xs
xsm
sm
md
lg

ใช้มาปีเศษทางหลวง 48 ไทยสร้างพังแล้ว เขมรบ่นด้อยมาตรฐาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#cc00cc>ปีเศษพังยับ -- ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 รถยนต์ 2 คันในภาพนี้กำลังแล่นหลบหลีกพื้นผิวจราจรที่ชำรุดเสียหายในเขตป่าสงวนแห่งชาติคีรีรมย์ (Kirirom) บนทางหลวงหมายเลข 48 เกาะกง-สเรอัมเบล (Sre Ambel) ที่สร้างขึ้นด้วยเงินกู้ผ่อนปรนจากประเทศไทย ออกแบบโดยกรมทางหลวง และสร้างโดยบริษัทรับเหมาจากไทย เปิดใช้งานมาเพียงปีเศษ ถนนแอสฟัลต์ความยาวกว่า 150 กม.เสียหายไปหลายช่วง เจ้าหน้าที่กัมพูชากล่าวว่าคุณภาพของถนนต่ำกว่ามาตรฐาน. </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการรายวัน-- เปิดใช้งานมาได้เพียงปีเศษ ทางหลวงสาย 48 เกาะกง-สเรอัมเบล (Koh Kong-Sre Ambel) ที่สร้างด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยเกือบ 900 ล้านบาท อยู่ในสภาพเสียหายค่อนข้างหนัก ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลกัมพูชากล่าวว่าการก่อสร้างต่ำกว่ามาตรฐานหากเทียบกับถนนสายหลักอื่นๆ ในภาคใต้ของประเทศเช่นเดียวกัน และ ยังสร้างขึ้นด้วยเงินทุนที่ต่ำมากอีกด้วย

"ราดยางไม่หนาพอ.. บางมาก หากเทียบกับทางหลวงเลข 4 ที่สร้างโดยรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ ทางหลวงเลข 3" นายดมยุ๊กเฮียง (Dom Yuk Heang) รองผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง กล่าวในสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างบรรยายสรุปต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ซึ่งนำผู้สื่อข่าวจาก 4 ประเทศ ไทย อินโดนีเชีย กัมพูชาและเวียดนาม สำรวจถนนระเบียงขนส่งสายใต้เลียบชายฝั่งทะเล

รอง ผวจ.เกาะกง กำลังเปรียบเทียบทางหลวงสาย 48 กับสาย 4 ระหว่างกรุงพนมเปญ-สเรอัมเบล-สีหนุวิลล์ กับทางหลวงเลข 3 จากสีหนุวิลล์ไปยัง จ.กัมโป้ต (Kampot) และ จ.ตาแกว (Ta Keo) ที่อยู่ในอาณาบริเวณภาคใต้ของประเทศเช่นเดียวกัน

"สภาพของถนน (การก่อสร้าง) ไม่เหมาะกับสภาพท้องที่ เรายอมรับว่าน้ำป่ากับยวดยานที่ใช้ถนนมากขึ้นมีส่วนสำคัญทำให้ทางหลวง 487 ผุพังลงเร็ว แต่การก่อสร้างที่ต่ำกว่ามาตรฐานก็เป็นสาเหตุสำคัญ" รอง ผวจ.เกาะกง ระบุเพื่อถูกถามเรื่องนี้

ออกนอกเขตเทศบาลเมืองเกาะกงไปไม่กี่กิโลเมตร ผู้สื่อข่าวที่ร่วมไปในคณะของเอดีบีได้เห็นผิวการจราจรที่มีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อเป็นช่วงๆ และ มีหลายช่วงที่พื้นผิวถนนเสียหายเป็นทางยาวนับร้อยเมตร รถยนต์ต้องชะลอความเร็วและแล่นหลบหลีก บางช่วงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากความเสียหายเกิดขึ้นในช่วงทางโค้งหรืออยู่บนผาสูง

