xs
xsm
sm
md
lg

พม่ายุคใหม่ประชาธิปไตยจ๊ะจ๋า “ไอป้า” โหวตรับเอกฉันท์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 15 ก.ย.2554 สมาชิกจับกลุ่มพูดคุยกันในบริเวณหน้า ปีดองซูลู๊ตดอ อันโอ่อ่า เพื่อร่วมพิธีรำลึกเนื่องใน วันประชาธิปไตยสากล ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ด้านหน้าของอาคารมีรูปหล่อราชสีห์ทองสำริดอารักขาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ของพรรคการเมืองของฝ่ายทหารที่ครองเสียงข้างมากก็ตาม แต่บรรยากาศทางการเมืองในประเทศนี้ ได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง และในวันอังคาร 20 ก.ย.ที่ผ่านมา สหภาพรัฐสภาอาเซียน (AIPA) ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์รับรัฐสภาพม่าเข้าเป็นสมาชิกอย่างสมบูรณ์. --  AFP PHOTO/Daniel Rool.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ที่ประชุมสหภาพรัฐสภาอาเซียน (General Assembly of the ASEAN Inter-Parliamentary Assembly-- AIPA) ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่ 32 จัดขึ้นในกรุงพนมเปญ ได้ลงมติเอกฉันท์รับรองเอารัฐสภาพม่า หรือ ปีดองซูลู๊ตดอ (Pyidaungzu Hluttaw) เข้าเป็นสมาชิกใหม่อย่างสมบูรณ์ในวันที่ 20 ก.ย.ศกนี้ โดยเปลี่ยนจากเดิมซึ่งเป็นผู้สังเกตการณ์ มาเป็นเวลาหลายปี

นับเป็นความคืบหน้าล่าสุดของพม่าบนเวทีอาเซียนซึ่งเป็นสมาชิกอยู่ด้วย หลังจากมีการเลือกตั้งในวันที่ 7 พ.ย.2553 ติดตามมาด้วยการจัดตั้งรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร หรือ ปีตูลู๊ตดอ (Pyithu Hluttaw) กับสภาสูง หรือสภาชนชาติ หรือ อะเมียวตาลู๊ตดอ (Amyotha Hluttaw) เมื่อต้นปีนี้

ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ รัฐสภาพม่ายังอยู่ระหว่างการประชุมสมัยที่ 2 ซึ่งดำเนินต่อต่อกันมากว่า 20 วันแล้ว

นายคินอองมี้นอู (Khin Aung Myint Oo) ประธานสภาชนชาติ (และยังเป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 1) และประธานรัฐสภาแห่งพม่า ซึ่งเป็นตัวแทนไปร่วมการประชุมใหญ่ AIPA ครั้งนี้ ได้กล่าวขอบคุณอย่างจริงในต่อสหภาพรัฐสภาอาเซียน และระบุว่า “รัฐสภาแห่งสหภาพพม่าจะเข้าร่วมส่วนอย่างแข็งขันในกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของไอปาและอุทิศให้กับความก้าวหน้าของที่ประชุมนี้”

ตลอดเวลาเกือบ 1 เดือนมานี้สมาชิกทั้ง 2 สภาของพม่า ได้อภิปรายกันในหลากหลายเนื้อหา สมาชิกจำนวนมากได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลด้วยเรื่องปากท้องและปัญหาทั่วไปในชีวิตประจำวันของผู้คนกว่า 50 ล้าน และได้รับคำตอบอย่างมีชีวิตชีวา ในบรรยากาศประชาธิปไตยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศซึ่งก่อนหน้านี้ตกอยู่ใต้การปกครองของฝ่ายทหารมานานเกือบครึ่งศตวรรษ
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 22 ส.ค.2554 สมาชิกรัฐสภาหรือ ปีดองซูลู๊ตดอ (Pyidaungzu Hluttaw) นั่งกันพร้อมหน้าภายในห้องประชุมอันโอ่โถงของสองสภา เป็นครั้งแรกที่พม่าเปิดให้สื่อเข้าถ่ายภาพและเข้าติดตามรายงานการประชุมขององค์กรนิติบัญญัติได้ เกือบ 1 เดือนมานี้สมาชิกได้อภิปรายซักถามหลากหลายปัญหาต่อรัฐบาล และได้รับคำตอบอย่างน่าพอใจ ภายใต้บรรยากาศประชาธิปไตยที่ไม่เคยมีมาก่อน วันอังคาร 20 ก.ย. ที่ผ่านมา รัฐสภาพม่าได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพรัฐสภาอาเซียน (AIPA)  อย่างสมบูรณ์แล้ว. --  AFP PHOTO/Soe Than Win.</b>
2
รัฐสภายังได้ผ่านร่างกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนอีกหลายฉบับ รวมทั้งกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นหลักประกันว่าราษฎรจะได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมจากฝ่ายรัฐ และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นมาเป็นครั้งแรกอีกด้วย

วันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา ทางการพม่าได้จัดให้มีพิธีรำลึกเนื่องในโอกาส "วันประชาธิปไตยสากล" เป็นครั้งแรก นางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมานานกว่า 2 ทศวรรษได้จัดทำพิธีรำลึกเช่นกัน

ประธานาธิบดี เต็งเส่ง ผู้นำสูงสุดคนปัจจุบัน ได้พบหารือกับนางซูจีเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนที่แล้วภายใต้บรรยากาศแห่งสมานฉันท์ และสัปดาห์ที่ผ่านมานางซูจีกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลจำนวนหนึ่ง ได้ไปชมการแข่งขันฟุตบอลที่สนามกีฬากรุงย่างกุ้ง ท่ามกลางความสนใจของทุกฝ่าย เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ต้นเดือนนี้ประธานของทั้งสองสภา รัฐมนตรีอีกอย่างน้อย 3 นาย ได้ให้การต้อนรับ พบและหารือกับ นายเดเร็ก มิตเชล (Derek Mitchell) ผู้แทนพิเศษกิจการพม่าของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเยือนเป็นครั้งแรก

นายคินอองมี้นอู ถึงกับเชิญชวนให้ นายมิตเชล ไปปรากฏตัวและปราศรัยต่อรัฐสภาเพื่อจะได้แนะนำตัวกับบรรดาในสภานิติบัญญัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในกำหนดการ แต่นายมิตเชลไม่รับคำเชิญดังกล่าวโดยระบุว่า ตนมีภารกิจเพียงเพื่อหาข้อเท็จจริงเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์สหรัฐฯ กับพม่าเท่านั้น.
.
<bR><FONT color=#000033>บรรยากาศประชาธิปไตยกับความปรองดองเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ประธานาธิบดีเต็งเส่งเปิดทำเนียบในเนปีดอ เชิญนางององซานซูจีเข้าพบหารือในวันที่ 19 ส.ค.2554 ทางการนำภาพนี้ออกเผยแพร่ นับเป็นครั้งแรกที่นางซูจีได้เดินทางไปยังเมืองหลวงใหม่ บนผนังห้องคือรูปภาพของนายพลอองซาน บิดาแห่งเอกราช ซึ่งเป็นบิดาของนางซูจี นับเป็นการให้เกียรติอย่างสูงแก่แขกที่เข้าพบ.-- AFP PHOTO/Myanmar News Agency.  </b>
3
<bR><FONT color=#000033>นางอองซานซูจี กับ บรรดาผู้อาวุโสของพรรคเอ็นแอลดีในอดีต ได้จัดพิธีรำลึกเนื่องใน วันประชาธิปไตยสากล ในวันที่ 15 ก.ย.2554 และช่วงเดือนที่ผ่านมาผู้นำการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า ได้เข้าร่วมกิจกรรมหลายอย่าง เจ้าตัวเองได้เคยยอมรับว่าบรรยากาศกำลังเปลี่ยนไป แต่ก็ยังไม่ได้ฝากความหวังเอาไว้ทั้งหมด นางซูจีเขียนในบทความชิ้นหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า การเมืองยังเต็มไปด้วยคนหน้าเก่าๆ. -- AFP PHOTO/Soe Than Win.</b>
4

ฟุตบอลสมานฉันท์ AFP/Reuters
นางอองซาน ซูจี ผู้นำการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยไปชมการแข่งขันฟุตบอล U-19 ระหว่างทีมลาว กับทีมพม่า ในวันที่ 14 ก.ย.2554 เป็นรอบคัดเลือกของสมาคมฟุตบอลอาเซียนที่ตุวนาสเตเดียม (Thuwana Stadium) กรุงย่างกุ้ง โดยมี พ.อ.ทินวิน รัฐมนตรีกระทรวงกิจการชายแดนกับนายกสมาคมฟุตบอลพม่าไปร่วมด้วย นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปีที่นางซูจี มีโอกาสไปชมกีฬา เหตุการณ์นี้กลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์แห่งความสมานฉันท์ ที่ทำให้ทุกฝ่ายเริ่มหันมาจับตาความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศนี้


5

6

7

8

9
กำลังโหลดความคิดเห็น