xs
xsm
sm
md
lg

จีน-ลาวรำลึกสัมพันธ์หวานชื่น ยุคก่อน “ไกสอน” ซุกหลังม่านเหล็ก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นายไซสมพอน พมวิหาน (กลาง) รองประธานสภาแห่งชาติ บุตรชายอดีตผู้นำสูงสุดที่เคยหันเปลี่ยนให้ลาวเป็นศัตรูกับจีนและเวลาต่อมาได้ไปเยือนจีนเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ให้เป็นปรกติอีกครั้งหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็น เป็นประธานเปิดตัวหนังสือมิตรภาพลาว-จีน ในวันเสาร์ 24 ธ.ค.2554 ร่วมกับผู้แทนฝ่ายจีนจากมณฑลกว่างซี.-- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.  </b>
นำเสนอครั้งแรกเวลา 09.32 น.29 ธันวาคม 2554 เพิ่มเติมเนื้อหาและรูปประกอบ เวลา 12.35 น.29 ธันวาคม 2554

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- จีนและลาวได้ร่วมกันแนะนำหนังสือประวัติศาสตร์มิตรภาพความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในช่วงทศวรรษที่ 1970 อันเป็นช่วงที่ความสัมพันธ์สองฝ่ายยังหวานชื่น ก่อนจะกลายมาเป็นคอมมิวนิสต์ต่างอุดมการณ์ และเป็นศัตรูกันข้ามทศวรรษตลอดช่วงปลายแห่งสงครามเย็น เมื่อคอมมิวนิสต์ลาวเลือกเข้าข้างเวียดนามที่ได้รับการสนับสนุนจากค่ายคอมมิวนิสต์ใหญ่ที่นำโดยอดีตสหภาพโซเวียต

“หนังสือมิตรภาพจีน-ลาว” ได้บอกเล่าประวัติศาสตร์ช่วงปี 1967-1975 พร้อมรูปภาพประกอบที่จีนให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว โดยเปิดโรงเรียนถึง 67 แห่งขึ้นในนครหนานหนิง มณฑลกว่างซี สอนเด็กๆ ชาวลาว 1,000 คน สื่อของทางการกล่าว

นั่นคือ ช่วงปีที่คอมมิวนิสต์จีนทุ่มความช่วยเหลืออย่างรอบด้านให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์ในย่านเอเชีย ที่กำลังทำสงครามประชาชนช่วงชิงอำนาจรัฐ รวมทั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยด้วย

พิธีแนะนำ “หนังสือมิตรภาพ” ดังกล่าว จัดขึ้นในนครเวียงจันทน์วันเสาร์ 24 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดย ดร.ไซสมพอน พมวิหาน รองประธานสภาแห่งชาติ กับนายทองสา ปันยาสิด รองประธานสถาบันวิทยาศาสตร์สังคมแห่งชาติ เป็นตัวแทนร่วมกับนายหวงมิงจู หัวหน้ากรมเอกสาร มณฑลกว่างซี ซึ่งเป็นบรรณาธิการใหญ่ในการจัดทำ

หนังสือดังกล่าว “เป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันถึงสายสัมพันธ์มิตรภาพลาว-จีน จีน-ลาว อันมีมาแต่เนิ่นนานเพื่อให้ลูกหลานรุ่นสืบทอดได้ศึกษา” หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่ของทางการนครเวียงจันทน์รายงาน

เพียงไม่นานหลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจการปกครองในคาบสมุทรอินโดจีน ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์ใหญ่แห่งเอเชีย กับคอมมิวนิสต์ลาว และคอมมิวนิสต์เวียดนาม ก็เริ่มระหองระแหง เมื่อผู้นำในสองประเทศนี้หันไปสนิทชิดเชื้อเป็นพิเศษกับอดีตสหภาพโซเวียต ผู้นำคอมมิวนิสต์ยุโรปตะวันออกที่คอมมิวนิสต์จีนเรียกว่า “พวกลัทธิแก้”

