xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามทำถนนอีกสาย เชื่อมกัมพูชา มาได้ถึงกรุงเทพฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>จุดเชื่อมต่อ-- ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 นักพนันชาวเวียดนามลงจากรถเดินเท้าเพื่อผ่านการตรวจคนเข้าเมืองที่ด่านแปร็กจัก (Prek Chak) เพื่อเข้าไปยังบ่อนไก่หลายแห่งใน จ.แก๊บ (Kep) ของกัมพูชา เบื้องหลังคือด่านตรวจคนเข้าเมืองส่าเสีย (Xa Xia) จ.เกียนซยาง (Kien Giang) ที่นี่กำลังจะเป็นจุดผ่านสำคัญบนถนนสายยาวเวียดนาม-กัมพูชา-ไทย จนถึงกรุงเทพฯ </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการรายวัน/เตื่อยแจ๋ - การก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงเวียดนามความยาว 220 กม. จะเริ่มในเดือนมี.ค. นี้ เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายนานาชาติที่เชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชาและไทย จนถึงกรุงเทพฯ โดยจะเป็นทางลาดยางตลอดสาย

จากการเปิดเผยของคณะกรรมการจัดการโครงการ ถนนสายใหม่นี้เริ่มจาก จ.ก่าเมา (Ca Mau) ตัดผ่าน จ.เกียนซยาง (Kien Giang) จนถึงชายแดนกัมพูชา มีมูลค่าการลงทุน 440 ล้านดอลลาร์ สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้และออสเตรเลีย ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)

ทันทีที่การก่อสร้างถนนสายนี้เสร็จสิ้น ถนนที่อยู่ในส่วนของเวียดนามจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบถนนที่มีความยาวเกือบ 1,000 กม. ซึ่งมีชื่อเรียกที่รู้จักกันดีคือ "ระเบียงขนส่งใต้ชายฝั่งทะเล" (GMS Southern Coastal Corridor) โดยมีจุดเริ่มที่ อ.นามเกิ่น (Nam Can) จ.ก่าเมา ทางตอนใต้สุดของเวียดนาม ตัดผ่านเข้าสู่กัมพูชา ไปจนถึงกรุงเทพฯ

สำหรับเวียดนามถนนสายใหม่จะสร้างโอกาสให้กับ จ.เกียนซยางและ จ.ก่าเมา อย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจและการส่งเสริมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว นายซเวืองเตี๋ยนยวุ๋ง (Duong Tien Dung) รองประธานกรรมการประชาชน จ.ก่าเมา กล่าว

ผู้เชี่ยวชาญจาก ADB กล่าวว่า ถนนเส้นนี้สร้างผ่านจังหวัดที่ยากจนของทั้ง 3 ประเทศเป็นหลัก จะช่วยทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมพื้นฐานและกระตุ้นให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีการพัฒนา

ปีที่แล้วธนาคารพัฒนาเอเชียได้ช่วยรัฐบาลกัมพูชาปรับปรุงส่วนปลายของทางหลวงสายหนึ่งระยะทาง 20 กม.เศษ ไปยังด่านชายแดนกัมพูชาเวียดนามที่แปร็กจัก (Prek Chak) ใน จ.แก๊บ (Kep) เชื่อมต่อเข้ากับระบบถนนของเวียดนามในเขต อ.ห่าเตียน (Ha Tien) จ.เกียนซยาง

ถนนระเบียงขนส่งใต้เลียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในนิยามของเอดีบี ก่อเกิดขึ้นในกรอบความร่วมมือของกลุ่มอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือ GMS (Greater Mekong Sub-region) ที่กัมพูชา เวียดนาม ไทย พม่า ลาวและจีน (มณฑลหยุนหนัน-กว่างซี) ร่วมเป็นสมาชิก

