ASTVผู้จัดการรายวัน-“รฟม.”เผยก่อสร้างรถไฟฟ้าสีน้ำเงินคืบหน้า 3% ส่วนเวนคืนไปแล้ว 68% แต่ยังมีปัญหาบริเวณวัดมังกร เร่งทำความเข้าใจประชาชน พร้อมประสานตำรวจจัดจราจรแยกหัวลำโพง เปิดหน้าดินหย่อนหัวเจาะขุดอุโมงค์ ยอมรับหนักใจช่วงถนนจรัญสนิทวงศ์ จราจรอ่วมแน่ เหตุเจอโครงการอุโมงค์ลอดแยกของกทม. หนุน20บาทตลอดสายทำได้ อยู่ที่รัฐจะชดเชยส่วนต่างได้แค่ไหน
นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติงาน) รักษาการผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร ว่า ขณะนี้ผู้รับเหมาในแต่ละสัญญาได้เข้าพื้นที่ก่อสร้างแล้ว โดยการก่อสร้างมีความคืบหน้าประมาณ 3% ส่วนการเวนคืนที่ดินคืบหน้า 68%
เร็วกว่าแผนกว่า 1% โดยยังมีความกังวลการเวนคืนที่ดินในส่วนของโครงสร้างใต้ดิน 3 จุด คือ วัดมังกรกมลาวา มีจำนวน 55 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำการค้า และยังมีปัญหายื่นฟ้องคัดค้านต่อศาลปกครอง,วังบูรพา 30-40 ราย ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ และอิสรภาพ 20 ราย ซึ่งต้องเร่งทำความเข้าใจกับผู้ถูกเวนคืนเรื่องค่าทดแทน ซึ่งหากสรุปได้เร็วจะสามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับเหมาได้เร็วขึ้น โดยรฟม.ได้รับอนุมัติงบประมาณในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการรวม 5,900 ล้านบาท
ทั้งนี้ การก่อสร้างเส้นทางใต้ดินสัญญาที่ 1 ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วงเงิน 11,441 ล้านบาท บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นผู้รับเหมา บริเวณแยกหัวลำโพง จะต้องมีการเปิดหน้าดิน (Cut& Cover) ลึก 20 เมตร ทำกำแพงกันดินเพื่อหย่อนหัวเจาะอุโมงค์ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเจาะกลางปี 2555 นั้นได้ประสานกับกรุงเทพมหานคร (กทม) ,ตำรวจนครบาล ในการรื้อย้ายสาธารณูปโภค และจัดทำป้ายบอกและเตรียมพื้นที่ก่อสร้างซึ่งจะทำให้ผิวจราจรจาก 4 ช่องเหลือ 3 ช่องจราจรความกว้าง 11.50 เมตร โดยจะปรับรูปแบบจราจรอีกครั้งในเดือนต.ค. 2554 ตามการก่อสร้างที่มีการปรับเปลี่ยนไป ซึ่งรฟม.ได้ให้ผู้รับเหมาติดตั้งป้ายแจ้งเตือนที่สะดุดตาเห็นระยะไกลเพื่อให้เลือกใช้ทางวิ่งได้ถูกต้อง
และตีเส้นทางม้าลายใหม่ให้มีระเบียบมากขึ้น พร้อมกันนี้ทาง ITD ได้จัดเจ้าหน้าที่4 คน เพื่อช่วยตำรวจในการจัดจราจรและให้คำแนะนำกับประชาชนที่สัญจรในบริเวณดังกล่าว
“ITDได้เริ่มเข้าพื้นที่ตั้งแต่ วันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา และได้มีการทดลองจัดจราจร ซึ่งยังไม่มีการร้องเรียนของผู้ใช้รถใช้ถนนในเส้นทางดังกล่าว เนื่องจากได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่ใช้รถในเส้นทางที่จะก่อสร้างทราบตั้งแต่เดือนมิ.ย.แล้ว นอกจากนี้ จะหารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อปรับจุดของปล่องระบายอากาศ เพื่อเลี่ยงบริเวณต้นโพธิ์อายุกว่า
100 ปี ของร.ฟ.ท.ด้วย โดยโครงสร้างใต้ดินจะใช้เวลาก่อสร้างไปจนถึงปี 2558 หลังจากนั้นก็จะเป็นการวางระบบสายไฟฟ้า และประปา ต่อไป”นายรณชิตกล่าว
สำหรับการก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงช่วงเตาปูน-ท่าพระ นั้น อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการจราจรเนื่องจากปัจจุบัน กทม.กำลังก่อสร้างทางลอดสามแยกไฟฉายและบรมราชชนนี ซึ่งรฟม.ได้ประสานการออกแบบในช่วงดังกล่าวกับกทม.เพื่อใช้พื้นผิวจราจรให้น้อยที่สุด
