xs
xsm
sm
md
lg

"ตานฉ่วย" ยังไม่ไปไหน และกำลังจะไปเยือนจีน เยี่ยงผู้นำเบอร์ 1

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ประกาศศักดา -- ประธานาธิบดีหูจิ่นเทาของจีน นำประธานาธิบดีเต็งเส่งผู้นำสูงสุดคนใหม่จากพม่า ตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ ในรัฐพิธีที่จัดขึ้นภายในมหาศาลาประชาชนกรุงปักกิ่งวันที่ 27 พ.ค.2554 ต้อนรับอาคันตุกะคนใหม่ ปธน.ธิบดีเต็งเส่งไปเยือนจีนเป็นประเทศแรก หลังเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 30 มี.ค.ปีนี้  ขณะเดียวกันผู้นำจีนก็กำลังจะปูพรมแดงต้อนรับอาคันตุกะคนเก่าอีกครั้งหนึ่ง. -- AFP PHOTO/Frederic J. Browm. </b>

โดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร
ASTV ผู้จัดการออนไลน์ -- พล.อ.ตานฉ่วย ซึ่งโดยนิตินัยได้กลายเป็นพลเมืองธรรมดาคนหนึ่ง และ ไม่ได้มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการใดๆ ในพม่ามาตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค.ปีนี้ กำลังจะไปเยือนจีนอีกครั้งหนึ่ง เยี่ยงผู้นำสูงสุดของประเทศ

เรื่องนี้เป็นข่าวใหญ่หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ในวันจันทร์ที่ 5 ก.ย.2554 แทนที่ข่าวการประชุมรัฐสภาที่กำลังระอุด้วยกระทู้ของผู้แทนราษฎรที่ตั้งขึ้นถามรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาปากท้องเป็นส่วนใหญ่ และ กำลังได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วไป

เป็นเวลา 1 ปีพอดีนับตั้งแต่ พล.อ.ตานฉ่วย ไปเยือนจีนครั้งสุดท้ายในเดือน ก.ย.2553 ซึ่งเป็นเพียงครั้งที่ 2 ในฐานะผู้นำสูงสุด ตั้งแต่ขึ้นเถลิงอำนาจในปี 2535

"ตามคำเชิญของ ฯพณฯ หูจิ่นเทา (Hu Jintao) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พลเอกอาวุโสตานฉ่วย ประธานสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งสหภาพพม่าและนางจายจาย (Kyaing Kyaing) ภริยา จะไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนในระดับรัฐในเร็วๆ นี้" หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลรายงานข่าวนี้แต่เพียงสั้นๆ แต่ได้ใจความชัดเจน

ด้วยภาษาอย่างเป็นทางการนี้ พล.อ.ตานฉ่วย ในปัจจุบันก็ยังเป็น "พลเอกอาวุโส" และ ยังเป็น "ประธาน" สภาปกครองทหาร ซึ่งได้ถูกยุบไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค.2554 และ โดยประกาศของประธานาธิบดีเต็งเส่ง ที่นำพรรคการเมือง "ทายาทอสูร" ให้มีชัยอย่างท่วมท้น ในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว

ในวันที่ 4 ก.พ.2554 อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตเลขาธิการที่ 1 ของสภาปกครองทหาร ได้รับเลือกอย่างเอกฉันท์จากปีดองซูลู๊ตดอ (Pyidaungzu Hluttaw) หรือ รัฐสภาให้ขึ้นดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐและผู้นำฝ่ายบริหารในขณะเดียวกัน

นั่นคือชื่อเรียกในการประชุมร่วมของ 2 สภาคือ ปีตูลู๊ตดอ (Pyithu Hluttaw) หรือ สภาผู้แทนราษฎร กับ อะเมียวตาลู๊ตดอ (Amyotha Hluttaw) "สภาสูง"

