xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามชุบชีวิต "ซาวลา" ยืดเวลาสูญพันธุ์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพที่เผยแพร่ในปี 2547 ระบุว่าซาวลาเพศเมียตัวนี้เป็นหนึ่งในจำนวนกว่า 10 ตัวซึ่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้เวียดนามนำออกจากป่าทดลองเพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ภายในศูนย์ฟื้นฟูแห่งหนึ่ง แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหายากชนิดนี้ค่อยๆ ล้มตายลงที่ละตัวจนหมดทุกตัวภายในเวลาไม่กี่เดือน ต่างไปจากสัตว์หายากชนิดอื่นๆ ซาวลาไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นอกถิ่นที่อาศัยตามธรรมชาติ การไล่ล่าเพื่อเอาเขาทำให้พวกนี้รอวันสูญพันธุ์ไปจากโลก.  </b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- เวียดนามประกาศจัดตั้งเขตคุ้มครองเพื่อนุรักษ์ซาวลา (Saola) ขึ้นอีกแห่งหนึ่งในเขตป่าสงวนติดชายแดนแขวงสะหวันนะเขต (ສະຫວັນນະເຂດ) กับแขวงสาละวัน (ສາລະວັນ) ของลาว เพื่อปกป้องสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเป็นสัตว์หายากที่สุดชนิดหนึ่ง และ มีโอกาสสูญพันธุ์สูงมากที่สุด

แผนการของเวียดนามได้รับการยกย่องจากองค์การอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ

ทางการ จ.กว๋างนาม (Quảng Nam) ในภาคกลาง ประกาศจัดตั้งเขตป่าคุ้มครองเนื้อที่ 16,500 เฮกตาร์ (กว่า 1 แสนไร่) ในเขตรอยต่อกับเขตป่าสงวนแห่งชาติเซซับในแขวงสะหวันนะเขตของลาวเพื่อให้เป็นถิ่นที่อาศัยอย่างปลอดภัยของสัตว์ที่เป็นเครือญาติจากยุคโบราณของกวางกับวัวป่า และพบในลาวกับเวียดนามเท่านั้น

ที่นั่นกำลังจะเป็นเขตสงวนแห่งที่ 2 สำหรับซาวลา เขตป่าอนุรักษ์แห่งแรกตั้งขึ้นใน จ.เถื่อเทียนเหว (Thừa Thiên Huế) ที่อยู่ถัดขึ้นไป ติดชายแดนแขวงสะหวันนะเขตของลาวเช่นกัน หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋กล่าว

ซาวลาถูกค้นพบครั้งแรกปี 2535 ในป่าเขตรอยต่อระหว่าง จ.เหงะอาน (Nghệ An) กับ จ.ห่าตี๋ง (Hà Tĩnh) ติดชายแดนแขวงบอลิคำไซ (ບໍລິຄໍາໄຊ) กับแขวงคำม่วน (ຄໍາມ່ວນ) ของลาวที่อยู่ถัด จ.เถื่อเทียนเหว กับ จ.กว๋างบี่ง (Quảng Bình) ขึ้นไป

ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูคล้ายกวางป่าโอริก (Oryx) ในแอฟริกา จึงได้ชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็น Pseudoryx nghetinhensis ซึ่งคำหลังเป็นชื่อย่อของ 2 จังหวัดในเวียดนามอันเป็นแหล่งที่พบครั้งแรก

แต่องค์การอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์โต้แย้งว่า แท้จริงแล้วซาวลาพบครั้งแรกในเขตป่าชายแดนลาว-เวียดนามในปี 2535 เช่นเดียวกัน โดยมันปรากฏอยู่ในกล้องอินฟราเรดที่ถ่ายภาพโดยอัตโนมัติ

อย่างไรก็ตามการพบซาวลาในปีนั้น นับเป็นการค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์ใหม่เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2479 เป็นต้นมา ทั้งนี้เป็นข้อมูลของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า หรือ World Wildlife Fund

