xs
xsm
sm
md
lg

เริ่มแล้ว ญี่ปุ่นสกัด “แรร์เอิร์ธ” ในเวียดนาม หลังสัมพันธ์จีนขม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>รศ.ยาสุฮิโร กาโตะ (Yasuhiro Kato) แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว แสดงตัวอย่างโคลนที่ประกอบด้วยแรร์เอิร์ธ (Rare Earth) สกัดจากพื้นมหาสมุทรแปซิฟิกในความลึก 4,000 เมตร ภาพถ่ายในห้องทดลองของนายกาโตะในกรุงโตเกียววันที่ 5 ก.ค.2554 นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นกล่าวว่า มีแรร์เอิร์ธปริมาณมหาศาลอยู่บนพื้นมหาสมุทร แต่การผลิตในความลึกขนาดนั้นต้องลงทุนสูงมาก กลุ่มประเทศผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีสูงเริ่มออกควานหา ธาตุหายาก กว่า 10 ชนิดจากแหล่งอื่นๆ หลังจากจีนประกาศลดการส่งออกในปี 2553 และ เวียดนามก็เป็นอีกความหวังหนึ่ง. -- REUTERS/Yuriko Nakao. </b>
 

ASTVผู้จัดการออนไลน์ --  บริษัท ชิน-เอะสึเคมี (Shin-Etsu Chemical Co) แห่งญี่ปุ่นประกาศเข้าลงทุนในเวียดนามเพื่อผลิตธาตุหายาก หรือ “แรร์เอิร์ธ” (Rare Earth) ที่จำเป็นยิ่งยวดในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และกำลังจะเป็นการลงมือปฏิบัติครั้งแรก นับตั้งแต่เวียดนาม-ญี่ปุ่น ได้เซ็นความตกลงในเรื่องนี้ในเดือน ต.ค.2553 ระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการโดยอดีตนายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง (Naoto Kan)

นั่นคือช่วงเดือนแห่งความสัมพันธ์กับจีนที่กำลังเสื่อมทรามสุดขีด และจีนซึ่งเป็นแหล่งผลิตแรร์เอิร์ธใหญ่ที่สุดกว่า 90% ของโลกประกาศ “ลด” การส่งออกธาตุหายากเหล่านั้น ทำให้ญี่ปุ่นต้องดิ้นรนหาแหล่งอื่น และ เวียดนามคาดว่าจะมีธาตุกลุ่มนี้อยู่ระหว่าง 17-30 ล้านตัน

ชินเอะสึจะเข้าลงทุนใน 2 แขนง โดยจัดตั้ง 2 บริษัทลูกขึ้นในเวียดนาม รวมเงินลงทุน 5,000 ล้านเยน หรือ 64 ล้านดอลลาร์ สำหรับโรงงานผลิตวัสดุอุปกรณ์จากซิลิโคนเพื่อใช้กับไฟแอลอีดี (LED) ที่ให้ความสว่างสูง กับโรงงานอีกแห่งหนึ่งในนครหายฝ่อง (Hải Phòng) เพื่อสกัดแรร์เอิร์ธ สำนักข่าววีเอ็นเอของทางการรายงาน

บริษัท ชิน-เอะสึ กล่าวในคำแถลงที่ออกในสัปดาห์นี้ ว่า บริษัท ชิน-เอะสึแม็กเนติก มิเนอรัลส์ เวียดนาม (Shin-Etsu Magnetic Materials Vietnam) จะสกัดธาตุหายากในโรงงานเนื้อที่ 80,000 ตารางเมตรที่สวนอุตสาหกรรมดี่งหวู (Đình Vũ) ในนครแห่งท่าเรือใหญ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเวียดนาม

ส่วนโรงงานผลิตวัสดุซิลิโคนขนาด 50,000 ตร.ม.มูลค่า 3,000 ล้านเยน จะสร้างขึ้นในสวนอุตสาหกรรมทังลอง 2 (Thăng Long 2) จ.ฮึงเอียน (Hưng Yên) ในภาคเหนือเวียดนามเช่นกัน
.
<bR><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่กำลังเดินผ่านโรงงานสกัดแรร์เอิร์ธของบริษัทลีนาสคอร์ป (Lynas Corp) ในเกเบง (Gebeng) รัฐปะหัง (Pahang) ราว 270 กม.ทางทิศเหนือของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในภาพวันที่ 29 มิ.ย.2554 มาเลเซียถูกกดดันจากกลุ่มอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้พิสูจน์ว่า โรงงานสกัดธาตุหายากแห่งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบด้านกำมันตะรังสีและไม่เป็นภัยต่อสภาพแวดล้อม แรร์เอิร์ธเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญยิ่งยวดสำหรับอุตสาหกรรมไฮเทคต่างๆ. --  REUTERS/Samsul Said. </b>
.
โรงงานมูลค่า 2,000 ล้านเยน ในนครหายฝ่องจะสกัดแรร์เอิร์ธ 1,000 ตันต่อปี จะเป็นโรงงานที่อยู่นอกประเทศญี่ปุ่นแห่งแรกของบริษัท มีกำหนดเดินเครื่องในเดือน ก.พ.2556 หรืออีก 1 ปีข้างหน้า การสกัดธาตุหายากในเวียดนามจะช่วยลดการพึ่งพาแหล่งวัตถุดิบจากจีนลง คำแถลงของชิน-เอะสึ ระบุ

หลังจากจีนลดการส่งออกธาตุหายากกว่า 10 ชนิด ในปี 2553 เวียดนามได้กลายเป็นแหล่งพึ่งพาแห่งใหม่ของประเทศผู้ผลิตสินค้าไฮเทคต่างๆ รวมทั้งญี่ปุ่นและสหรัฐฯ

ในเดือน ต.ค.ปีเดียวกัน ญี่ปุ่นได้เซ็นสัญญาพันธมิตรยุทธศาสตร์กับเวียดนาม และ อดีตนายกฯ คัง ให้สัมภาษณ์ครั้งนั้น ว่า เวียดนามเลือกญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนในการผลิตธาตุล้ำค่ากลุ่มนี้

แรร์เอิร์ธเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะขาดมิได้ในการผลิตอุปกรณ์เลเซอร์ต่างๆ ตัวนำยิ่งยวดหรือซูเปอร์คอนดักเตอร์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในรถยนต์เกือบทั้งหมดด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น