xs
xsm
sm
md
lg

การเมืองพม่ายุคใหม่ ยุติการปกครองโดยทหารแต่กองทัพยังผูกขาด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพถ่ายทางโทรทัศน์จากช่อง MRTV ของทางการพม่า ขณะอดีตนายกรัฐมตรีเต็งเส่ง หรือประธานาธิบดีคนใหม่ของพม่าในปัจจุบัน กำลังอยู่ในระหว่างพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งที่อาคารรัฐสภาในกรุงเนปิดอว์ วันที่ 30 มี.ค. . -- AFP PHOTO/HO/MRTV. </font></b>

เอเอฟพี - กองทัพพม่าถ่ายโอนอำนาจให้กับรัฐบาลพลเรือนแล้วในวันนี้ (30 มี.ค.) หลังอยู่ในอำนาจมายาวนานเกือบ 50 ปี หลังสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ หรือ SPDC ถูกยุบ และมีการแต่งตั้งประธานาธิบดีคนใหม่



สถานีโทรทัศน์ของพม่า รายงานว่า สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ หรือ SPDC ยุบตัวลงอย่างเป็นทางการจากคำสั่งที่ลงนามโดยพลเอกอาวุโส ตานฉ่วย

ในรายงานระบุว่า ตานฉ่วย ที่ขึ้นปกครองพม่ามาตั้งแต่ปี 2535 เป็นเพียงประธาน SPDC และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดก็ถูกแทนที่โดยนายพลคนใหม่แล้ว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แต่ทหารยังคงรักษาอำนาจเอาไว้อยู่ ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า ตานฉ่วยจะพยายามรักษาอำนาจในการควบคุมประเทศอยู่เบื้องหลัง

SPDC หรือที่รู้จักก่อนหน้านี้ในชื่อว่า คณะกรรมการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยแห่งรัฐ หรือ SLORC ได้เข้ายึดอำนาจเมื่อปี 2531 แต่พม่าอยู่ใต้อำนาจการปกครองทางทหารมาตั้งแต่ปี 2505 และการประกาศครั้งประวัติศาสตร์ที่ถือเป็นการสิ้นสุดการปกครองทางทหารครั้งนี้มีขึ้นหลังทางการพม่า ระบุว่า ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนใหม่ ได้เข้าร่วมในพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีของเต็งเส่ง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้นำสูงสุดของคณะทหารได้ถูกแทนที่แล้ว

พลโท มิน อ่อง หล่าย เข้าร่วมในพิธีสาบานตนของเต็งเส่ง ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพพม่า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตานฉ่วยดำรงมาโดยตลอดจนกระทั่งปัจจุบัน โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนใหม่ มีอายุ 54 ปี และดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพม่า รวมทั้งเป็นผู้บัญชาการทหารในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ใกล้พรมแดนลาว และไทย

“ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า พลโท มิน อ่อง หล่าย เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการแล้วหรือยัง” เจ้าหน้าที่พม่ากล่าว

นายกรัฐมนตรี เต็งเส่ง ที่ทิ้งเครื่องแบบทหารลงเลือกตั้งเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา ได้สาบานตนอย่างเป็นทางการในฐานะประธานาธิบดีของประเทศ หลังถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้นำของรัฐสภาชุดใหม่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่นายทหารระดับสูงอีกหลายคนยังคงคุมอำนาจไว้ได้ในรัฐสภาใหม่นี้

“สมาชิกคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ทั้งหมด 58 คน ประกอบด้วย ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี 2 คน เจ้าหน้าที่และรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ได้เข้าสาบานตนในช่วงเช้าวันนี้ที่รัฐสภาในกรุงเนปิดอว์” เจ้าหน้าที่พม่ากล่าว

นอกจากนั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ที่อ้างถึงรัฐบาลทหารพม่าในทั่วประเทศ โดยเฉพาะชื่อที่ทำการรัฐถูกเปลี่ยนให้สะท้อนถึงระบบการเมืองแบบใหม่ ที่มีผลหลังการเลือกตั้งเมื่อพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา เช่น สำนักงานสภาสันติภาพและการพัฒนาที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเลียนแบบชื่อมาจากสภาสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ ได้ถูกเปลี่ยนเป็นชื่อ สำนักงานบริหารทั่วไป ส่วนป้ายต่างๆ ก็ใช้สีเขียวที่สว่างขึ้นกว่าสีเขียวที่พรรคสหภาพเพื่อเอกภาพและการพัฒนา หรือ USDP ซึ่งเต็งเส่งให้การสนับสนุนใช้อยู่

การจัดตั้งรัฐสภาในกรุงเนปิดอว์ ที่ได้เปิดประชุมครั้งแรกไปเมื่อปลายเดือนมกราคม ทำให้พม่ามุ่งไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายของแผนการสร้างประชาธิปไตยของรัฐบาลทหารพม่า แต่ 1 ใน 4 ของที่นั่งทั้งหมดในรัฐสภาได้ถูกสงวนไว้ให้กับสมาชิกของกองทัพก่อนการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศในรอบ 20 ปี ที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นการเลือกตั้งที่มีทั้งการข่มขู่คุกคาม และการโกง และพรรค USDP สามารถครองที่นั่งในรัฐสภาได้ถึง 388 ที่นั่ง จากทั้งหมด 493 ที่นั่ง ขณะที่ นางอองซานซูจี ไม่มีเสียงในสภาใหม่นี้ รวมทั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ก็ถูกยุบหลังคว่ำบาตรการเลือกตั้ง
กำลังโหลดความคิดเห็น