การแตกหักเกิดขึ้นในปลายปี 2521-ต้นปี 2522 เมื่อเวียดนามส่งทหารนับแสนๆ คนข้ามพรมแดนเข้าขับไล่รัฐบาลเขมรแดงกลุ่มโปลโป้ท เอียงสารี เคียวสมพร ที่จีนหนุนหลังออกจากกรุงพนมเปญ ตั้งเขมรแดงกลุ่มเฮงสัมริน เจียซิม กับฮุนเซนขึ้นครองอำนาจแทน และจีนได้ตัดความช่วยเหลือที่ให้แก่ลาวและเวียดนามทั้งหมด รวมทั้งการสร้างถนนจากด่านบ่อเต็นไปเชื่อมกับนครเวียงจันทน์ที่ยังไม่แล้วเสร็จ และการก่อสร้างทางรถไฟในภาคเหนือเวียดนามอีกด้วย

ต่อมาในกลางเดือน ก.พ.ปีเดียวกัน จีนส่งทหารหลายหมื่นคนข้ามพรมแดนเข้าภาคเหนือเวียดนามเพื่อทำ “สงครามสั่งสอน” สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาวและสำนักข่าวของทางการลาวได้รายงานใน่ช่วงนั้นกล่าวหาว่า จีนยิงปืนใหญ่ถล่มแขวงภาคเหนือของลาวหลายบริเวณเช่นกัน
สัมพันธ์ระหว่างสหายศึก The Vientiane Mai Newspaper
ปีนี้มีการชำระประวัติศาสตร์ลาว-เวียดนามเช่นกัน หลังจากผ่านการประชุมสัมมนาค้นคว้าหลายรอบ สองฝ่ายได้ร่วมกันตีพิมพ์เป็นหนังสือบอกเล่าประวัติความสัมพันธ์ในช่วงปี 1930-2007 ฝ่ายเวียดนามนำโดยนายเจืองเติ๋นซาง (Trương Tấn Sang) กรมการเมืองอาวุโสซึ่งต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ฝ่ายลาวนำโดย พล.ท.สะหมาน วิยะเกด กรมการเมืองอาวุโส อดีตผู้ชี้นำงานทฤษฎีและวัฒนธรรมของพรรค มี “ทหารอาสาเวียดนาม” เสียสละชีวิตในลาวนับหมื่นคนในช่วงปีแห่งสงครามเพื่อเอกราช และ “สงครามสหรัฐฯ” การค้นหาผู้เสียชีวิตยังดำเนินมาถึงทุกวันนี้ ถ้าหากประวัติศาสตร์จีน-ลาวบอกเล่า “ความสัมพันธ์มิตรภาพ” ประวัติศาสตร์ลาว-เวียดนาม ก็เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสหายร่วมรบ (Comrades in Arms)

<br><FONT color=#000033>พล.ท.สะหมาน วิยะเกิด อดีตกรมการเมืองอาวุโส-ผู้ชี้นำงานทฤษฎีและวัฒนธรรม ( 2 จากซ้าย) กับนายเจืองเติ๋นซาง (Trương Tấn Sang) -- 3 จากซ้าย -- กรมการเมืองอาวุโส กรรมการประจำคณะเลขาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับนายโตฮวีเหรือ (Tô Huy Rứa) -- 2 จากขวา --กรมการเมือง หัวหน้าคณะกรรมการจัดตั้งศูนย์กลางพรรค หัวหน้าคณะเรียบเรียงประวัติศาสตร์ฝ่ายเวียดนาม กับนายบุนยัง วอละจิต -- 3 จากขวา-- กรมการเมืองอาวุโส ประธานคณะเลขาธิการกลางพรรค รองประธานประเทศ ในพิธีแถลงข่าวการเรียบเรียงระวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ลาว-เวียดนาม (1930-2007) ที่จัดขึ้นในนครเวียงจันทน์เดือน มิ.ย.2554 มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก.-- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่. </b>
2

