xs
xsm
sm
md
lg

เทศมองลาว...ผู้เชี่ยวชาญกังวลกำลังถูกทุนต่างชาติกลืนกิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 11 พ.ค. รถยนต์เรียงแถวผ่านด่านตรวจข้ามพรมแดนในฝั่งลาวที่เมืองบ่อเต็น ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จีนเช่าไว้ ในแขวงหลวงน้ำทา ทางเหนือของประเทศ ในปัจจุบันลาวยังคงพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติ ขณะเดียวกันก็ได้ประโยชน์จากการลงทุนจำนวนมหาศาลจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งจีนและเวียดนาม.--AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </font></b>

เอเอฟพี - กาสิโนบ่อเต็นเต็มไปด้วยภาษาจีน เงินหยวน และเวลาที่ถูกตั้งให้ตรงกับกรุงปักกิ่ง แต่กาสิโนแห่งนี้ตั้งอยู่ในลาว ประเทศยากจนที่กำลังถูกบุกรุกด้วยการลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ และกำลังพยายามที่จะกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา กาสิโนและโรงแรมสีสันสดใสหลายแห่งถูกพัฒนาขึ้นในเมืองบ่อเต็น ตัดกับฉากหลังที่เป็นภูเขา ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากพรมแดนจีนเท่าใดนัก

ชาวลาวไม่ได้รับการต้อนรับที่ดีนักจากเมืองใหม่แห่งนี้ที่อยู่ในความควบคุมของจีน ที่แม้จะอยู่ห่างไกลแต่ก็แสดงให้เห็นถึงการปรากฏตัวอย่างกว้างขวางของจีนในประเทศที่มีประชากรประมาณ 6 ล้านคน และไม่มีทางออกสู่ทะเล ทั้งนี้ โครงการของจีนหลายอย่างเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ เช่น เหมือง เขื่อน รถไฟความเร็วสูง และเกษตรกรรม ซึ่งสร้างความวิตกกังวลให้กับประเทศเล็กๆ แห่งนี้

“การปรากฏตัวของจีนในทุกภาคส่วนเริ่มเป็นประเด็นสนทนาของชาวลาวเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นที่ชัดเจนมากขึ้นและดูอันตรายมากขึ้น” ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติในลาว กล่าว

นายโดมินิค ฟาน เดอโบท์ จากองค์กรการกุศลออกซ์แฟม สำนักงานนครเวียงจันทน์ ระบุว่า จีน เวียดนาม และ ไทย ใช้ลาวเป็นส่วนขยายเขตแดนของตนเอง และการพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติอย่างยาวนาน ทำให้ในตอนนี้ลาวเป็นแหล่งลงทุนจากต่างชาติจำนวนมาก

ตามสถิติของทางการลาว ระบุว่า เม็ดเงินลงทุนที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 51 ล้านดอลลาร์ ในปี 2544 เป็น 13,600 ล้านดอลลาร์ ในปี 2553 แค่เฉพาะจากประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 3 ประเทศ ก็มีการลงทุนรวมแล้ว 8,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อปีที่แล้ว

ตัวเลขการลงทุนดังกล่าวคาดว่าสูงกว่าที่รายงานหลังมีการประกาศโครงการลงทุนใหม่ๆ ในลาว ซึ่งรวมถึงโครงการทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศบ่อเต็น-เวียงจันทน์ ที่มีมูลค่าการก่อสร้างถึง 7,000 ล้านดอลลาร์ โดยได้รับการสนับสนุนเงินจำนวนมากจากจีน แม้ว่าโครงการยังไม่เริ่มก่อสร้างแต่ได้กำหนดให้เสร็จสมบูรณ์ในปี 2558

ลาว ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง น่าจะรู้สึกยินดีกับการลงทุนครั้งนี้ แต่ นางริโอ พอลส์ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรภาคเอกชนระหว่างประเทศ INGO ที่ทำงานร่วมกับองค์กรช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมากกว่า 70 แห่งในลาว แสดงความวิตกเกี่ยวกับความสามารถของรัฐบาลที่จะจัดการเม็ดเงินปริมาณมหาศาลเช่นนี้ได้อย่างเหมาะสม
.
<br><FONT color=#000033>ชาวเขาเผ่าม้งเดินผ่านหน้าโรงแรมสร้างใหม่ในเมืองบ่อเต็น ที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จีนเช่าไว้ โดยผู้เชี่ยวชาญต่างชาติวิตกว่าการลงทุนของต่างชาติในลาวที่มากขึ้นและกระจายอยู่ในหลายภาพส่วนอาจส่งผลกระทบกับประชาชนหากไม่มีการจัดสรรและควบคุมที่ดี .--AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </font></b>
“พวกเขายังไม่มีความสามารถในตอนนี้ที่จะตรวจสอบว่าการลงทุนแต่ละโครงการเป็นการลงทุนที่มีคุณภาพหรือไม่” นางพอลส์ กล่าว

เศรษฐกิจของลาวขยายตัวเฉลี่ย 7.9% ในระหว่างปี 2549-2553 เนื่องมาจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ ไม่ใช่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรม

รายงานของธนาคารโลก ระบุว่า ป่าไม้ พื้นที่ทางการเกษตร แหล่งน้ำ และเขื่อนไฟฟ้า และแหล่งแร่ มีมูลค่ารวมเกินกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของประเทศ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ควรให้ความใส่ใจกับทรัพยากรเหล่านี้

ผู้เชี่ยวชาญบางคนกังวลว่า ลาวที่เป็นประเทศสังคมชนบทและประชาชนยังคงพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้และแหล่งน้ำของชาติ จะได้รับผลกระทบจากการเติบโตของประเทศ

นางพอลส์ กล่าวว่า เป้าหมายของลาว คือ พ้นจากสถานะการเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุดภายในปี 2563 อาจส่งผลกระทบบางอย่าง แต่ขณะเดียวกัน ต้องให้แน่ใจว่าการลงทุนที่เกิดขึ้นนั้นมีคุณภาพและเป็นประโยชน์แก่ประชากรทั้งหมด

นักวิเคราะห์บางคน กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2563 เนื่องจากในการประชุมใหญ่ผู้แทนทั่วประเทศในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา พรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ ได้ยืนยันเป้าหมายที่จะหลุดพ้นจากสถานะการเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

“เป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เมื่อดูจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้” นายวัดทะนา พนเสนา จากสถาบันวิจัย Irasec ในสิงคโปร์กล่าว พร้อมชี้ว่าประเด็นไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจแต่ต้องกระจายรายได้ไปอย่างเท่าเทียมด้วย ขณะเดียวกัน ธนาคารโลกก็กระตุ้นให้ลาวพึ่งทรัพยากรในประเทศ แต่ต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ

ธนาคารโลกระบุในรายงานฉบับล่าสุด ว่า ด้วยการจัดลำดับความสำคัญทางเศรษฐกิจมหภาคและการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของลาวสามารถช่วยให้ประเทศเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืน และลดปัญหาความยากจน

เจ้าหน้าที่ของลาวจำเป็นต้องหาหนทางในการควบคุมการลงทุนโดยที่ไม่ปิดโอกาสด้วย พวกเขาจำเป็นต้องยอมรับว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อสังคมเช่นกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น