นายรณชิตกล่าวถึงนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายว่า รฟม.เห็นด้วยในหลักการ เพราะค่าโดยสารที่ต่ำลงจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ให้บริการรถไฟฟ้า 2 ราย คือ บีทีเอสและบีเอ็มซีแอล ซึ่งกำหนดโครงสร้างค่าโดยสารจัดเก็บโดยสะท้อนกับความสามารถในการใช้คืนเงินกู้ ดังนั้นหากไม่กระทบเงินกู้เอกชนคงเห็นด้วย แต่หากรัฐต้องการจัดเก็บ 20 บาททันที ก็อาจต้องหาเงินมาชดเชยส่วนต่างค่าโดยสารที่หายไป แต่ในอนาคตจะมีการเปิดเส้นทางเพิ่มเติม ทั้งสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่และแบริ่ง-สมุทรปราการ) สีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) และสีน้ำเงิน เชื่อมฝั่งธนบุรี ทำให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นสามารถลดส่วนต่างของค่าโดยสารที่รัฐจะเข้าไปชดเชยลงอีก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รฟม.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาการเปลี่ยนการให้สัมปทานบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มาเป็นรูปแบบ ในรูปแบบ PPP Gross Cost ซึ่งรัฐจะเป็นเจ้าของและจ้างเอกชนเดินรถ ซึ่งอีก 7-8 เดือนจึงจะสรุปเสนอรัฐบาลพิจารณาได้
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร มี 5 สัญญาก่อสร้างงานโยธาโดยสัญญาที่ 1 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วงเงิน 11,441 ล้านบาท ITD เป็นผู้รับเหมา ,สัญญาที่ 2 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงสนามไชย-ท่าพระ ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร วงเงิน 10,687 ล้านบาท บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เป็นผู้รับเหมา ,สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างยกระดับ ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ระยะทาง 11 กิโลเมตร และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 1 แห่ง วงเงิน 11,284 ล้านบาทกิจการร่วมค้าเอสเอช-ยูเอ็น (บริษัท ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่นจำกัด (มหาชน)) ผู้รับเหมา , สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างยกระดับ ช่วงท่าพระ-หลักสอง ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง วงเงิน 13,334 ล้านบาท บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมา และสัญญาที่ 5 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบรางทั้งโครงการ วงเงิน 4,999 ล้านบาท CK เป็นผู้รับเหมา
นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติงาน) รักษาการผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร ว่า ขณะนี้ผู้รับเหมาในแต่ละสัญญาได้เข้าพื้นที่ก่อสร้างแล้ว โดยการก่อสร้างมีความคืบหน้าประมาณ 3% ส่วนการเวนคืนที่ดินคืบหน้า 68%
เร็วกว่าแผนกว่า 1% โดยยังมีความกังวลการเวนคืนที่ดินในส่วนของโครงสร้างใต้ดิน 3 จุด คือ วัดมังกรกมลาวา มีจำนวน 55 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำการค้า และยังมีปัญหายื่นฟ้องคัดค้านต่อศาลปกครอง,วังบูรพา 30-40 ราย ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ และอิสรภาพ 20 ราย ซึ่งต้องเร่งทำความเข้าใจกับผู้ถูกเวนคืนเรื่องค่าทดแทน ซึ่งหากสรุปได้เร็วจะสามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับเหมาได้เร็วขึ้น โดยรฟม.ได้รับอนุมัติงบประมาณในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการรวม 5,900 ล้านบาท
ทั้งนี้ การก่อสร้างเส้นทางใต้ดินสัญญาที่ 1 ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วงเงิน 11,441 ล้านบาท บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นผู้รับเหมา บริเวณแยกหัวลำโพง จะต้องมีการเปิดหน้าดิน (Cut& Cover) ลึก 20 เมตร ทำกำแพงกันดินเพื่อหย่อนหัวเจาะอุโมงค์ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเจาะกลางปี 2555 นั้นได้ประสานกับกรุงเทพมหานคร (กทม) ,ตำรวจนครบาล ในการรื้อย้ายสาธารณูปโภค และจัดทำป้ายบอกและเตรียมพื้นที่ก่อสร้างซึ่งจะทำให้ผิวจราจรจาก 4 ช่องเหลือ 3 ช่องจราจรความกว้าง 11.50 เมตร โดยจะปรับรูปแบบจราจรอีกครั้งในเดือนต.ค. 2554 ตามการก่อสร้างที่มีการปรับเปลี่ยนไป ซึ่งรฟม.ได้ให้ผู้รับเหมาติดตั้งป้ายแจ้งเตือนที่สะดุดตาเห็นระยะไกลเพื่อให้เลือกใช้ทางวิ่งได้ถูกต้อง