3

4
นั่นเป็นช่วงปีที่ยังมี “ทหารอาสาเวียดนาม” กับผู้เชี่ยวชาญหลายหมื่นคนประจำการอยู่ในลาว

จีนกับลาวเป็นศัตรูกันตลอดช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 และตลอดทศวรรษที่ 1980 สื่อของทางการลาวยังคงรายงานเหตุการณ์ที่จีนยิงปืนใหญ่ถล่มภาคเหนือลาวเป็นระยะๆ ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว

ความตึงเครียดหายไปเมื่อถึงกาลล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 2534 ทำให้เวียดนามกับคอมมิวนิสต์ลาวที่เศรษฐกิจยังอ่อนด้อยหวาดผวาภัยจากการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติแบบสหภาพโซเวียตที่นำโดย นายมิคาอิล โกบาชอบ และหันไปหาทางคืนดีกับคอมมิวนิสต์จีนอีกครั้งและเข้าหาทางเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียนในขณะเดียวกัน

สถานการณ์ยังบังคับให้รัฐบาลฮุนเซนต้องหันไปเจรจาสันติภาพอย่างจริงจังกับรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย ที่มีอดีตเจ้านโรดมสีหนุเป็นผู้นำ และมีกลุ่มอำนาจเขมรแดงที่ถูกขับไล่จากกรุงพนมเปญเป็นแกนนำ การเจรจาหลายครั้งได้นำไปสู่การเซ็นสัญญาสันติภาพกรุงปารีส ในเดือน ต.ค.2534 และ คอมมิวนิสต์กัมพูชาเริ่มเข้าสู่ยุคสันติ นำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปภายใต้อำนวยการของสหประชาชาติในปี 2536

แต่ฐานะการเป็นกลุ่ม “สามชาติอินโดจีน” เวียดนาม ลาวและกัมพชา ก็ยังดำรงอยู่

สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปในช่วงทศวรรษที่ 1990 ทำให้อดีตประธานไกสอน พมวิหาน ผู้นำสูงสุดของลาวต้องหาจังหวะเดินทางไปเยือนจีน เป็นการสานต่อความสัมพันธ์สองฝ่าย นำมาสู่การแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงอีกหลายคณะ

ความสัมพันธ์จีนลาวพัฒนามาอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่นั้น ปัจจุบันจีนได้กลับมาเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือรายใหญ่ที่สุดสำหรับลาวอีกครั้งหนึ่ง รวมเป็นทั้งยังเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับต้นๆ ในประเทศนี้อีกด้วย.
เหลียวหลังมองหน้า ASTVผู้จัดการออนไลน์
ภาพถ่ายจากหนังสือครบรอบปีที่ 50 กองทัพประชาชนลาว (1949-1999) ตีพิมพ์โดยกระทรวงป้องกันประเทศ ยานเกราะกับทหารราบของฝ่ายคอมมิวนิสต์ลาวตีโต้ข้าศึก ใน “ยุทธภูมิกู้เกียรติเชียงขวาง” ปืนใหญ่ (มุมล่างขวา) กำลังระดมยิง มีนักรบ "เอื้อยน้อง" ลำเลียงอาวุธสู่แนวหน้า ในช่วงปีที่สหรัฐฯ กับรัฐบาลเวียงจันทน์หวังเข้ากวาดล้างฝ่ายปฏิวัติให้สิ้นซาก ยังไม่ทราบในรายละเอียดว่าใน “ปื้มปะหวัดสาด” ลาว-เวียดนามที่ตีพิมพ์ขึ้นมาในปีนี้ กล่าวถึงอดีตในช่วงนี้อย่างไรบ้าง อย่างน้อยที่สุดอาวุธจำนวนมหาศาลที่ฝ่ายปะเทดลาวกับคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือใช้ในการสู้รบกับสหรัฐฯ นั้น เป็นความช่วยเหลือจากจีน.


5

6
กำลังโหลดความคิดเห็น