xs
xsm
sm
md
lg

ตีแสกหน้า “ฮุนเซน” ปินส์ดันทะเลจีนใต้หารือผู้นำอาเซียน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>สส.ฟิลิปปินส์ถ่ายภาพร่วมกับราษฎรและเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบนเกาะปัก-อาซา (Pag Asa) ในภาพวันที่ 20 ก.ค.2554 ระหว่างไปเยือน ชื่อของเกาะนี้แปลว่า ความหวัง ฟิลิปปินส์ครอบครองมานานนับร้อยปี ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ จ.ปาลาวัน ฟิลิปปินส์พัฒนาเกาะแห่งนี้มาต่อเนื่องปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่หลายร้อยคน มีสนามบินเล็กๆ อยู่บนเกาะนี้นานกว่า 10 ปีแล้ว จู่ๆ จีนก็ประกาศใช้แผนที่เส้นประ 9 เส้น อ้างความเป็นเจ้าของ ฟิลิปปินส์ประกาศในวันจันทร์ 2 เม.ย.นี้จะพัฒนาที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะสร้างความไม่พอใจให้กับจีน ในวันเดียวกัน รมว.ต่างประเทศฟิลิปปินส์ที่ร่วมระชุมกับรัฐมนตรีอาเซียนในกรุงพนมเปญ ประกาศผลักดันกรณีพิพาททะเลจีนใต้เข้าหารือในที่ประชุมผู้นำที่จะเริ่มในวันอังคารนี้ ถึงแม้ว่าจีนจะขอให้รัฐบาลกัมพูชาเจ้าภาพนำเรื่องนี้ออกจากวาระแล้วก็ตาม. --  REUTERS/Rolex Dena Pena/Pool.</b>

พนมเปญ (รอยเตอร์) - ฟิลิปปินส์ได้ผลักดันการหารือเกี่ยวกับข้อพิพาทในทะเลจีนใต้เข้าสู่ที่ประชุมระดับภูมิภาคเมื่อวันจันทร์ (2 เม.ย.) ถึงแม้ว่ากัมพูชาซึ่งเป็นเจ้าภาพจะนำวาระนี้ออกจากการหารือไปแล้ว และเรียกร้องให้มีความคืบหน้าในอีกเรื่องหนึ่งในวาระที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การตัดสินใจนำเอาประเด็นนี้ออกจากวาระการประชุมสุดยอดของบรรดาผู้นำสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสัปดาห์นี้ ได้ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า กัมพูชาตกอยู่ใต้แรงกดดันจากจีนซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดทางเศรษฐกิจใช่หรือไม่

ประธานาธิบดีจีนหูจิ่นเทาได้ บอกกับผู้นำกัมพูชาฮุนเซน ระหว่างไปเยือนในช่วงสุดสัปดาห์ว่า ปักกิ่งไม่ต้องการให้มีการหารือเกี่ยวกับการนำใช้ประมวลข้อปฏิบัติเกี่ยวกับดินแดนพิพาทอย่างรีบด่วนจนเกินไป

“ฟิลิปปินส์หวังว่าประมวลข้อปฏิบัติจะเป็นการก้าวไปข้างหน้าอย่างแท้จริง มิใช่เป็นเพียงรูปแบบ แต่สำคัญอย่างยิ่งต้องมีแก่นสาร” นายอัลแบร์ เดล โรซาริโอ (Albert del Rosario) รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ ได้บอกกับการประชุมที่มีขึ้นก่อนการประชุมสุดยอด ตามที่ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งที่รอยเตอร์ได้รับ

นายโรซาริโอได้กล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า ฟิลิปปินส์ได้เคยเสนอให้มีการประชุมผู้นำประเทศที่กล่าวอ้างสิทธิในส่วนต่างๆ ของทะเลจีนใต้ เพื่อหารือกันโดยยึดถือกฎหมายระหว่างประเทศเป็นที่ตั้ง ซึ่งหมายถึงกฎหมายทางทะเลขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Convention of the Law of the Sea)

จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม และไต้หวัน ต่างก็กล่าวอ้างสิทธิเหนือทะเลจีนใต้ โดยจีนกล่าวอ้างมากที่สุด

จีนได้ปฏิเสธการทำให้ข้อพิพาทเหนืออาณาบริเวณที่เชื่อว่ารุ่มรวยด้วยทรัพยากรนี้กลายเป็นประเด็นระหว่างประเทศ แต่ต้องการที่จะหารือปัญหานี้แบบทวิภาคีกับอาเซียน ซึ่งตัดสินใจปัญหาต่างๆ ด้วยฉันทามติ และมีสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศที่กล่าวอ้างสิทธิในทะเลจีนใต้
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นเกาะปัก-อาซา (Pa Asa) ซึ่งมีเนื้อที่เพียง 300 ไร่เศษอยู่ด้านนอกของหมู่เกาะปาลาวันซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของฟิลิปปินส์ บนเกาะมีประชากรอาศัยอยู่หลายร้อยคน มีสนามบิน และมีน้ำจืดอุดม ฟิลิปปินส์ครอบครองเกาะนี้มานานนับร้อยปี จู่ๆ จีนก็ประกาศเป็นเจ้าของ ฟิลิปปินส์ประกาศในวันจันทร์ 2 เม.ย.นี้ จะเดินหน้าพัฒนาเป็นเกาะท่องเที่ยว ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้จีนไม่พอใจ. --  REUTERS/Rolex Dela Pena/Pool Images. </b>
2
เจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์กล่าวว่า พวกเขากระวนกระวายใจต่อความพยายามของจีนที่จะชะลอการหารือเกี่ยวกับการบังคับใช้อย่างเป็นทางการ คำประกาศเกี่ยวกับข้อปฏิบัติฉบับปี 2545 ระหว่างจีนกับอาเซียน