จากชายแดนเวียดนามถนนจะตัดผ่าน จ.แก๊บ กัมโป้ต (Kampot) พระสีหนุ (Preah Sihanouk) และ เกาะกง (Koh Kong) เข้าสู่ระบบทางหลวงของไทยที่ด่านชายแดนจัมเยียม-บ้านหาดเล็ก ใน อ.คลองใหญ่ จ.ตราด.
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 หันหน้ากลับเข้าสู่ดินแดนกัมพูชาที่ด่านแปร็กจัก (Prek Chak) เครื่องจักรกลและรถเกรดกำลังทำงาน ปรับปรุงปลายทางหลวงที่มีความยาว 20 ก.ม.เศษ ด้วยความช่วยเหลือของธนาคารพัฒนาเอเชีย เพื่อเชื่อมด่านชายแดนแห่งนี้เข้ากับระบบถนนของประเทศ เพื่อนบ้านคือ กัมพูชากับไทย </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 ย้อนกลับเข้าไปในดินแดนกัมพูชาเพียงเล็กน้อย สภาพทางหลวงส่วนปลายที่มีความยาวเพียง 20 กม.เศษ ยังเป็นถนนปูดินที่มีฝุ่นแดงคละคลุ้งยามยวดยานแล่นผ่าน เอดีบีกำลังช่วยพัฒนายกระดับให้ใช้งานได้ทุกฤดู ที่กำลังจะเป็นเส้นทางแห่งการค้าขาย การขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวที่เฟื่องฟู รับกับทางหลวงสายใหม่ในเวียดนาม </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 รถส่วนตัวของนักพนันจากเวียดนามจอดที่บริเวณด่าน เบื้องหลังเป็นโรงแรมกาสิโนหรูของนักลงทุนจากสหรัฐฯ ที่กำลังเร่งก่อสร้างให้ทันเปิดให้บริการเดือน เม.ย.2553 นี้ แต่นี่ก็เป็นเพียง 1 ใน 3 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้สร้างขึ้นที่ด่านชายแดนแปร็กจัก (Prek Chak)   </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 ขยับเข้าไปยังด่านชายแดนส่าเสีย (Xa Xia) อ.ห่าเตียน (Ha Tien) จ.เกียนยาง (Kiem Giang) จะมองเห็นโรงแรมกาสิโนที่กำลังก่อสร้างในฝั่งกัมพูชา ราษฎรชาวเวียดนามดับเครื่องยนต์และจูงรถมอเตอร์ไซค์ครู่ชีพเตรียมเข้ากระบวนการตรวจคนเข้าเมือง</FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 นักท่องเที่ยวจากประเทศไทยรายนี้แอ็กชั่นให้เพื่อนร่วมทางถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ที่บริเวณด้านหน้าด่านตรวจคนเข้าเมืองส่าเสีย (Xa Xia) อ.ห่าเตียน จ.เกียนยาง (Kien Giang) เอดีบีกล่าวว่าที่นี่กำลังจะเป็นจุดสำคัญบนระเบียงขนส่งใต้เลียบชายฝั่ง จากเวียดนาม ผ่านเข้ากัมพูชามุ่งสู่กรุงเทพฯ  </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 พ้นด่านส่าเสีย (Xa Xia) เข้าไปไม่ไกลจะเห็นการทำมาค้าขายที่คึกคักมากกว่าฝั่งกัมพูชา นี่คือส่วนปลายของทางหลวงสายใหม่จาก จ.ก่าเมา (Ca Mau) ที่อยู่ไกลออกไป 300 กม.เศษ สร้างขึ้นด้วยความช่วยเหลือของเอดีบี ออสเตรเลียและเกาหลี โดยสร้างขนานกับถนนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมายั่งด่ายชายแดนแห่งนี้เพื่อเชื่อมต่อกับไทย  </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 ราษฎร อ.ห่าเตียน (Ha Tien) จ.เกียนยาง (Kien Giang) จูงรถจักรยานข้ามสะพานแห่งหนึ่ง เบื้องหลังคือ หมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ที่อยู่ริมทางหลวง และ ริมฝั่งทะเลอ่าวไทยของเวียดนาม ที่นี่กำลังจะมีทางหลวงสายใหม่พาดผ่าน ซึ่งธนาคารพัฒนาเอเชียกล่าวว่าจะช่วยส่งเสริมการทำมาค้าขายและการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 รถตู้โดยสารประจำทางยี่ห้อฟอร์ด ทรานสิต กำลังแล่นตามทางหลวงสาย 88 จาก อ.ห่าเตียน (Ha Tien) ไปยัง อ.แร็กหยา (Rach Gia) จ.เกียนยาง (Kien Giang) ถนนสายนี้กำลังได้รับการพัฒนายกระดับ ขยายให้มี 4 ช่องทางจราจรตลอดสาย จาก จ.ก่าเมา (Ca Mau) จนถึงด่านชายแดนส่าเสีย (Xa Xia) </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 ผู้คนพลุกพล่านขณะรถยนต์แล่นผ่านย่านตลาด อ.แร็กหยา (Rach Gia) ในช่วงเวลาพักเที่ยงวัน ที่นี่คืออำเภอศูนย์กลางของ จ.เกียนยาง (Kien Giang) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม ถนนสายนี้กำลังได้รัการพัฒนายกระดับให้มี 4 ช่องทางจราจร เพื่อเชื่อมต่อเข้าประเทศเพื่อนบ้านคือกัมพูชาและไทย   </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 บริเวณสามแยก ห่างออกไปจากเทศบาล อ.แร็กหยา นครเกิ่นเทอ (Can Tho) ศูนย์กลางในเจตที่ราบปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม อยู่ห่างออกไปอีกเพียง 55 กม. จ.ก่าเมา (Ca Mau) ก็ไม่ไกลไปกว่ากัน และจากที่นี่ไปถึงนครโฮจิมินห์ระยะทางก็เหลืออีกเพียง 200 กม.เศษ เมื่อทางหลวงสายใหม่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แม้กรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยก็จะอยู่ไม่ไกล </FONT></bR>
กำลังโหลดความคิดเห็น