xs
xsm
sm
md
lg

ลาวกรุยทางรถหัวกระสุน เริ่มอพยพคนออกจากพื้นที่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 11 มี.ค. 2554 คนงานชาวจีนกำลังใช้เครื่องมือขุดเจาะนำดินไปวิเคราะห์เพื่อเตรียมการสำหรับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างจีนมายังลาวที่หมู่บ้านบ่อเปียด ในแขวงหลวงน้ำทา ภาคเหนือของลาว ประชาชนในหมู่บ้านแห่งนี้ต้องย้ายที่อยู่เพราะอยู่ในเส้นทางแผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง.--AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </b>

เอเอฟพี - ชาวลาวในชุมชนบ่อเปียด มีเหตุผลที่จะไม่พอใจคนงานชาวจีนที่กำลังทำงานขุดเจาะอยู่กลางหมู่บ้านของพวกเขาในแถบภูเขาทางเหนือของลาว เนื่องจากชาวบ้านหลายพันคนถูกสั่งให้ย้ายออก เพราะบ้านของพวกเขาตั้งอยู่บ้านเส้นทางในแผนก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงที่ได้ทุนสนับสนุนการก่อสร้างจากรัฐบาลจีน ที่จะตัดผ่านประเทศลาวจากพรมแดนติดกับจีนมุ่งไปยังเวียงจันทน์

ชาวบ้านรายหนึ่งกล่าวว่า รถไฟกำลังจะมาถึงหมู่บ้านแห่งนี้ แต่ชาวบ้านรู้สึกไม่พอใจและไม่ต้องการย้ายที่อยู่อีก เพราะจะกลายเป็นการบ้ายที่อยู่อาศัยเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 6 ปี ที่ชาวบ้านเหล่านี้ต้องสละหมู่บ้าน หลังเคยย้ายที่อยู่เพื่อเปิดทางให้กับการก่อสร้างกาสิโนของจีนเมื่อปี 2548

เส้นทางรถไฟบ่อเต็น-เวียงจันทน์ จะเป็นทางรถไฟสายแรกในลาว นอกเหนือไปจากเส้นทางระยะสั้นที่อยู่บริเวณพรมแดนไทย และเพียงแค่การเชื่อมอีกหนึ่งสายที่จะทำให้เครือข่ายทางรถไฟทั้งหมดเชื่อมต่อจากเมืองคุนหมิง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ไปยังสิงคโปร์

คนงานวุ่นอยู่กับการเตรียมเส้นทางสำหรับสร้างรางรถไฟ ขณะที่ประชาชนในท้องถิ่นยังไม่ทราบว่าจะย้ายไปอยู่ที่ใด หรือควรได้รับเงินชดเชยเท่าใดสำหรับบ้านที่ต้องเสียไปเพราะการก่อสร้างครั้งนี้

"เราต้องย้ายอีกครั้งในเดือนเมษายนและไม่รู้ว่าจะไปที่ใด เราไม่มีที่อยู่ที่ใหม่" นางเบากล่าว

แม่ลูกสามรายนี้ต้องย้ายออกจากบ้านหลังเดิมของตัวเองเมื่อ 2548 เมื่อรัฐบาลลาวอนุญาตให้บริษัทจากจีนก่อสร้างโรงแรมและกาสิโนใกล้กับเมืองบ่อเต็น แต่หมู่บ้านแห่งใหม่อยู่ไกลจากถนนสายหลัก ดังนั้นชุมชนจึงย้ายอีกครั้งในปี 2551 มายังที่ตั้งในปัจจุบัน ที่ห่างจากพรมแดนจีนประมาณ 10 กม. ตามถนนที่มุ่งไปยังเมืองหลวงน้ำทา เมืองหลวงของแขวงในชื่อเดียวกัน

"ทุกคนที่นี่รู้สึกมีความสุขกับที่อยู่ใหม่ เราชอบมากกว่าที่เก่าและบ้านก็สร้างจากอิฐไม่ใช่ไม้แบบเดิม" คำตุน ผู้สูงอายุของชุมชนบ่อเปียด กล่าว

ในปี 2548 รัฐบาลลาวให้เงินชดเชยครอบครัวละประมาณ 5-7 ล้านกีบ (610-850 ดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับการสูญเสียพื้นที่เกษตรและอนุญาตให้พวกเขาสร้างบ้านหลังใหม่ แต่ตอนนี้ชาวลาวจำนวนมากพบว่าตัวเองอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเพราะถูกบังคับให้ย้ายที่อยู่จากทั้งการก่อสร้างถนน เหมือง หรือเขื่อน ที่ได้รับเงินทุนจากจีนหรือเวียดนาม โดยผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติระบุว่า ชาวบ้านเหล่านี้ไม่มีโอกาสที่จะปฏิเสธ ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะมีปัญหา

