xs
xsm
sm
md
lg

"ราชบุรี" จับมือ "เจ้าพ่อเกาะกง" ไฟฟ้าถ่านหิน 1,800 MW

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>จากซ้ายไปขวา กิตเม้ง ประธานโรยัลกรู๊ป ลียงพัด (พัด สุภาพา) ประธานกลุ่มลียงพัด กับ มงฤทธี ประธานกลุ่มมงฤทธี ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใกล้ชิด (Crony) กับรัฐบาลฮุนเซน แต่ละกลุ่มครอบครองพื้นที่สัมปทานหลายแสนไร่ในหลายกิจการทั้งธุรกิจการเกษตร อุตสาหกรรมและอสังหาริมทรัพย์ ลียงพัดนักธุรกิจสัญชาติไทย-เขมร ฉายา เจ้าพ่อเกาะกง สามารถเนรมิตอะไรให้ใครก็ได้ในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ กลุ่มไฟฟ้าราชบุรีฯ ของไทย เพิ่งจับมือร่วมทุน 50/50 กับลียงพัดเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนถ่านหินขนาดใหญ่ขึ้นที่นั่น แม้จะยังไม่ทราบรายละเอียดและขั้นตอนต่อไปก็ตาม.    </b>

ซินหัว - บริษัทเค เค (เกาะกง) พาวเวอร์ ของกัมพูชา และบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ของไทย ได้ลงนามข้อตกลงลงทุนร่วมกันวานนี้ (25 มี.ค.) ที่จะพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,800 เมกะวัตต์ ในจ.เกาะกง ห่างจากกรุงพนมเปญ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 271 กม.

ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการลงนามร่วมกันระหว่างนายลียงพัด (Ly Yong Phat) วุฒิสมาชิกและนักธุรกิจรายใหญ่ของกัมพูชา ในฐานะประธานบริษัทเคเคพาวเวอร์ และนายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) โดยมีนายซุย แซม รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม เหมืองแร่และพลังงาน ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้

"การพัฒนาโรงไฟฟ้าครั้งนี้มีขึ้นเพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นในกัมพูชา และไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขายทั้งในฝั่งกัมพูชาและไทย" นายลียงพัด กล่าวหลังพิธีลงนามโดยไม่เปิดเผยมูลค่าการลงทุนร่วมกันของสองบริษัท ซึ่งทั้งสองบริษัทจะถือหุ้นสัดส่วนเท่ากันที่ 50%

นายนพพล มิลินทางกูร กล่าวว่า การเป็นหุ้นส่วนกันกับบริษัทเคเคพาวเวอร์จะช่วยสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลกัมพูชาในด้านการพัฒนาและยกระดับความน่าเชื่อถือในด้านพลังงานของประเทศที่นำไปสู่ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

"ผมเชื่อมั่นว่า ด้วยความพยายามและความมุ่งมั่นของทั้งสองบริษัท เราจะสามารถเดินหน้าและบรรลุตามเป้าหมายทางธุรกิจของเราได้ และในฐานะการเป็นประเทศเพื่อนบ้าน เรามีความภูมิใจที่เป็นตัวแทนของภาคพลังงานเอกชนของไทยที่จะสานต่อความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต" นายนพพล กล่าว

นายซุยแซม กล่าวในพิธีลงนามว่าความร่วมมือของสองบริษัทจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาภาคพลังงานไฟฟ้าของกัมพูชาที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

"การมีพลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้นจะทำให้ราคาไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภคนั้นถูกลงและยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน" นายซุยแซม กล่าว

การขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญสำหรับกัมพูชาในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และในปัจจุบัน จีนเป็นประเทศที่ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในกัมพูชา

ในเดือนธ.ค. 2554 บริษัทซิโนไฮโดรคอร์เปอเรชันได้เริ่มต้นผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนกัมจายขนาด 193 เมกะวัตต์ และเขื่อนไฟฟ้าที่จีนเป็นผู้ลงทุนอีก 4 แห่ง ที่รวมขนาดการผลิต 722 เมกะวัตต์ อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าเขื่อนไฟฟ้าทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2558.
กำลังโหลดความคิดเห็น