xs
xsm
sm
md
lg

VietJet Air โลว์คอสต์เอกชนเวียดนาม เหินฟ้าเดือนนี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>นายโรเบิร์ต ฮิวจ์ กรรมการผู้อำนวยการบริษัทสายการบินร่วมทุนเวียดเจ็ทแอร์ ประกาศแนะนำตัวเองตั้งแต่เดือน ธ.ค.2550 ผ่านการระดมทุนระดมความคิดมา 3 ปีเศษ บัดนี้จะได้ขึ้นฟ้าเสียที โดยถือเอาฤกษ์ดี 25 ธ.ค.ศกนี้ เป็นสายการบินแบบต้นทุนต่ำแห่งที่ 2 ในเวียดนาม เวียดเจ็ทฯ มีแผนการจะบินมายังประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านแถบนีhเช่นกัน รอลุ้นกันอีกทีปีหน้า.--  AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- หลังจากความพยายามร่วมทุนกับสายการบินแอร์เอเชียแห่งมาเลเซียไม่ประสบความสำเร็จ สายการบินเวียดเจ็ทแอร์ (VietJet Air) ซึ่งเอกชนถือหุ้น 100% ประกาศเอาฤกษ์วันคริสต์มาสเหินฟ้า เปิดเส้นทางโฮจิมินห์-ฮานอย ด้วยค่าบริการต่ำสุดในช่วงโปรโมชั่นเพียง 5 ดอลลาร์ (ราว 500,000 ด่ง) กลายเป็นสายการบินแบบต้นทุนต่ำแห่งที่ 2

เวียดเจ็ทฯ จะให้บริการในชั้นแรก 4 เที่ยวต่อสัปดาห์ด้วยเครื่องบนเช่าแอร์บัส A-320 และ หวังจะเพิ่มเป็น 14 เที่ยวในต้นปีหน้าเมื่อได้รับเครื่องบินเพิ่มขึ้น พร้อมขยายไปยังเส้นทางอื่นๆ รวมทั้งโฮจิมินห์-ด่าหนัง ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวซเวินจี๊ สำนักข่าวออนไลน์ภาษาเวียดนามยอดนิยม

ตั๋วโปรโมชันราคาถูกนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค.2554 จนถึง 30 เม.ย.2555 สำนักข่าวแห่งเดียวกันกล่าว

สายการบินใหม่นี้ยังประกาศแผนการบินเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคนี้ เป็นขั้นต่อไปอีกด้วย

เวียดเจ็ทแอร์เป็นสายการบินเอกชนแห่งแรกที่ได้รับใบอนุญาต แต่ไม่สามารถขึ้นบินได้ตลอด 3 ปีมานี้ ขณะเดียวกันก็เริ่มเจรจาเพื่อร่วมทุนกับแอร์เอเชีย สายการบินต้นทุนต่ำรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม ทางการไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย AirAsia บนเครื่องของเวียดเจ็ท เนื่องจากถือว่าเป็นสายการบินของเวียดนาม ซึ่งแอร์เอเชีย กล่าวว่า จะทำให้การทำตลาดของสายการบินร่วมทุนมีความเสี่ยง สื่อออนไลน์กล่าว

อย่างไรก็ตาม วงในกล่าวว่าทางการเวียดนาไม่ประสงค์จะให้แอร์เอเชียใช้นครโฮจิมินห์เป็นศูนย์กลางการบินต้นทุนต่ำโดยผ่านเวียดเจ็ทฯ

สายการบินจากมาเลเซียประกาศแผนการก่อนหน้านี้ ว่า “เวียดเจ็ท แอร์เอเชีย” จะใช้ที่นั่นบินเข้าสู่จีน ฮ่องกงและอีกหลายปลายทาง ซึ่งการใช้เวียดนามที่มีประชากร 87 ล้านคน เป็นฐานการให้บริการนั้นเป็นที่ปรารถนาของแอร์เอเชียมาตลอด

การประกาศเหินฟ้าของเวียดเจ็ทแอร์ยังมีขึ้นเพียงข้ามวันหลังจากสายการบินเวียดนามตกลงซื้อสายการบินเจ็ทสตาร์แปซิฟิก เพื่อเป็นสายการบินต้นทุนต่ำของสายการบินแห่งชาติ

เวียดนามแอร์ไลนส์ซื้อหุ้นทั้ง 70% ที่กระทรวงการคลังถืออยู่ในเจ็ทสตาร์แปซิฟิก ส่วนอีก 27% เป็นหุ้นของสารการบินแควนตัสจากออสเตรเลีย

แม้จะเปิดให้บริการมาหลายปีแล้วก็ตาม แต่ เจ็ทสตาร์แปซิฟิกยังขาดทุนต่อเนื่อง ผู้บริหารกล่าวว่าเป็นเพราะไม่สามารถบินเส้นทางสำคัญที่ผูกขาดโดยสายการบินแห่งชาติได้

ขณะเดียวกัน สัปดาห์ที่แล้วคณะกรรมการการบินพลเรือนเวียดนามได้ยึดคืนใบอนุญาตที่ออกให้กับสายการบินอินโดไชน่าแอร์ไลนส์ สายการบินเอกชนแห่งแรกที่เปิดให้บริการแบบโลว์คอสท์ในต้นปี 2551

สถานการณ์ที่เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในปีนั้น ทำให้อินโดไชน่าแอร์ไลนส์ขาดทุนและมีหนี้สินล้นพ้น ต้องปิดตัวเองในปลายปี 2552 และไม่สามารถฟื้นฟูกิจการ ขึ้นบินได้อีกตั้งแต่นั้น

เวียดนามยังมีแอร์แม่โขงเป็นสายการบินเอกชนอีก 1 แห่ง แต่จำหน่ายตั๋วราคาเดียวกับเวียดนามแอร์ไลนส์ ใช้เกาะฟุก๊วกในทะเลอ่าวไทยเป็นฐาน และ บินเส้นทางที่สายการบินแห่งชาติไม่เปิดให้บริการหรือมีเที่ยวบินไม่เพียงพอ
กำลังโหลดความคิดเห็น