ทันทีที่เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้ออกคำประกาศหลายฉบับแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ในรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งคณะบริหารในระดับเขตและรัฐ โดยความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ รวมทั้งฉบับหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เป็นการเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ของประเทศ
.
<bR><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีเต็งเส่ง รองประธานาธิบดีทินอองมี้นอู (ซ้าย) กับ รองประธานาธิบดี ดร.สายหมอกคำ ระหว่างทำพิธีในรัฐสภาวันที่ 31 มี.ค.2554 หรือ  1 วันหลังทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหารคนใหม่ไปเยือนจีนเป็นประเทศแรกในเดือน พ.ค. แต่ในเร็วๆ นี้ก็กำลังจะมีผู้นำสำคัญในทางพฤตินัยอีกคนหนึ่งจากพม่าไปเยือนเช่นกัน ซึ่งกำลังจะเป็นการเดินทางเยือนต่างแดนครั้งแรก หลังพ้นจากอำนาจโดยนิตินัย และกำลังจะช่วยเติมความลี้ลับให้กับการเมืองในพม่า. -- REUTERS/Myanmar News Agency/Handout.   </b>
2
<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 27 มี.ค.2553 พล.อ.เต็งเส่ง ซึ่งในขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีขณะเข้าร่วมงานฉลองครบรอบปีกองทัพ เบื้องหลังเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของบรมกษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ คือ พระเจ้าอนรธา (ซ้ายสุด) พระเจ้าบุเรงนองกับพระเจ้าอลองพญาตามลำดับ อีก 1 ปีต่อมา นายเต็งเส่ง ได้กลายเป็นประธานาธิบดีของรัฐบาลพลเรือนคนแรกในรอบกว่า 20 ปี และเป็นผู้นำสูงสุดตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็ดูเหมือนว่ายังมีเงาแห่งอสูรย์ผงาดอยู่เบื้องหลัง. --   REUTERS/Soe Zeya Tun/Files.  </b>
3

นั่นคือคำประกาศเลขที่ 6/2011 ลงวันที่ 30 มี.ค.2554 ซึ่งเป็นการสลายรัฐบาลทหารชุดเดิมที่อยู่ในอำนาจติดต่อกันมายาวนาน สลายสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งพม่า ถ่ายโอนอำนาจบริหารและอำนาจตุลากรทั้งหมดจากสภาปกครองทหาร สู่บุคคลชุดใหม่กับองค์กรใหม่ที่ได้รับเลือกและจัดตั้งขึ้นมา โดยมีผลในวันเดียวกัน

"สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาได้สลายไปนับตั้งแต่บรรดาบุคคลในระดับรัฐและระดับภูมิภาคเข้ารับตำแหน่ง" นี่คือ เนื้อความในมาตรา 3 ของคำประกาศสำคัญที่ลงนามโดยผู้นำสูงสุดคนใหม่

ในวันที่ 4 เม.ย.เจ้าหน้าที่ทางการพม่าได้ออกยืนยันว่า พล.อ.ตานฉ่วยกับ พล.อ.หม่องเอ ตลอดจนบรรดานายทหารระดับสูงที่เป็นสมาชิกของสภาปกครองทหาร ได้พ้นตำแหน่งแล้ว

"พลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย กับรองพลเอกอาวุโสหม่องเอ ผู้นำหมายเลข 2 ได้เกษียณจากกองทัพแล้ว" เจ้าหน้าที่พม่ารายหนึ่งกล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีในกรุงย่างกุ้ง

เจ้าหน้าที่คนเดียวกันนี้ยังอธิบายว่า ผู้นำทั้งสองได้เกษียณเพื่อพักผ่อน เจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งกล่าวว่า แม้จะเกษียณไปแล้วก็ตาม แต่จะยังให้คำแนะนำเมื่อรัฐบาลร้องขอ

การพ้นจากอำนาจโดยทางนิตินัยของพลเอกตานฉ่วย ยังได้รับการยืนยันจากการเข้าร่วมพิธีสาบานตนในวันที่ 30 มี.ค. ของผู้บัญชาการกองทัพพม่าคนใหม่ คือ พล.ท.มินอองหล่าย ( Min Aung Laing) ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า ตำแหน่งที่เคยเป็นของนายพลเอกอาวุโส ได้ถูกแทนที่เรียบร้อยแล้ว นักวิเคราะห์กล่าว

และตั้งแต่นั้นมา พล.อ.ตานฉ่วยกับ พล.อ.หม่องเอ ก็เริ่มหายหน้าไปจากวงการ

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อกันมานานแล้วว่า นายพลเอกอาวุโสเพียงคนเดียวของประเทศ คงจะไม่ยอมวางมือจากอำนาจง่ายๆ และ หลังการเลือกตั้งจะก็ยังอยู่เบื้องหลังการบริหารของรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป จนกว่าตนเองกับครอบครัวและบริวารรอบข้างจะรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และ จีนซึ่งเป็นหลังพิงที่ไว้ใจได้ตลอดกว่า 20 ปีมานี้ ก็จะเป็นแหล่งพักพิงอันมั่นคงสำหรับ พล.อ.ตานฉ่วย ได้เช่นกัน