ความเป็นสัตว์หายาก บวกกับลักษณะเฉพาะของซาวลา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งฉายาให้เป็น "ม้ายูนิคอร์นแห่งเอเชีย" ซึ่งหมายถึงม้าเขาเดียวในนิยายปรัมปรา ที่หาไม่พบในที่อื่นๆ

แต่แท้จริงแล้วซาวลามีเขา 2 เขา จึงทำให้มีผู้เรียกกวางชนิดนี้ว่า "เสา-หลา" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลาว ซึ่งออกเสียงคล้ายกับชื่อเดิม เนื่องจากลักษณะเขาคู่ที่ตั้งชั้น คล้ายกับ "เสา" ของ "หลา" อันเป็นอุปกรณ์ปั่นด้าย ที่ใช้กันมาแต่โบราณกาลในอนุภูมิภาค

ไม่ปรากฏหลักฐานว่า เพราะเหตุใดจึงเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า “ซาว-ลา” และ ใครเป็นผู้ตั้งชื่อนี้ ซึ่งมีความหมายว่า “หายาก (สวยงาม) ประดุจเดือนและดาว” ในภาษาเวียดนาม
.
<bR><FONT color=#000033>แผนที่ทำขึ้นใหม่จาก Google Earth Map แสดงเขตป่าสงวน 2 แห่งในบริเวณชายแดนเวียดนาม-ลาว ซึ่่งเป็นถิ่นที่อาศัยในธรรมชาติของกวางซาวลา (Saola) สัปดาห์ที่แล้วเวียดนามได้ประกาศตั้งเขตอนุรักษ์สัตว์หายากชนิดนี้อีก 1 แห่งเป็นเนื้อที่กว่า 100,000 ไร่ ในป่าบริเวณชายแดน จ.กว๋างนามกับแขวงสาละวัน-สะหวันนะเขต ของลาว แต่การไล่ล่าของพรานป่าก็จะยังดำเนินต่อไป.--ASTV Manager Online.  </b>
.
ตามรายงานของสื่อทางการ เมื่อหลายปีก่อนเจ้าหน้าที่ป่าไม้เวียดนามได้นำซาวลากว่าสิบตัวออกจากป่าไปเลี้ยงดูเพื่อขยายพันธุ์ แต่สัตว์ที่แสนประหลาดนี้ล้มตายลงทีละตัวๆ จนหมดทุกตัว ภายในไม่กี่เดือน ทำให้ได้ข้อสรุปว่าพวกมันไม่สามารถมีรชีวิตโดยอาศัยอยู่นอกป่าธรรมชาติที่คุ้นเคยได้

เดือน ส.ค.ปีที่แล้วราษฎรชาวลาวในแขวงบอลิคำไซจับซาวลาเพศเมียได้ 1 ตัวในเขตป่ารอยต่อกับเวียดนาม แต่อยู่ได้เพียงข้ามวันก็สิ้นชีวิต โชคดีที่มีการถ่ายรูปไว้ขณะมันยังมีชีวิต กลายเป็นซาวลาตัวแรกที่พบในรอบกว่าสิบปี

กองทุนอนุรักษ์สัตว์ป่าฯ กล่าวว่า ในเวียดนามอาจจะมีซาวลาเหลืออยู่ในป่าธรรมชาติราว 200 ตัวในเขตรอยต่อ จ.กว๋างนาม-เถื่อเทียนเหว การจัดตั้งเขตอนุรักษ์ครอบคลุมทั้งสองจังหวัดนี้ จึงเป็นความคืบหน้าอันสำคัญในการปกป้องให้พ้นจากการไล่ล่าของพรานป่า ซึ่งใช้ทั้งสุนัขไล่กวดและใช้กับดัก

เขาของซาวลานิยมนำไปใช้เป็นส่วนประกอบยาอายุวัฒนะเป็นที่ต้องการอย่างสูงในตลาด และขายได้ราคาแพงลิ่ว เป็นเหตุล่อใจให้มีการไล่ล่าอยู่เสมอ

สภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) ได้จัดซาวลาเป็นสัตว์ขนาดใหญ่มีโอกาสสูญพันธุ์อย่างยิ่ง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับแรดนอเดียวพันธุ์ชวา และ