รอง ผจว.เกาะกงกล่าวอีกว่า กระทรวงขนส่งได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อสำรวจความเสียหายของทางหลวงหมาเยเลข 48 ตลอดทั้งสายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้จัดงบประมาณส่วนหนึ่งให้กระทรวงดังกล่าวทำการซ่อมแซมผิวจราจรเป็นการชั่วคราว
<bR><FONT color=#cc00cc>ไม่เหมาะกับภูมิประเทศ--  ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 ถ่ายจากรถบัสโดยสารขณะแล่นไปตามความลาดชันของภูเขาในเขตป่าสงวนคีรีรมย์ (Kirirom) ตามทางหลวงเลข 48 ในเขต จ.เกาะกง ที่ออกแบบโดยกรมทางหลวง สร้างโดยบริษัทไทยและด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลไทย เจ้าหน้าที่กัมพูชากล่าวว่า ถนนออกแบบมาไม่เหมาะกับสภาพภูมิประเทศและยังสร้างไม่ได้มาตรฐาน ราดยางเอาไว้บางมาก ทำให้พื้นผิวชำรุดเร็วเมื่อเกิดน้ำป่าไหลหลาก </FONT></bR>
ผู้สื่อข่าวที่ร่วมคณะของเอดีบีไปสำรวจเส้นทาง ได้เห็นการปิดกั้นถนนเพื่อซ่อมแซมพื้นผิวจราจรเป็นช่วงๆ ตั้งแต่เกาะกงไปจนถึง อ.สเรอัมเบล หรือ "นาเกลือ" รวมระยะทาง 152 กม.เศษ

อย่างไรก็ตาม นายเฮียงกล่าวว่า ทางหลวงเลข 48 ได้สร้างมิติใหม่ในการคมนาคมขนส่งของจังหวัด ซึ่งก่อนหน้าจะมีการก่อสร้างทางหลวงสายนี้ เกาะกงเหมือนถูกตัดขาดจากทั้งประเทศ การเดินทางจากพนมเปญไปที่นั่นจะใช้เวลาข้ามสัปดาห์ จะต้องขับรถขึ้นลงไปตามความลาดชันของภูเขา และ ลงเรือแพข้ามลำน้ำถึง 4 สาย

"ถ้าหากไม่มีถนนที่รัฐบาลไทยช่วยสร้าง ป่านนี้ก็คงจะยังไม่มีใครเดินทางมาที่นี่มากมายเหมือนในวันนี้" นายเฮียงกล่าว

รัฐบาลกัมพูชาทำพิธีเปิดใช้ทางหลวงเลข 48 อย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ก.ค.2551 โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนเป็นประธาน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กับ นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของฝ่ายไทยและกัมพูชาจำนวนมากร่วมในพิธี

รัฐบาลไทยสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่รัฐบาลกัมพูชา 567.8 ล้านบาท สำหรับการสร้างถนน ต่อมาได้สนับสนุนเงินให้เปล่าอีก 300 ล้านบาท สำหรับสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามลำน้ำ 4 สาย ตามรายทาง

