xs
xsm
sm
md
lg

พรรครัฐชานไม่หวั่น มั่นใจเลือกตั้งได้ที่นั่งในสภา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 18 มี.ค. นางอองซานซูจี แกนนำฝ่ายค้านพม่ากล่าวกับผู้สนับสนุน ระหว่างเดินทางเยือนเมืองท่าแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองลาเฉียว รัฐชาน ภาคเหนือของพม่า. --AFP PHOTO/Soe Than Win/FILES.  </font></b>

เอเอฟพี - ความนิยมในตัวของนางอองซานซูจีอาจไม่สามารถรับรองชัยชนะให้กับพรรคของเธอ ในพื้นที่ติดพรมแดนห่างไกลของพม่า บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในสุดสัปดาห์นี้ก็เป็นได้

การเลือกตั้งซ่อมที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดเป็นความคาดหวังว่าจะช่วยให้หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) เข้าสู่รัฐสภาได้เป็นครั้งแรก นับเป็นการกลับคืนสู่การเมืองกระแสหลักของพรรคสันติบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของเธอหลังอยู่นอกกระแสหลายปี

อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ อาจเน้นย้ำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ไม่ง่ายนักระหว่างผู้นำเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่ากับชนกลุ่มน้อยที่เบื่อหน่ายการกดขี่ของบรรดานายพลที่อยู่ภายใต้การปกครองในระบอบทหารมานานเกือบครึ่งศตวรรษ

รัฐชาน ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางจีน ลาว และไทย ในด้านทิศตะวันออก และพื้นที่ที่เหลือของพม่าในทิศตะวันตก คู่แข่งคนสำคัญของพรรค NLD กลับไม่ใช่พรรครัฐบาลที่มีสัญลักษณ์รูป "สิงห์" แต่เป็น "เสือขาว" สัญลักษณ์ของพรรคประชาธิปไตยชนชาติชาน (SNDP)

"ฉันจะสนับสนุนพรรคเสือขาว ฉันไม่รู้จักอองซานซูจี" นางนาน มู เกษตรกรอายุ 35 ปี จากหมู่บ้านในเมืองลาเฉียว กล่าว

พรรค SNDP ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งมากเป็นอันดับ 2 รองจากพรรค NLD ในการเลือกตั้งปี 2533 ที่ผลการเลือกตั้งครั้งนั้นไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลทหาร แต่ในเวลานี้ พรรค SNDP มีที่นั่งในสภามากเป็นอันดับสองรองจากพรรครัฐบาล

แกนนำพรรค SNDP มีความมั่นใจว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จอีกครั้งในการเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้ ที่จะเข้าไปแทนที่ผู้บัญญัติกฎหมายที่ถูกแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในคณะรัฐบาลทำให้เก้าอี้ในรัฐสภาว่างลง

"เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเดินทางไปเยี่ยมหมู่บ้านต่างๆ ประชาชนต่างต้อนรับและให้การสนับสนุนพวกเรา เราไม่กังวลว่าพรรค NLD เข้าร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้" ซาย ออง ซา เจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรค SNDP ในเมืองลาเฉียว กล่าว

"อองซานซูจีเดินทางไปทั่วประเทศด้วยความกรุณาที่มีต่อประชาชน ใครก็ตามที่มีส่วนร่วม นับเป็นสิ่งที่ดี หากพวกเขาทำงานเพื่อประเทศและเพื่อประชาชน" ซาย ออง ซา กล่าว

ที่นั่ง 2 ที่ของรัฐชาน จากทั้งหมด 45 ที่นั่งในการเลือกตั้งวันอาทิตย์นี้ ดูไม่น่าจะเป็นสมรภูมิสำคัญอะไร และการเลือกตั้งซ่อมคราวนี้ก็ไม่สามารถคัดค้านเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นของพรรครัฐบาลในสภาได้ แต่ความพ่ายแพ้สำหรับพรรค NLD ในรัฐชาน จะทำให้ยากยิ่งขึ้นสำหรับพรรคที่จะอ้างว่าได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายของประเทศ และอาจทำให้ภาพลักษณ์ของนางอองซานซูจีในฐานะแกนนำกลุ่มชาติพันธุ์ดูอ่อนลง

สงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศนับตั้งแต่ได้รับอิสระภาพจากอังกฤษในปี 2491 การยุติความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเกี่ยวเนื่องกับกองกำลังทหารของรัฐเป็นข้อเรียกร้องสำคัญของชาติตะวันตกที่กำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่า

"ความรู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติของประชาคมกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มักเป็นสิ่งที่ชาวพม่าส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ" จิม เดลลา-จิอาโกมา ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากอินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป กล่าว
<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 17 มี.ค. นางอองซานซูจี ในชุดพื้นเมือง กล่าวปราศรัยกับประชาชนที่เมืองลาเฉียว ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในพื้นที่รัฐชาน. --AFP PHOTO/Soe Than Win/FILES.  </font></b>
นางอองซานซูจีเป็นที่ยอมรับในประชาคมกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ชนกลุ่มน้อยหลายคนเพิ่งเคยเห็นนางอองซานซูจีเป็นครั้งแรกและที่สำคัญคือรับรู้ในฐานะการเป็นสมาชิกของชนชั้นปกครอง

นายเดลลา-จิอาโกมา ระบุว่า การตัดสินใจของพรรค NLD ที่สมัครลงในทุกที่นั่ง และเชื่อว่าจะสามารถชนะทุกที่นั่งด้วยนั้น อาจก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านในชนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม เพราะพวกเขามีสิทธิที่จะรู้สึกกังวลว่าผลประโยชน์จะสูญหายไป และพรรค NLD พยายามที่จะหาที่ทางให้ตัวเองมีอำนาจ

นายซาย มี้น หม่อง ทนายความอายุ 65 ปี ผู้สมัครลงเลือกตั้งจากพรรค NLD ระบุว่า กำลังพยายามที่จะลบความคิดดังกล่าว

"ผมพยายามบอกกล่าวกับผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงว่า พรรค NLD ไม่ใช่พรรคชาวพม่าหรือพรรครัฐชาน แต่ NLD เป็นพรรคของทุกกลุ่มชาติพันธุ์" นายซาย มี้น หม่อง กล่าว

ความพยายามดูจะได้ผล แม้ว่าผู้สมัครลงเลือกตั้งของพรรค NLD จะไม่เป็นที่รู้จักมากนักในรัฐชาน ที่เป็นบ้านของชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มและกองกำลังกบฎจำนวนหนึ่ง

"ฉันลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเสือขาวเมื่อปี 2553 แต่คราวนี้มีหลายคนจะลงคะแนนให้กับดอว์ซู ฉันหวังว่าเธอจะทำงานให้พวกเรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น" แซม นับ ชาวเผ่าว้า อายุ 46 ปี กล่าว

รัฐบาลเห็นชอบตกลงที่จะหยุดยิงกับกบฎชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม แต่ยังมีการสู้รบเกิดขึ้นในพื้นที่รัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือ ทำให้ผู้คนหลายหมื่นคนต้องอพยพ นับเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการสร้างสันติภาพของประเทศ และในวันศุกร์ที่ผ่านมา ทางการพม่าได้ประกาศเลื่อนการเลือกตั้งซ่อมในเขตเลือกตั้ง 3 เขต ที่อยู่ในรัฐกะฉิ่น ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย.
กำลังโหลดความคิดเห็น