แต่แตกต่างกันอย่างยิ่งกับแรดชวา คือ ซาวลาไม่สามารถอาศัยอยู่และขยายพันธุ์ในสวนสัตว์ได้ ซึ่ง WWF กล่าวว่าสภาพการณ์เช่นนี้ ทำให้จำนวนอาจจะลดลงเป็นศูนย์ได้ หากไม่สามารถหยุดยั้งการไล่ล่าและการบุกรุกถิ่นอาศัยของมันในธรรมชาติ

ยังมีรายงานการพบซาวลาอีกหลายครั้งด้วยกล้องอินฟราเรด รวมทั้งในช่วงปีที่มีการสำรวจเขตป่าสงวนน้ำเทิน-นากาย ก่อนการก่อสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 ในเขตเมืองยมมะลาด (ຍົມມະລາດ) แขวงคำม่วนของลาว ที่อยู่ติดชายแดน จ.เหงะอาน-ห่าตี๋ง ของเวียดนามเช่นกัน.
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพที่เผยแพร่ในปี 2547 เป็นซาวลาที่อายุยังน้อยตัวหนึ่ง ที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้เวียดนามนำออกจากป่าทดลองเพาะเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ภายในศูนย์ฟื้นฟูแห่งหนึ่ง แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหายากชนิดนี้ค่อยๆ ล้มตายลงที่ละตัวจนหมดทุกตัวภายในเวลาไม่กี่เดือน ต่างไปจากสัตว์หายากชนิดอื่นๆ ซาวลาไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นอกถิ่นที่อาศัยตามธรรมชาติ การไล่ล่าเพื่อเอาเขาทำให้พวกนี้รอวันสูญพันธุ์ไปจากโลก.</b>
<bR><FONT color=#000033>ชื่อแรก <i>Pseudoryx </i> แสดงกลุ่มวงศ์วานว่านเครือที่สังกัด.. <i>Pseudo- </i> แปลว่า เทียมๆ, ไม่จริง และ <i>Oryx </i> เป็นกวางป่าที่ละม้ายไปทางละมั่งในแอฟริกา ซาวลาก็จึงเป็น กวางโอริกซ์เทียมๆ ส่วน <i>nghetinhensis </i>เป็นชื่อย่อของ 2 จังหวัดในเวียดนามคือ เหงะอาน (Nghệ An) กับ ห่าตี๋ง (Hà Tĩnh) ที่ตั้งของผืนป่าอันเป็นแหล่งที่พบซาวลาตัวเป็นๆ ครั้งแรก.</b>
<bR><FONT color=#000033>ภาพที่มีการถกเถียงกันมากว่า ซาวลาตัวนี้กลายเป็นดาราหน้ากล้องจากที่ใดกันแน่ ในเขตป่าสงวนของลาวหรือในเวียดนาม กว่า 10 ปีมานี้ มีการจับภาพซาวลาได้หลายครั้ง แต่เพิ่งจับได้ตัวเป็นๆ ครั้งแรกในแขวงบอลิคำไซของลาวในเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว ซาวลาเพศเมียที่ถูกนำออกจากป่าตัวนั้นสิ้นชีวิตลงในเวลาเพียงข้ามวัน. </b>
<bR><FONT color=#000033>งามดั่งเดือนและดาว ไม่ทราบผู้ใดตั้งฉายาเอาไว้ให้ ซาวลาเพศผู้ตัวนี้เป็นดาราหน้ากล้องของเจ้าหน้าที่ธนาคารโลก ระหว่างการสำรวจเขตป่าสงวนนากาย-น้ำเทิน ในแขวงคำม่วนของลาว ก่อนจะเริ่มก่อสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 แขวงคำม่วนกับแขวงบอลิคำไซของลาวมีเขตแดนติดกับ จ.เหงะอานกับ จ.ห่าตี๋ง ของเวียดนามเกิดเป็นผืนป่ากว้างใหญ่ เป็นถิ่นที่อาศัยใหญ่ที่สุดของซาวลา.</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น