xs
xsm
sm
md
lg

การสำรวจเร็วๆ นี้ ยังพบสมเสร็จในป่าตะนาวศรีของพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366FF>ภาพจากวิกิพีเดีย ที่ไม่มีคำบรรยาย เป็นสมเสร็จในสวนสัตว์แห่งหนึ่งดูอิ่มหมีพีมีน ในขณะที่ญาติๆ ที่อาศัยในป่าธรรมชาติอันห่างไกลกำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะถูกตามไล่ล่า และผืนป่าธรรมชาติที่อาศัยลดลงเรื่อย ในพม่ามีโครงการรณรงค์พิทักษ์ป่าและสัตว์ป่าเหล่านี้ในเขตตะนาวศรี</FONT></bR>
ไปรู้จักสมเสร็จในวิกิพีเดีย

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- การสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ ยังพบตัวสมเสร็จ (Tapir) อยู่ในเขตป่าเขาตะนาวศรีของพม่า มีการประกาศเรื่องนี้ระหว่างเปิดโครงการ 4 ปีพิทักษ์สัตว์ป่า ในเขตพิทักษ์ธรรมชาติตะนาวศรี (Tanintharyi Nature Reserve) ที่ครอบคลุมป่าสงวน 2 แห่ง พื้นที่กว่า 402,000 เอเคอร์ หรือ กว่า 1 ล้าน 5 หมื่นไร่

โครงการพิทักษ์ป่าและสัตว์ป่าดังกล่าวเป็นโครงการ 4 ปี ระยะที่ 2 ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากบริษัทขนส่งก๊าซเมาะตะมะ (Mottama Gas Transportation Company) กับบริษัทท่อก๊าซตะนาวศรี (Tanintharyi Pipeline Company) แห่งละ 600,000 ดอลลาร์

ศูนย์พิทักษ์ฯ ตั้งอยู่ที่เมืองเยบู (Yebyu) ใกล้กับเมืองทวาย (Dawei) ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของแคว้นตะนาวศรี และ ท่อส่งก๊าซจากแหล่งเมาะตะมะไปยังประเทศไทยก็อยู่ในอาณาบริเวณนี้ ทั้งนี้เป็นรายงานของนิตยสารข่าวเมียนมาร์ไทมส์

โครงการนี้มุ่งสร้างการรับรู้ โดยให้การศึกษาแก่ราษฎรในท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตสินค้าจากป่าอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งการลาดตระเวนป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าและการล่าสัตว์ป่า ซึ่งกฎหมายป่าไม้ของพม่าระบุโทษจำคุกผู้กระทำผิดถึง 7 ปี หรือปรับถึง 50,000 จ๊าต (ราว 1,500 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาด)

เพื่อการนี้จะมีการเพิ่มเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเป็น 2 เท่า จาก 21 เป็น 43 คน เมียนมาร์ไทมส์กล่าว

ช่วงแรกของโครงการเป็นการศึกษาและสำรวจต้นไม้และสัตว์ป่าที่มีอัตราเสี่ยง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แสดงความห่วงใยต่อการลดลงของผืนป่าที่ปกคลุมเขตพิทักษ์ธรรมชาติตะนาวศรี รวมทั้งการคุกคามสัตว์ป่าธรรมชาติในท้องถิ่น จึงกำหนดประเภทของสัตว์ป่าที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ 5 ชนิด และ ประเภทที่ใกล้สูญพันธ์อย่างยิ่งยวดอีก 5 ชนิด

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตกอยู่ในอันตรายและใกล้สูญพันธุ์จากป่าธรรมชาติในเขตตะนาวศรี ยังรวมทั้งช้าง เสือ สมเสร็จ ชะนี หมีควาย (Black Asiatic Bear) และหมีหมา (Moon Bear) ด้วย
<bR><FONT color=#3366FF>ภาพจากวิดิพีเดียไม่ได้ะบุวันถ่าย เป็นสมเสร็จสายพันธุ์มะลายู เพศผู้กับเพศเมียในป่าธรรมชาติ</FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366FF>สมเสร็จมีญาติอยู่ทั่วโลก แต่ทุกๆ แห่งมีชะตากรรมเดียวกันคือ ใกล้สูญพันธุ์เต็มที หน้าตาดูจะไม่แตกต่างกันมาก แต่สีสันและลวดลายตามตัวเป็นสิ่งบ่งชี้ถิ่นกำเนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์นี้ </FONT></bR>
ภาพถ่ายดาวเทียมในปี 2549 แสดงให้เห็นว่า 77% ของเขตพิทักษ์ธรรมชาติครอบคลุมด้วยป่าเขียวขจี แต่ก็ลดลง 3% จากปี 2543 คณะกรรมการโครงการกำลังหาภาพถ่ายดาวเทียมที่เป็นปัจจุบัน เพื่อดูว่าป่าพื้นที่ป่าลดลงอีกหรือไม่อย่างไร เมียนมาร์ไทมส์ กล่าว

ตามรายงานบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมเสร็จมีเขตแพร่กระจายจากพม่าตอนใต้ไปตามพรมแดนด้านทิศตะวันตกของประเทศไทยลงไปสุดแหลม มลายูและเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ในประเทศไทยเคยพบสมเสร็จในป่าดิบตามแนวเทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรีและป่าทั่วภาคใต้

ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดสมเสร็จไว้ใน Appendix I เป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ พรานป่านิยมล่าเพื่อเอาเนื้อและหนัง เพราะมีขนาดใหญ่ เนื้อรสขาดดี คล้ายเนื้อหมู และนิสัยไม่ดุร้าย จึงล่าได้ง่าย

การบุกรุกทำลายป่าดิบชื้น ของภาคใต้ซึ่งเป็น แหล่งที่อาศัยสำคัญและจำเป็นของสมเสร็จ เป็นผลให้ประชากรของสมเสร็จลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจนน่าวิตก
<bR><FONT color=#3366FF>ภาพวาดแสดงให้เห็นแม่สมเสร็จกับลูกน้อยที่เกิดมามีลายแตงไทย แต่ลายตามลำตัวจกค่อยๆ หายไปเมื่ออายุได้ 7-8 เดือน สมเสร็จตั้งท้อง 13 เดือนกว่าจะตกลูก 1 ตัว </FONT></bR>
กำลังโหลดความคิดเห็น