xs
xsm
sm
md
lg

พม่ายกเลิกคำสั่งแบนเว็บไซต์ข่าวต่างประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> แม่ค้าชาวพม่านั่งรอลูกค้าที่แผงขายหนังสือพิมพ์ในกรุงย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ก่อนหน้านี้ รัฐบาลพม่าประกาศผ่อนปรนกฎระเบียบเซ็นเซอร์สื่อสิ่งพิมพ์ในสื่อบางฉบับ ล่าสุดได้ยกเลิกคำสั่งแบนเว็บไซต์ข่าวต่างประเทศบางเว็บไซต์ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสื่อของพม่า หลังทูตพิเศษของสหรัฐเรียกร้องให้พม่าดำเนินการปฏิรูปอย่างแท้จริง. -- AFP PHOTO/Soe Than WIN.. </font></b>

รอยเตอร์ - พม่ายกเลิกคำสั่งแบนเว็บไซต์ข่าวของต่างประเทศวานนี้ (15 ก.ย.) รวมทั้งบางสื่อที่ดำเนินการโดยนักวิจารณ์รัฐบาล และยังเลิกการบล็อคเว็บไซต์ยูทูป (Youtube) นับเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับการปฏิรูปในพม่า

คำสั่งห้ามเข้าถึงข้อมูลข่าวสารถูกยกเลิกในหลายเว็บไซต์ข่าว ทั้งเว็บไซตืของสำนักข่าวรอยเตอร์ บางกอกโพสต์ สิงคโปร์สเตรทส์ไทม์ส และหนังสือพิมพ์ในภูมิภาค และยังรวมถึงเว็บไซต์ข่าววอยซ์ออฟอเมริกาภาคภาษาพม่า บีบีซี และเดโมเครติควอยซ์ออฟเบอร์มา

เว็บไซต์ข่าวของรอยเตอร์และอีกหลายเว็บไซต์ถูกบล็อคในช่วงการปราบปรามการชุมนุมที่นำโดยพระสงฆ์ในปี 2550 และนับตั้งแต่นั้น เว็บไซต์ที่ถูกห้ามเข้าชมปรากฎหน้าจอเป็นข้อความจากบริษัทโทรคมนาคมและไปรษณีย์แห่งพม่า (MPT) ว่า "เว็บไซต์นี้ถูกบล็อคโดย MPT"

แต่ข้อความดังกล่าวหายไปในวันพฤหัสบดี (15 ก.ย.) เป็นเวลา 1 วันหลังจากทูตพิเศษของสหรัฐสิ้นสุดการเดินทางเยือนพม่า และยังสอดคล้องกับ "วันประชาธิปไตยสากล" ที่จัดชึ้นโดยนางอองซานซูจีในกรุงย่างกุ้ง

"การเปลี่ยนแปลงในพม่ากำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้" นางซูจีกล่าวกับผู้สนับสนุนนอกสำนักงานใหญ่พรรค NLD

อย่างไรก็ตาม สถานีโทรทัศน์ยังคงถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยรัฐบาล และผู้สื่อข่าวต่างชาติยังคงถูกห้ามรายงานข่าวในประเทศ แต่ผู้คนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่ามาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกจะยังคงดำเนินต่อไปจนกว่าจะมีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองราว 2,100 คน

เพลงทุกเพลง หนังสือทุกเล่ม และผลงานทางศิลปะ ยังต้องผ่านการเซ็นเซอร์เนื้อหาไม่ให้มีข้อความทางการเมืองหรือการวิพากษ์วิจารณ์ระบบการปกครองของพม่า

บรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์คนหนึ่งกล่าวว่า การยกเลิกคำสั่งและสามารถเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้ได้อีกครั้งนับเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ในนโยบายด้านสื่อของรัฐบาลชุดใหม่

"เราสามารถเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้ได้ก็จริงแต่การเชื่อมต่อยังช้าอยู่มาก" บรรณาธิการที่ไม่ต้องการเปิดเผยชื่อกล่าว และว่า ต้องรอดูต่อไปว่าการอนุญาตให้เข้าถึงเว็บไซต์ข่าวเหล่านี้จะดำเนินไปอีกนานเท่าใด.
กำลังโหลดความคิดเห็น