กรมทางหลวงของไทยเป็นผู้ออกแบบ และมีการทำสัญญาก่อสร้างในวันที่ 2 ก.ค.2548 โดยบริษัท สหการวิศวกร จำกัด จากประเทศไทยเป็นผู้รับเหมา มีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 21 มิ.ย. 2550 แต่เกิดปัญหาล่าช้า ต้องต่อสัญญาออกไปถึงวันที่ 24 ธ.ค. 2550
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 รถยนต์คันนี้กำลังมุ่งหน้าสู่เกาะกง และแล่นผ่านช่วงที่มีการซ่อมแซมพื้นผิวจราจรบนทางหลางสาย 48 ซึ่งช่วงนี้เสียหายไม่มาก หลังจากใช้งานมาได้ปีเศษ ถนนอยู่ในสภาพที่ต้องซ่อมแซมครั้งใหญ่ รอง ผจว.เกาะกงกล่าวว่า คณะกรรมการระดับกระทรวงที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น กำลังจะลงสำรวจพื้นที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว</FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 ไกลออกไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติคีรีรมย์ (Kirirom) มีการปิดกั้นทางหลวงสาย 48 หลายช่วงเพื่อซ่อมแซม หลังจากใช้งานมาได้ปีเศษ ถนนอยู่ในสภาพที่ต้องซ่อมแซมครั้งใหญ่ รอง ผจว.เกาะกงกล่าวว่า คณะกรรมการระดับกระทรวงที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น กำลังจะลงสำรวจพื้นที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552  สะพานพุมดวง (Pum Daung) ข้ามลำน้ำอาไต (Stung Atay) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติคีรีรมย์ (Kirirom) เป็นหนึ่งในสะพานจำนวน 4 แห่งที่รัฐบาลไทยช่วยเหลือแบบให้เปล่าเป็นเงิน 300 ล้านบาทสำหรับก่อสร้าง นอกเหนือจากทางหลวงสาย 48 ที่สร้างด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีกก้อนหนึ่งต่างหาก แต่หลังจากเปิดใช้งานมาปีเศษ ถนนอยู่ในสภาพที่จะต้องซ่อมแซมครั้งใหญ่ตลอดทั้งสาย </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 ไม่ไกลจากลำน้ำสายแรกจากเกาะกง ราษฎรกัมพูชาสองฝั่งได้นำสินค้าออกจำหน่ายแก่นักเดินทางที่ผ่านไปมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าการเกษตรที่ผลิตได้ในท้องถิ่น รอง ผจว.เกาะกงกล่าวว่า ถ้าหากปราศจาคถนนที่รัฐบาลไทยช่วยก่อสร้าง ก็อาจจะยังไม่มีผู้คนเดินทางไปยังจังหวัดที่ห่างไกลแห่งนี้เป็นจำนวนมากมายเช่นในปัจจุบัน แม้ว่าทางหลวงสายนี้จะสร้างได้คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานก็ตาม  </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 นักท่องเที่ยวอุดหนุนผลไม้ ที่ราษฎรกัมพูชานำออกวางจำหน่ายริมทางหลวงสาย 48 เมื่อมีถนนก็มียวดยานเข้าไปใช้ในการสัญจร เกิดการขนถ่ายสินค้าและผู้คน ทำให้เกิดธุรกิจบริการต่างๆ ติดตามมา กลายเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจทั้งในท้องถิ่นและในระดับชาติ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) กำลังร่วมมือช่วยเหลือรัฐบาลเวียดนาม กัมพูชาและไทย ในการพัฒนายกระดับเส้นทางขนส่งเลียบชายฝั่งทะเลอ่าวไทย </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 สภาพผิวจราจรในอีกช่วงหนึ่งของทางหลวงสาย 48 แม้จะเสียหายไม่มากหากเทียบกับอีกหลายช่วงในเขตป่าสงวนคีรีรมย์ (Kirirom) แต่ก็จะพบเห็นการชำรุดเช่นนี้ตลอดเส้นทางความยาวกว่า 150 กม. ความเสียหายเกิดขึ้นหลังจากเปิดใช้เพียงปีเศษเท่านั้น เจ้าหน้าที่กัมพูชากล่าวว่าราดยางมีความหนาไม่เพียงพอที่จะรองรับการสัญจร การขนส่งสินค้าและการกัดเซาะจากกระแสน้ำป่าในช่วงฤดูฝน   </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 รถยนต์คันนี้กำลังมุ่งหน้าสู่เกาะกงผ่านช่วงโค้งของทางหลวงสาย 48 ช่วงที่ตัดผ่านเขตป่าสงวนแห่งชาติคีรีรมย์ (Kirirom) สองข้างทางมีทัศนียภาพเป็นป่าที่เขียวชะอุ่ม กับเทือกเขากระวัญ (Kravanh) หรือ เทือกเขาคาร์ดามอม (Cardamom) ที่มีความสวยงาม รัฐบาลกัมพูชาหมายมั่นจะให้เป็นเขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ทางหลวงสายนี้ตัดผ่านเขตป่าสงวนแห่งชาติถึง 2 แห่งตลอดเส้นทาง ในท้องที่จังหวัดเดียวกัน</FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 แผ่นป้ายโฆษณาของรัฐบาล ยินดีต้อนรับสู่เขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เทือกเขาคาร์ดามอม เจ้าหน้าที่กัมพูชากล่าวว่า ก่อนจะมีการฟื้นฟูบูรณะและก่อสร้างทางหลวงสาย 48 ยังมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ทั้งช้างและเสือ เดินข้ามไปมาให้เห็นเป็นจำนวนมาก สัตว์ป่าเหล่านี้ได้หายหน้าไป เมื่อมียวดยานเข้าใช้ทางหลวงสายนี้มากขึ้น แต่การพัฒนาการท่องเที่ยวก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าหากไม่มีถนนเข้าถึง   </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 สภาพป่าเขาในเขตป่าสงวนแห่งชาติคีรีรมย์ (Kirirom) จ.