xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามอึ้งกิมกี่ สำรวจพบเองโรงไฟฟ้าปรมาณู อยู่ในแนวแผ่นดินไหว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิที่ถ่ายโดยยานบินไร้คนขับ เผยแพร่โดยบริษัทโตเกียวอิเลกตริกพาวเวอร์ (TEPCO) แสดงให้เห็นเตาปฏิกรณ์หน่วยที่ 3 และ 4 จากทั้งหมด 6 หน่วยที่ถูกไฟไหม้ ในวันที่ 12-13 มี.ค.2554 ส่งสารกัมมันตะรังสีปนเปื้อนในดิน ในน้ำดื่ม อาหารและในอากาศหายใจ  ยังไม่นับรวมกับโศกนาฏกรรมที่อีกกว่า 27,500 ชีวิตถูกกลืนหรือสูญหายไปในคลื่นสึนามิสูง 10 เมตร นักวิทยาศาสตร์เวียดนามเพิ่งค้นพบด้วยตนเองว่าที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศอยู่บนรอยเลื่อนของเปลือกโลก หนักหน่วงยิ่งกว่าโรงไฟฟ้าของญี่ปุ่นแห่งนี้ที่สร้างขึ้นอย่างแข็งแกร่งและอยู่ห่างแนวแผ่นดินไหว แต่ก็ไม่สามารถต้านทานได้ การค้นพบครั้งใหม่นี้เป็นทั้งข่าวอันน่าสะพรึงกลัวและข่าวดีสำหรับชาวเวียดนามกับประเทศเพื่อนบ้าน. -- Xinhua/AFP Photo.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นักวิทยาศาสตร์เวียดนามสำรวจพบด้วยตนเอง ว่า บริเวณที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศ ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่ยังเคลื่อนตัวอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ในอนาคต การสำรวจศึกษาโดยสถาบันวิจัยทางด้านธรณีศาสตร์แห่งหนึ่ง พบรอยเลื่อนขนาดใหญ่ถึง 2 แนวในแถบชายทะเลแถบ จ.นีงทวน (Ninh Thuận) ซึ่งการสำรวจก่อนหน้านี้ (โดยนักวิทยาศาสตร์รัสเซีย) ไม่พบมาก่อน

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.ปีนี้ ได้ส่งคลื่นสึนามิสูง 10 เมตร เข้าทำลายเมืองกับหมู่บ้านหลายแห่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตกับสูญหายกว่า 27,500 คน และยังทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิชิ แต่ได้เป็นสิ่งเตือนใจให้นักวิทยาศาสตร์เวียดนามต้องศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของตนเองให้รอบคอบยิ่งขึ้น

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเวียดนาม ได้จัดหาเงินทุนให้แก่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งจากสถาบันธรณีวิทยาและแหล่งแร่ที่ค้นพบเรื่องใหม่ๆ อันอาจจะเป็นอันตรายต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย โรงไฟฟ้าถึง 2 โรง ให้ศึกษาในรายละเอียดต่อไปตลอดเวลา 2 ปีข้างหน้า หนังสือพิมพ์แถ่งเนียนรายงานในเว็บไซต์ภาคภาษาเวียดนาม

ความจริงแล้วสถาบันดังกล่าวได้เตือนล่วงหน้ามาก่อน แต่ไม่ได้รับความสนใจจากสื่อของทางการเท่าที่ควรเนื่องจากระยะที่ผ่านมาได้มีกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้นทั่วไป และ เกือบทั้งหมดล้วนใช้ข้อมูลเก่าๆ อ้างอิง และผู้เชี่ยวชาญแห่งสถาบันดังกล่าวได้ออกเรียกร้องแต่เนิ่นๆ ให้ทางการย้ายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศไปยังที่ตั้งแห่งใหม่ หรือให้เลื่อนเวลาก่อสร้างออกไป

อย่างไรก็ตาม กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งรับผิดชอบเรื่องนี้ และยังเป็นหน่วยงานที่จะต้องออกใบอนุญาตให้มีการก่อสร้างได้ตามกฎหมาย ได้กล่าวว่ายังจำเป็นจะต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่เพิ่งจะค้นพบ

รายงานที่สถาบัน นำเสนอต่อการประชุมสัมมนาที่จัดขึ้นใน จ.นีงทวน วันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่ารอยเลื่อนทั้งสองแห่งที่เรียกว่า “เสือยเมีย” (Suối Mia) กับ "หวีงหาย" (Vĩnh Hải) ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ และสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหว ที่แรงพอจะทำให้สิ่งปลูกสร้างใดๆ ในอาณาบริเวณถึงกับพังทลายลงได้