นายโอลิเวเอร์ เอฟราร์ (Olivier Evrard) นักมานุษยวิทยาจากสถาบันเพื่อการพัฒนางานวิจัยของฝรั่งเศสระบุว่า การบังคับย้ายที่อยู่เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากกระบวนการการเจรจาต่อรองระหว่างหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ และขนาดของผลกระทบจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เหล่านี้ถือเป็นสิ่งเล็กน้อย เมื่อเทียบกับหมู่บ้านที่อยู่บนภูเขามากกว่า 50% หายไปในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาผ่านโครงการตั้งถิ่นฐานใหม่ของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยุติการทำไร่เลื่อนลอย แต่โครงการรถไฟที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันนี้ อาจมีผลกระทบทางสังคมกับบางหมู่บ้าน ซึ่งนายเอฟราร์คาดการณ์ว่าหมู่บ้านบ่อเปียด เป็นกรณีที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

สื่อของทางการลาวระบุว่า การก่อสร้างเส้นทางรถไฟความยาว 421 กิโลเมตร ไปยังเวียงจันทน์ ต้องใช้งบประมาณราว 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่รวมถึงการก่อสร้างสะพาน 165 แห่ง และอุโมงค์ 69 แห่ง ที่ต้องเริ่มลงมือก่อสร้างในเดือนเมษายนเพื่อให้เส้นทางรถไฟสายนี้สามารถเปิดใช้งานได้ในปี 2558

"พวกเขามักฝันถึงรถไฟ เพราะพวกเขารู้สึกไม่ดีนักที่ลาวและภูฏาน เป็นสองประเทศในภูมิภาคที่ยังไม่มีทางรถไฟ" นายเหล็ก บุนวาด ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำลาว กล่าว และว่าลาวมีความกระตือรือร้นอย่างมากต่อโครงการ แต่รู้สึกเสียใจที่ไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบของโครงการต่อสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความยินดีเกิดขึ้นกับเส้นทางรถไฟสายใหม่เช่นนางคำยู้ หนึ่งในชาวบ้านที่อยู่ตามเส้นทางรถไฟกล่าวว่า เธอรู้สึกตื่นเต้นกับรถไฟ แม้ว่าบ้านและร้านค้าของเธอในหมู่บ้านนายเตย จะอยู่บนเส้นทางของแผนก่อสร้างก็ตาม และว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะมีรถไฟ เพราะไม่เคยเห็นรถไฟมาก่อน และเธอวางแผนที่จะย้ายบ้านให้ห่างจากรางรถไฟออกมาอีกไม่กี่ร้อยเมตร และว่าหากรถไฟมา เธอก็สามารถขายของให้กับผู้โดยสารได้

แต่นายเอฟราร์กล่าวว่าเป็นไปได้ที่ผู้โดยสารส่วนมากจะเป็นชาวจีนและชาวบ้านส่วนใหญ่ดูรถไฟพวกนี้วิ่งผ่าน
<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 11 มี.ค. 2554  คนงานจีนช่วยกันควบคุมเครื่องขุดเจาะเพื่อนำดินไปวิเคราะห์ สำหรับโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเส้นทางบ่อเต็น-เวียงจันทน์ ที่มีระยะทางประมาณ 421 กิโลเมตร.--AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </font></b>
<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 11 มี.ค. 2554 เครื่องขุดเจาะดินถูกตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ ในหมู่บ้านทางเหนือของแขวงหลวงน้ำทา เพื่อนำดินในพื้นที่ไปวิเคราะห์เตรียมการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อจีน ชาวบ้านหลายพันคนถูกสั่งให้ย้ายออกจากพื้นที่เนื่องจากบ้านของพวกเขาตั้งอยู่บนแผนการก่อสร้างเส้นทางดังกล่าว.--AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </font></b>
<bR><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 11 มี.ค. 2554 รถบรรทุกไม้แล่นผ่านหลักกิโลเมตรซึ่่งบ่งบอกว่าด่านชายแดนบ่อเต็น-บ่อหาน จุดเริ่มต้นของรถไฟความเร็วสูงจีนในลาวอยู่หางออกไปอีกแค่ 9 กม. ตามทางหลวงเลข 13 เหนือ ไม่ว่าใครจะทำรถไฟที่แล่นเร็วสักปานใดก็ตาม ชาวลาวในพื้นที่ก็จะยังใช้พาหนะเดิมๆ ต่อไปอีกนาน.--AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </b>
<bR><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 13 มี.ค. 2554 ชาวลาวในหมู่บ้านมองเครื่องขุดเจาะที่นำไปใช้เพื่อเตรียมความพร้อมในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเส้นทางบ่อเต็น-เวียงจันทน์.--AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </b>
กำลังโหลดความคิดเห็น