งในวาระการปฏิรูปประชาธิปไตย แต่การต่อสู้ที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือของประเทศ ขัดขวางความพยายามที่จะสร้างความปรองดองในชาติ

รัฐบาล และ KNU ได้เจรจาข้อตกลง 13 ข้อ เมื่อวันศุกร์ (5 เม.ย.) ที่รวมทั้งหลักปฏิบัติที่จะรับรองความปลอดภัยของพลเรือน และข้อตกลงที่จะดำเนินแผนการสำหรับจัดหาที่อยู่ให้แก่ผู้อพยพย้ายที่อยู่ภายในประเทศ และเก็บกู้ระเบิด

ชนเผ่ากะเหรี่ยงเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์อย่างน้อยทั้งหมด 135 กลุ่มที่มีอยู่ในพม่า โดยมีประชากรอยู่ประมาณร้อยละ 7 จากจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ แต่การต่อสู้ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐกะเหรี่ยง ทำให้ประชาชนหลายหมื่นคนต้องลี้ภัยข้ามพรมแดนไปยังฝั่งไทย
กำลังโหลดความคิดเห็น