xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามได้ Su-30 แน่ๆ 24 ลำ (หรืออาจจะถึง 40 ลำ) ในปีหน้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ทางการเวียดนามไม่เคยเปิดเผยและไม่เคยยืนยันตัวเลขต่างๆ เกี่ยวกับการซื้อเครื่องบินรบ Su-30 จากรัสเซียในช่วง 7-8 ปีมานี้ ขณะที่สื่อในรัสเซียรายงานจำนวนตั้งแต่ 24 จนถึง 32 หรือ 36 ลำก็เคยมี เครื่องบินในตระกูล Su-27 แฟล็งเกอร์ ออกแบบและสร้างขึ้นมาเพื่อใช้โจมตีเป้าหมายทั้งทางอากาศ ทางทะเลและบนบก เวียดนามเป็นประเทศที่ 3 ในอาเซียนที่นำเข้าประจำการ ถัดจากมาเลเซียกับอินโดนีเซีย แต่กำลังจะเป็นฝูงใหญ่ที่สุดในภูมิภาค. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- รัสเซียกำลังจะส่งมอบเครื่องรบแบบ Su-30 ให้เวียดนามครบทั้งหมดตามกำหนดในปีหน้า หลังจากส่งให้ 8 ลำในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์เดิ๊ตเหวียด (Dat Viet) รายงานเรื่องนี้โดยอ้างคำสัมภาษณ์ของผู้บริหารบริษัทส่งออกอาวุธ กระทรวงกลาโหมรัสเซีย แม้ว่ายังไม่มีหน่วยงานใดในเวียดนามยืนยันเกี่ยวกับจำนวนที่สั่งซื้อทั้งหมดก็ตาม

เท่าที่มีการเปิดเผยผ่านสื่อต่างๆ ตั้งแต่ปี 2546 เวียดนามได้เซ็นซื้อเครื่องบินรบรุ่นนี้ไปแล้ว 3 ครั้ง รวม 24 ลำ โดย 4 ลำแรกเซ็นซื้อปี 2547 ไม่ทราบราคา ได้รับมอบในอีก 2 ปีต่อมา ซื้ออีก 8 ลำ ในเดือน พ.ค.2552 กับ อีก 12 ลำในเดือน ส.ค.2553 ระหว่างงานแอร์โชว์ที่สนามบินฟาร์นโบโร (Farnborough) ประเทศอังกฤษ

นายเซอร์เก คอร์นอฟ (Sergei Kornov) หัวหน้าคณะของบริษัท โรโซโบโรเอ็กซ์พอร์ต (Rosoboroexport) ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกอาวุธของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ได้ยืนยันตัวเลขและกำหนดการดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งในงานปารีสแอร์โชว์ 2554 ที่สนามบินเลอบูร์เฌ (Le Bourget) ชานกรุงปารีส ในเดือน มิ.ย.ปีนี้

นายคอร์นอฟ เปิดเผยด้วยว่า ในเดือนเดียวกันรัสเซียได้ส่งมอบ Su-30MK2V ให้เวียดนามอีก 8 ลำ ซึ่งเมื่อรวมกับอีก 4 ลำ ที่ประจำการอยู่ในปัจจุบันก็จะเป็นทั้งหมด 12 และยังเหลืออีก 12 ลำจะส่งให้ครบทั้งหมดในปี 2555

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนหรือราคา ยังไม่เคยได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากฝ่ายเวียดนาม ในขณะที่สื่อในรัสเซียเองได้รายงานตัวเลขที่ต่างกันออกไปอีกหลายระดับ โดยอ้างการเปิดเผยของบุคคลในวงการทั้งสิ้น

สำนักข่าวอินเตอร์แฟ็กซ์รายงานในเดือน ก.ค.ปีที่แล้ว อ้างคำพูดของนายมิคาอิล โปโกซียาน (Mikhail Pogosyan) ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทซูคอยและอาร์เอสเคมิก (Sukhoi and RSK MiG) ที่ระบุว่า เวียดนามสั่งซื้อ Su-30 ไปทั้งหมด 32 และจะส่งมอบให้เวียดนามครบทั้งหมดในปี 2555 นี้