และตีเส้นทางม้าลายใหม่ให้มีระเบียบมากขึ้น พร้อมกันนี้ทาง ITD ได้จัดเจ้าหน้าที่4 คน เพื่อช่วยตำรวจในการจัดจราจรและให้คำแนะนำกับประชาชนที่สัญจรในบริเวณดังกล่าว
“ITDได้เริ่มเข้าพื้นที่ตั้งแต่ วันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา และได้มีการทดลองจัดจราจร ซึ่งยังไม่มีการร้องเรียนของผู้ใช้รถใช้ถนนในเส้นทางดังกล่าว เนื่องจากได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่ใช้รถในเส้นทางที่จะก่อสร้างทราบตั้งแต่เดือนมิ.ย.แล้ว นอกจากนี้ จะหารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อปรับจุดของปล่องระบายอากาศ เพื่อเลี่ยงบริเวณต้นโพธิ์อายุกว่า
100 ปี ของร.ฟ.ท.ด้วย โดยโครงสร้างใต้ดินจะใช้เวลาก่อสร้างไปจนถึงปี 2558 หลังจากนั้นก็จะเป็นการวางระบบสายไฟฟ้า และประปา ต่อไป”นายรณชิตกล่าว
สำหรับการก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงช่วงเตาปูน-ท่าพระ นั้น อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการจราจรเนื่องจากปัจจุบัน กทม.กำลังก่อสร้างทางลอดสามแยกไฟฉายและบรมราชชนนี ซึ่งรฟม.ได้ประสานการออกแบบในช่วงดังกล่าวกับกทม.เพื่อใช้พื้นผิวจราจรให้น้อยที่สุด
นายรณชิตกล่าวถึงนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายว่า รฟม.เห็นด้วยในหลักการ เพราะค่าโดยสารที่ต่ำลงจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ให้บริการรถไฟฟ้า 2 ราย คือ บีทีเอสและบีเอ็มซีแอล ซึ่งกำหนดโครงสร้างค่าโดยสารจัดเก็บโดยสะท้อนกับความสามารถในการใช้คืนเงินกู้ ดังนั้นหากไม่กระทบเงินกู้เอกชนคงเห็นด้วย แต่หากรัฐต้องการจัดเก็บ 20 บาททันที ก็อาจต้องหาเงินมาชดเชยส่วนต่างค่าโดยสารที่หายไป แต่ในอนาคตจะมีการเปิดเส้นทางเพิ่มเติม ทั้งสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่และแบริ่ง-สมุทรปราการ) สีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) และสีน้ำเงิน เชื่อมฝั่งธนบุรี ทำให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นสามารถลดส่วนต่างของค่าโดยสารที่รัฐจะเข้าไปชดเชยลงอีก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รฟม.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาการเปลี่ยนการให้สัมปทานบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มาเป็นรูปแบบ ในรูปแบบ PPP Gross Cost ซึ่งรัฐจะเป็นเจ้าของและจ้างเอกชนเดินรถ ซึ่งอีก 7-8 เดือนจึงจะสรุปเสนอรัฐบาลพิจารณาได้
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร มี 5 สัญญาก่อสร้างงานโยธาโดยสัญญาที่ 1 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร วงเงิน 11,441 ล้านบาท ITD เป็นผู้รับเหมา ,สัญญาที่ 2 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงสนามไชย-ท่าพระ ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร วงเงิน 10,687 ล้านบาท บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK เป็นผู้รับเหมา ,สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างยกระดับ ช่วงเตาปูน-ท่าพระ ระยะทาง 11 กิโลเมตร และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 1 แห่ง วงเงิน 11,284 ล้านบาทกิจการร่วมค้าเอสเอช-ยูเอ็น (บริษัท ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่นจำกัด (มหาชน)) ผู้รับเหมา , สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างยกระดับ ช่วงท่าพระ-หลักสอง ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร ศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง วงเงิน 13,334 ล้านบาท บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมา และสัญญาที่ 5 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบรางทั้งโครงการ วงเงิน 4,999 ล้านบาท CK เป็นผู้รับเหมา