เดือนมีนาคมที่ผ่านมา เรือลำหนึ่งของกองทัพเรือจีนได้แสดงการข่มขู่จะแล่นเข้าชนเรือสำรวจลำหนึ่งของฟิลิปปินส์ ทำให้รัฐบาลในนครมะนิลาสั่งเครื่องบินกับเรือเข้าไปในเขตรีดแบงก์ (Reed Bank)

เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ประธานาธิบดีเบนีกโน อะคีโน จูเนียร์ หาทางสร้างความใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้น ในขณะที่สหรัฐฯ ประกาศจะรวมศูนย์การเคลื่อนไหวทางทหารกลับคืนเข้าสู่เอเชีย

จีนซึ่งอ้างอธิปไตยเหนือทะเลและหมู่เกาะต่างๆ โดยใช้แผนที่แสดงแนวโค้งด้วย “เส้นประ 9 เส้น” ได้ปฏิเสธข้อเสนอที่ฟิลิปปินส์เสนอต่ออาเซียนในเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว ให้มีการกำหนดอาณาบริเวณขึ้นมา และพัฒนาร่วมกัน

ในวันจันทร์ที่ 2 เมษายนนี้ เจ้าหน้าที่ในกรุงมะนิลาได้ประกาศแผนการที่จะพัฒนาเกาะเกาะหนึ่งในหมู่เกาะสแปรตลีที่เป็นเขตแดนพิพาท อันเป็นการเคลื่อนไหวที่เชื่อว่าจะสร้างความไม่พอใจให้จีน

เกาะที่มีพื้นที่เพียง 37 เฮกตาร์ (231 ไร่) ที่รู้จักกันในระดับระหว่างประเทศในชื่อ “ทิตู” (Thitu) หรือปั๊กอาซา (Pag Asa) ในฟิลิปปินส์นั้นเป็นที่ทราบกันว่ามีแหล่งน้ำจืด และปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่หลายร้อยคน
<bR><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยลาดตระเวณชายฝั่งบนเกาะปัก-อาซา (Pag Asa) ทำความเคารพสมาชิกรัฐสภาที่ไปเยือน ในภาพวันที่ 20 ก.ค.2554 ฟิลิปปินส์ซึ่งครอบครองเกาะนี้มานานนับร้อยปี ประกาศในวันจันทร์ 2 เม.ย.นี้ จะพัฒนาที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจะทำให้จีนไม่พอใจ วันเดียวกันรัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ที่กำลังร่วมประชุมกับรัฐมนตรีอาเซียนในกรุงพนมเปญ ได้ผลักดันข้อพิพาททะเลจีนใต้เข้าเป็นวาระในการประชุมสุดยอดผู้นำที่จะเริ่มในวันอังคาร 3 เม.ย.ศกนี้ แม้ว่าผู้นำกัมพูชาเจ้าภาพจะนำเรื่องนี้ออกจากวาระไปแล้วก็ตาม. -- REUTERS/Rolex Dena Pena/Pool. </b>
3
<bR><FONT color=#000033>ทหารเรือฟิลิปปินส์ทำพิธีต้อนรับเรือ USS Blue Ridge กับลูกเรือที่เข้าเทียบท่าในนครมะนิลาวันที่ 23 มี.ค.2555 การเยือนของเรือบลูริดจ์ ซึ่งเป็นเรือธงของกองทัพเรือที่ 7 สหรัฐฯ มีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีเบนีกโน อะคีโน จูเนียร์ แห่งฟิลิปปินส์กล่าวในวันที่ 20 มี.ค.ว่า ยินดีต้อนรับกองทหารสหรัฐฯ ที่จะหมุนเวียนเข้าประจำการในเอเชีย และฟิลิปปินส์ยินดีที่จะต้อนรับการแวะเยือนของเรือรบสหรัฐฯ ให้ถี่ยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากฟิลิปปินส์กล่าวว่าเรือกองทัพเรือจีนได้ข่มขู่และทำท่าจะแล่นเข้าชนเรือสำรวจของฟิลบิปปินส์ก่อนหน้านี้. -- TOPSHOTS AFP PHOTO/Ted Aljibe. </b>
4
<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 28 มิ.ย.2554 คนงานกำลังมองดูเรือพิฆาตชุงฮูน (DDG 93) ก่อนจะเริ่มการฝึกซ้อมภายใต้รหัส CARAT (Cooperation Afloat Readiness Training) ในน่านน้ำฟิลิปปินส์ ที่มีเรือรบพันธมิตรหลายประเทศเข้าร่วม ชุงฮูนเป็นเรือพิฆาตรชั้นอาร์เลห์เบิร์กติดจรวดร่อนโทมาฮอว์คหนึ่งในจำนวน 101 ลำของกองทัพเรือสหรัฐฯ และได้รับคำสั่งให้เข้าประจำในทะเลซูลูของฟิลิปปินส์มาตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2554 เพื่อพิทักษ์เส้นทางเดินเรือเสรีในทะเลจีนใต้และยังคงปฏิบัติภารกิจนี้มาจนถึงปัจจุบัน.-- AFP PHOTO/Noel Celis. </b>
5
กำลังโหลดความคิดเห็น