“หากคุณพูดถึงสัญญาการส่งออกของซูคอย กับ เออร์คุตซ์ บริษัทของพวกเรากำลังผลิตเครื่องบินให้กับอินเดีย ซึ่งจำนวนสั่งซื้อทั้งหมดเกือบ 300 ลำ” ลูกค้ารายอื่นยังรวมทั้งเวียดนาม แอลจีเรียและจีนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนามซึ่งสั่งซื้อ Su-30MK ถึง 32 ลำ แอลจีเรียอีก 16 ลำ อินเตอร์แฟ็กซ์อ้างคำพูดของนายโปโกสิยาน

ยังอยู่กันครบ

2

3

4

5

ถ้าหากสิ่งที่ผู้บริหารของบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรบแห่งรัสเซียพูดถึงนี้เป็นความจริง ในปี 2555 กองทัพเวียดนามก็จะมีเครื่องบินรบที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงรุ่นนี้เกือบ 40 ลำด้วยกัน รวมทั้ง 4 ลำที่ประจำการอยู่ในปัจจุบันด้วย

ไม่เฉพาะ อินเดีย เวียดนาม จีน กับ แอลจีเรีย เท่านั้น นายโปโกสิยานยังกล่าวด้วยว่า ซูคอยจะทยอยส่งมอบเครื่องให้แก่ลูกค้าไปจนถึงปี 2558 ซึ่งรวมทั้ง 150 ลำ สำหรับกระทรวงกลาโหมรัสเซียด้วย

เครื่องบิน Su-30MK2V เป็นรุ่นหนึ่งในตระกูล SU-27/SU-30 ที่กลุ่มนาโต้เรียก “แฟลงค์เกอร์” (Flanker) พัฒนาติดต่อกันมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นโดยใช้รหัสต่อท้ายต่างกันตามวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ สมรรถนะ รวมทั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการบินซึ่งมีทั้งของรัสเซียผลิตเองและนำเข้าจากฝรั่งเศส อังกฤษ และ สเปน

สำหรับ SU-30MK2 ออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีอเนกประสงค์ ปฏิบัติการได้ในทุกสภาพภูมิอากาศ เพื่อโจมตีเป้าหมายทั้งทางอากาศ ในทะเลและพื้นทวีป ติดขีปนาวุธและอาวุธอันทันสมัยของรัสเซียที่มีความแม่นยำสูงและประสิทธิภาพในการทำลายสูง มีการพูดถึงเรื่องนี้ในเว็บไซต์ข่าวการทหารหลายแห่ง

ตามข้อมูลของเว็บข่าวกลาโหมหลายแห่ง ปัจจุบัน SU-30MK2V ทั้ง 4 ลำ ของเวียดนามประจำที่กองบิน 935 ฐานทัพอากาศ จ.โด่งนาย (Dong Nai) ใกล้นครโฮจิมินห์ แต่ยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ 8 ลำที่เพิ่งจะได้รับไปในเดือน มิ.ย.ปีนี้

เวียดนามยังมี SU-27 (Flanker) อีก 12 ลำ ซื้อตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 มูลค่าราว 380 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เป็นรายงานในเว็บไซต์ Vedovosti ซึ่งเสนอข่าวกับข้อมูลด้านกลาโหมทั่วโลก

กองทัพเวียดนามเป็นแห่งที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มี SU-30 ประจำการ มาเลเซียเป็นประเทศแรกสั่งซื้อ Su-30MKM จำนวน 18 ลำ ในเดือน พ.ค.2546 ตามด้วยอินโดนีเซียซึ่งได้ใช้ Su-30MK กับ Su-30MK2 จำนวน 5 ลำ มาตั้งแต่ปี 2551.
เขี้ยวเล็บแห่งทะเลจีนใต้


กำลังโหลดความคิดเห็น