ดร.เจิ่นเติ๋นวัน (Trần TấnVăn ) ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมที่ทำการศึกษาเรื่องนี้บอกว่า รอยเลื่อนเสือยเหมี่ย ตรวจพบในรอยแยกยาว 1.52 กิโลเมตรที่ตัดผ่านแนวหินแกรนิตใต้ท้องทะเลในอ่าวนีงทวน และ รอยเลื่อยวีงหาย ทำให้เกิดปรากฏเป็นแนวแยกยาว ตัดเอาเกาะเฮินแด่ว (Hơn đèo) กับเกาะอื่นๆ ออกจากแผ่นดินใหญ่ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งหมดนี้นักวิทยาศาสตร์รัสเซียและเวียดนาม ยังไม่เคยพบในการศึกษาครั้งก่อนหน้านี้

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ขีดเส้นให้นักวิทยาศาสตร์คณะนี้ ศึกษารายละเอียดให้แล้วเสร็จภายในปี 2556

ตามกำหนดการปัจจุบัน การก่อสร้างเตาปฏิกรณ์ 2 หน่วยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรก ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้าหน่วยละ 1,000 เกมกะวัตต์ จะเริ่มขึ้นในปี 2557 นี้ โดยใช้เทคโนโลยีรัสเซียและโดยบริษัทรอสอะตอม (Rosatom) จากรัสเซียเป็นผู้ควบคุมดำเนินการ แต่ปัญหาด้านธรณีศาสตร์เกี่ยวกับที่ตั้ง ก็ไม่ใช่เพียงปัญหาเดียวที่เวียดนามกำลังเชิญอยู่ในขณะนี้
.
<bR><FONT color=#000033>นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นกับนักวิทยาศาสตร์เวียดนามกำลังหารือกันระหว่างพักการประชุมสัมมนาครั้งล่าสุดวันที่ 18 ส.ค.2554 ใน จ.นีงทวน ที่มีการประกาศการค้นพบว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของเวียดนามตั้งอยู่ในแนวเลื่อนที่จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ได้ในอนาคต การประชุมครั้งก่อนหน้าในวันที่ 13 เม.ย.  เพียงข้ามเดือนหลังอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นบริษัทรอสอะตอม (Rosatom) จากรัสเซีย ยังประกาศเดินหน้าก่อสร้างของเวียดนามต่อไปตามแผนการ. -- Toui Tre. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>ภาพจำลองโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของเวียดนามใน จ.นีงทวน มีเตาปฏิกรณ์เพียง 2 โรง เล็กกว่าโรงไฟฟ้าที่ฟุกุชิมะที่มีถึง 6 หน่วย ตั้งอยู่ริมทะเลเช่นกัน แต่หนักกว่าโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่นก็คือ ของเวียดนามตั้งอยู่ในแนวเลื่อนของเปลือกโลกที่ยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในปัจจุบัน การค้นพบใหม่โดยนักวิทยาศาสตร์เวียดนามเองเป็นทั้งข่าวร้ายและข่าวดี ขณะที่กำลังจะต้องฝากอนาคตกับเทคโนโลยีของต่างชาติทุกอย่าง. -- Tuoi Tre.   </b>
3

เวียดนามจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 8 แห่งภายในปี 2574 โดยอาจจะต้องสร้างเตาปฏิกรณ์ถึง 16 หน่วย และรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้คำมั่นจะช่วยก่อสร้างแห่งที่ 2 ซึ่งกำลังมีการศึกษาเช่นกัน

“เราจะสร้างอย่างแน่นอน แต่จะไม่รีบตราบใดที่การเตรียมความพร้อมหลักๆ ยังไม่แล้วเสร็จ การขาดเขินในเรื่องความปลอดภัยเป็นอันตรายอย่างยิ่งและโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ไม่ใช่อะไรที่จะทำกันเล่นๆ ได้” นายเจิ่นหือฟ้าต (Trần Hữu Phát) ประธานสมาคมปรมาณูเวียดนามกล่าวกับแถ่งเนียน

“ถ้าหากพบว่า แนวเลื่อนเหล่านี้คุกคามต่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่วางแผนเอาไว้ เราก็จะต้องเคลื่อนย้ายไปก่อสร้างในที่แห่งอื่น” นายเติ่น กล่าว

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ออกใบอนุญาตการก่อสร้าง ได้ระบุในหนังสือเวียนฉบับหนึ่งที่เกี่ยวกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ว่า โครงการจะต้องเคลื่อนย้ายออกไปถ้าหากพบรอยแยกทางธรณีศาสตร์ภายในรัศมี 8 กม.จากจุดที่กำหนดให้เป็นที่ตั้ง หรือจนกว่าจะมีทางแก้ไขในเรื่องความปลอดภัย