ในวันที่ 4 เม.ย.2554 ในขณะที่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่กับและคณะบริหารชุดใหม่ทั่วประเทศกำลังดำเนินอยู่นั้น นายสีจิ่นผิง (Xi Jinping) ซึ่งเป็นกรมการเมืองที่มีอาวุโสสูงสุดคนหนึ่งและยังเป็นรองประธานาธิบดีจีน ก็ได้กลายเป็นอาคันตุกะจากต่างแดนคนแรกที่ไปเยือนพม่า
.
<bR><FONT color=#000033>ประกาศศักดา--  นายหูจิ่นเทาผู้นำสูงสุดของจีน นำผู้นำสูงสุดจากพม่าตรวจแถวกองเกียรติยศ ที่มหาศาลาประชาชนกรุงปักกิ่งในวันที่ 8 ก.ย.2553 และพลเอกอาวุโสตานฉ่วย ในฐานะ ประธานสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาพม่า ซึ่งเป็นตำแหน่งและองค์กรที่ไม่มีตัวตนอีกแล้วในทางกฎหมาย กำลังจะกลับไปเยือนจีนในฐานะอาคันตุกะของผู้นำสูงสุดของจีนอีกครั้งหนึ่ง. --  REUTERS/Petar Kujundzic. </b>
4
<bR><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มวันที่ 8 ก.ย.2553 ผู้นำสูงสุดจากพม่าตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ ในรัฐพิธีที่ผู้นำสูงสุดของจีนจัดต้อนรับที่มหาศาลาประชาชน กรุงปักกิ่ง  พล.อ.อาวุโสตานฉ่วยกำลังจะกลับไปที่นั่นอีกครั้งหนึ่งในฐานะอาคันตุกะของผู้นำจีนเช่นเมื่อปีที่แล้ว. --  REUTERS/Petar Kujundzic. </b>
5

นายสีได้รับการต้อนรับอบอุ่นจาก ปธน.เต็งเส่ง ทั้งยังได้พบหารือกับรองประธานาธิบดีทั้งสองคนคือ นายทินอองมี้นอู (Tin Aung Myint Oo) กับ นพ.สายหมอกคำ (Sai Mauk Kham) นอกจากนั้นรัฐมนตรีใหม่ที่เกี่ยวข้องหลายกระทรวงของฝ่ายเจ้าภาพ ยังได้เข้าเยี่ยมคำนับและหารือกับผู้เยือนอาวุโสฝ่ายจีนด้วย

แต่ไม่มีรายงานจากสื่อของทางการสำนักใดว่า ในครั้งนั้นผู้นำอาวุโสจากปักกิ่งได้พบหารือ หรือได้เข้าเยี่ยมคำนับ พล.อ.ตานฉ่วย ซึ่งถือเป็นการให้ความเคารพผู้นำชุดใหม่

ต่อมากลางเดือน พ.ค. ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้นำคณะใหญ่ เดินทางไปเยือนจีนเป็นประเทศแรก ในฐานะประมุขแห่งรัฐ โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นระดับรัฐพิธีจากประธานาธิบดีหูจิ่นเทาผู้นำสูงสุดของจีน สองฝ่ายได้หารือกันในหลากหลายประเด็น ตั้งแต่ความมั่นคงตามแนวชายแดน ถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคม สถานการณ์ในภูมิภาคกับสถานการณ์โลก

ปธน.พม่ายังได้รับการต้อนรับจากบรรดาผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์กับของรัฐบาลอีกหลายคน ก่อนจะเดินทางกลับพร้อมโครงการความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ซึ่งทั้งหมดนี้ได้สะท้อนให้เห็นความเป็นเบอร์ 1 ตามธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างประเทศ

พล.อ.ตานฉ่วย วัย 78 ปี ไปเยือนจีนปีที่แล้ว ได้รับการต้อนรับในระดับรัฐพิธีจากประธานาธิบดีจีนเช่นกัน และ การไปเยือนในฐานะอาคันตุกะผู้นำสูงสุดของจีนอีกครั้งหนึ่ง อาจจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่านอกจากประธานาธิบดีแล้ว ในพม่ายังมีพลเมืองธรรมดาอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นเบอร์ 1 โดยพฤตินัยและไม่เป็นสองรองใคร.
กำลังโหลดความคิดเห็น