“ก่อนจะถึงวันนี้ยังไม่เคยมีผู้เชี่ยวชาญคนใดพบแนวเลื่อนภายในรัศมีดังกล่าวมาก่อน” หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋ ซึ่งรายงานเรื่องนี้ในขณะเดียวกันได้อ้างคำพูดของนายหวูวันจี๋ง (Vũ Văn Chính) แห่งสถาบันเทคโทนิคเวียดนาม

การศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้ได้ข้อสรุปว่า รอยเลื่อนของเปลือกโลกที่อยู่ห่างออกไป 100 กม. สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของเวียดนามได้ถึง 5 ริกเตอร์ แต่จะไม่สามารถทำอันตรายโรงไฟฟ้าได้ เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถก่อสร้างให้รับแผ่นดินไหวได้ 7-8 ริกเตอร์ นายจี๋ง กล่าว

รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามนายหว่างจุงหาย (Hoàng Trung Hải ) ผู้รับผิดชอบด้านอุตสาหกรรมและการค้าของประเทศ กล่าวในรัฐสภาเมื่อวันที่ 5 ส.ค.ว่า ในคริสต์ศตวรรษข้างหน้า เวียดนามก็ยังไม่สามารถหาพลังงานจากแหล่งใดทดแทนพลังงานจากปรมาณูได้ แต่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ก็ต่อเมื่อสามารถมั่นใจความปลอดภัยแล้วเท่านั้น

บทเรียนราคาแพงในญี่ปุ่น AFP, Reuters
<bR><FONT color=#000033>โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิในปี 2551 แผ่นดินไหวขนาด 10 ริคเตอร์ในเดือน มี.ค.ปีนี้ ทำให้โรงไฟฟ้าที่คุยนักคุยหนาว่าแข็งแกร่งมากถึงกับทนแรงสั่นสะเทือนไม่ไหว เตาปฏิกรณ์ 2 หน่วยได้รับความเสียหาย ส่งสารกัมมันตะรังสีคละคลุ้ง นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นกล่าวในที่ประชุมสัมมนาใน จ.นีงทวน ในเดือนนี้ว่าอุบัติเหตุร้ายแรงนี้เกิดจากความผิดพลาดตั้งแต่แรกเริ่มคือการเลือกที่ตั้ง และ ฝันร้ายจะต้องไม่เกิดขึ้นซ้ำสองในเวียดนาม.--  REUTERS/KYODO/Files.  </b>
4
<bR><FONT color=#000033>ภาพถ่ายจากดาวเทียมเปรียบเทียบให้เห็นโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิชิเมื่อวันที่ 21 พ.ย.2547 และวันที่ 14 มี.ค.2554 แผ่นดินไหวใหญ่ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิมีคนเสียชีวิตและสูญหายกว่า 27,500 แรงสั่นสะเทือนยังทำให้เตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ 2 หน่วยจากทั้งหมด 6 ได้รับความเสียหายหลังเกิดไฟไหม้ เรื่องแบบนี้จะต้องไม่เกิดซ้ำที่โรงไฟฟ้าปรมาณูแห่งแรกของเวียดนาม. -- REUTERS/Digital Globe/Handout.  </b>
5
<bR><FONT color=#000033>ภาพเตือนใจถ่ายวันที่ 13 มี.ค.2554 เจ้าหน้าที่ทหารญี่ปุ่นกำลังหามผู้ป่วย ที่ต้องสงสัยถูกสารกัมมันตะรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ออกจากอาณาบริเวณที่ตรวจพบในเมืองนิฮงมัตสึ ก่อนหน้านั้น 1 วัน เตาปฏิกรณ์ 2 หน่วยรั่วและส่งกัมมันจะภาพรังสีคละคลุ้ง นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นกล่าวในวงประชุมสัมมนาที่ จ.นีงทวน ในเดือนนี้ว่า อุบัติเหตุครั้งร้ายแรงในญี่ปุ่นเป็นความผิดพลาดเริ่มแรก ตั้งแต่การเลือกจุดที่ตั้ง. --  REUTERS/Yomiuri Shimbun. </b>
6
<bR><FONT color=#000033>ภาพวันที่ 12 มี.ค.2554 ตำรวจญี่ปุ่นในชุดกันสารกัมมันตะรังสีกับหน้ากากกรองสารพิษ กำลังให้สัญญาณนำทางแก่ราษฎรขณะอพยพออกจากเมืองโตมิโอกะ จ.ฟุกุชิมะ หลังเตาปฏิกรณ์ 2 หน่วยเกิดไฟไหม้และส่งสารกัมมันตะรังสีคละคลุ้งไปทั่วบริเวณ คนเหล่านี้ยังไม่สามารถกลับบ้านได้จนกระทั่งวันนี้ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นถูกกดดันจนต้องลาออกในสัปดาห์ปลายเดือน ส.ค.นี้ ฐานรับมือกับอุบัติเหตุครั้งนี้ไม่ดีพอ. -- REUTERS/Kim Kyung-Hoon</b>
7
<bR><FONT color=#000033>เสื่อผืนหมอนใบจริงๆ ภาพถ่ายวันที่ 12 มี.ค.2554 ราษฎรญี่ปุ่นยืนเรียงแถวเดินเข้าสู่สถานพักพิงชั่วคราวซึ่างอยู่มาเกือบจะถาวรแล้ว ทุกคนมีเพียงผ้าห่มคลุมกายและกำลังรอฉีดหรือรับประทานสารไอโอดีนเพื่อสู้กับกัมมันตะรังสีจากเตาปฏิกรณ์ 2 หน่วยของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ส่งคลื่นสึนามิสูง 10 เมตรเข้าทำลายเมืองและหมู่บ้านหลายแห่ง การทำลายสภาพปนเปื้อนทางนิวเคลียร์กับการเยียวยาผู้คนที่ตกเป็นเหยื่อเป็นภารกิจยุ่งยากที่สุดในอุบัติเหตุครั้งนี้.-- REUTERS/Jo Yong-Hak. </b>
8
<bR><FONT color=#000033>ฝันร้ายของเจ้าหนู ภาพวันที่ 13 มี.ค.2554 เจ้าหน้าที่ในชุดป้องกันเต็มพิกัดกำลังตรวจหาสารกัมมันรังสีหนูน้อยรายหนึ่งในสถานพักพิงชั่วคราว การค้นพบรอยเลื่อนเปลือกโลกในบริเวณที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของเวียดนาม โดยนักวิทยาศาสตร์เวียดนามเอง นับเป็นข่าวอันน่าสะพรึงกลัว แต่ก็ต้องถือเป็นข่าวดีเช่นกัน. --  REUTERS/Petr Josek. </b>
9

เวียดนามกำลังเตรียมการอีกหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะต้องมีจำนวนอย่างน้อย 1,000 คน เพื่อประจำการในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 1 แห่งตลอด 30 ปีข้างหน้า นอกจากนั้นยังจะต้องออกกฎหมายอีกนับสิบฉบับ ในการบริการจัดการโรงไฟฟ้าปรมาณู

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นซึ่งมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาก่อนใครๆ ในย่านนี้ และมีกฎหมายอย่างเพียงพอ ก็ไม่สามารถต่อกรกับภัยธรรมชาติได้ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 วันที่ 11 มี.ค.ทำให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ที่สุดของโลกในรอบ 25 ปี

ศ.ดร.ซาโตรุ ทานากะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนาวันที่ 18 ส.ค. กล่าวว่า ประสบการณ์ในญี่ปุ่น ทำให้เชื่อว่า ความโปร่งใสของโครงการในกระบวนการพัฒนาไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการที่จะได้รับความชื่อถือกับความเชื่อมั่นจากประชาชนเวียดนาม

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของเวียดนาม ได้สร้างความกังวลใจให้แก่ไม่เพียงแต่ชาว จ.นีงทวน กับชาวเวียดนามทั่วไปเท่านั้น ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนไม่น้อยต่างรู้สึกไม่สบายใจเช่นกัน

เมื่อครั้งที่เกิดอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าที่ฟูกูชิมะไดอิชิในญี่ปุ่น โชคดีที่ “เมฆนิวเคลียร์” กับ “ฝนปรมาณู” ไม่ได้พัดขึ้นเหนือสร้างความเดือดร้อนให้เพื่อนบ้าน เนื่องจากถูกกระแสลมพัดลงใต้สู่มหาสมุทรแปซิฟิก แต่อุบัติเหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าเวียดนาม สามารถส่งทั้งเมฆและฝนปรมาณูออกแผ่คลุมเหนือประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้ทั้งหมด ตามทิศทางเคลื่อนตัวของพายุ

ในแต่ละปีจะมีพายุความแรงระดับไต้ฝุ่นพัดจากทะเลจีนใต้เข้าฝั่งเวียดนาม 8-10 ลูก ส่วนหนึ่งพัดเข้าภาคเหนือ ส่งผลกระทบถึงตอนเหนือของลาว ไทย และ พม่า รวมทั้งมณฑลหยุนหนันของจีน บางลูกพัดเข้าภาคกลาง ผ่านเข้าสู่ภาคใต้ของลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกัมพูชา

หลายลูกที่พัดเข้าภาคกลางเวียดนาม ได้พัดผ่านเข้าสู่ภาคกลาง และภาคใต้ของลาว และทะลุเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมาแล้วเช่นกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น