เกาะกง ทอดยาวสุดลูกหูลูกตา เมื่อมองจากทางหลวงสาย 48 ที่รัฐบาลไทยช่วยกัมพูชาก่อสร้างด้วยเงินกู้ผ่อนปรนและเงินให้เปล่า ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศนี้เป็นเขตป่าเขาที่มีทัศนียภาพสวยงามยิ่ง เจ้าหน้าที่กัมพูชากล่าวว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในเขตนี้มีศักยภาพสูงมาก และ ทางหลวงสายนี้เข้าไปมีบทบาทสำคัญ</FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 รถยนต์คันนี้แล่นผ่านช่วงโค้งของทางหลวงสาย 48 และ กำลังแล่นขึ้นไปตามความชันของช่องเขาในเขตป่าสงวนแห่งชาติคีรีรมย์ (Kirirom) จ.เกาะกง ซึ่งจะมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงามตามธรรมชาติอยู่เบื้องหลัง หลายช่วงของทางหลวงสายนี้เกิดการชำรุดเสียหายอย่างหนักในช่วงที่อยู่บนความลาดชัน และวงโค้งตามไหล่เขา ซึ่งมีอันตายอย่งยิ่งสำหรับยวดยานที่สัญจรไปมา </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 เจ้าหน้าที่ของกัมพูชายอมรับว่าการคมนาคมขนส่งตามทางหลวงสาย 48 ซึ่งมียวดยานเข้าไปใช้มากขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้ถนนผุกร่อนอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการกัดเซาะของน้ำป่า แต่การก่อสร้างที่ต่ำกว่ามาตรฐานและใช้งบประมาณน้อยก็เป็นสาเหตุสำคัญไม่แพ้กัน ถึงกระนั้นกว่า 1 ปีที่ผ่านมาทางหลวงสายนี้ก็มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของ จ.เกาะกง ที่อยู่ห่างไกลจนสุดเขตแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 สภาพผิวจราจรที่ชำรุดเสียหายหนักในอีกช่วงหนึ่งของทางหลวงสาย 48 หลังจากผ่านพ้นเขตป่าสงวนแห่งชาติคีรีรมย์ออกไปตามเส้นทางที่มุ่งหน้าสู่ อ.บัวตูมสาคร (Botom Sakor) ทางหลวงที่ไทยช่วยสร้างชำรุดเสียหายหนักตลอดสาย หลังเปิดใช้มาเพียงปีเศษ และรัฐบาลกัมพูชากำลังจะต้องซ่อมแซมครั้งใหญ่ตลอดระยะทางกว่า 150 กม. </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 แผ่นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ของพรรคประชาชนกัมพูชาพบเห็นได้เป็นช่วงๆ ตลอดเส้นทางของทางหลวงสาย 48 เกาะกง-เสรอัมเบล มีความเจริญไปถึงที่ไหนก็จะเห็นภาพของ สมเด็จทั้งสาม อยู่ที่นั่น รัฐบาลไทยสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่กัมพูชา 567.8 ล้านบาท สำหรับสร้างถนน ต่อมาสนับสนุนเงินให้เปล่าอย่าง เป็นพิเศษ อีก 300 ล้านบาท สำหรับสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามลำน้ำ 4 สาย เงินให้เปล่าคิดเป็นสัดส่วนเกิน 30% จากหลักปฏิบัติที่ไทยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้าน </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 รถยนต์กำลังแล่นผ่านผิวจราจรที่ชำรุดเสียหายบนทางหลวงสาย 48 ในเขต อ.บัวตูมสาคร (Botom Sakor) จ.เกาะกง ในเขตที่เป็นพื้นราบ ทางหลวงไทยช่วยสร้างสายนี้ก็มีสภาพไม่ต่างกันกับช่วงที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามความลาดชันของเนินเขา เจ้าหน้าที่จังหวัดนี้กล่าวว่า คุณภาพของถนนต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่เหมาะกับสภาพท้องถิ่น และ สร้างด้วยงบประมาณที่ต่ำมากหากเทียบกับทางสายอื่นๆ ในละแวกเดียวกัน </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 คนงานกำลังจัดตั้งอุปกรณ์เตรียมราดยางใหม่ พื้นผิวจราจรที่ชำรุดเสียหาย บนทางหลวงสาย 48 ในท้องที่ อ.บัวตูมสาคร (Botom Sakor) จ.เกาะกง ที่นี่เป็นช่วงที่ค่อนไปยังช่วงปลายของถนนซึ่งไปเชื่อมกับทางหลวงเลข 4 แนวเหนือใต้ที่ อ.เสรอัมเบล (Sre Ambel) จังหวัดเดียวกัน ทางหลวงที่ไทยช่วยก่อสร้างชำรุดเสียหายหนักตลอดระยะทางกว่า 150 กม. หลังเปิดใช้มาได้เพียงปีเศษ </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 บนช่วงหนึ่งของทางหลวงเลข 4 (พนมเปญ-พระสีหนุ) ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ช่วยก่อสร้าง ทางหลวงสายนี้ผ่านการใช้งานหนักมานานนับสิบปี เป็นเส้นทางสายหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือกับเมืองหลวง แต่สภาพพื้ยผิวจราจรมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับทางหลวงสาย 48 ที่ไปเชื่อมต่อกัน ปัจจุบันทางการกัมพูชากำลังขยายทางหลวงสาย 4 ให้มี 4 ช่องทางจราจร </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 รถบัสโดยสารประจำทางจากกรุงพนมเปญ มุ่งสู่ จ.พระสีหนุ (Preah Sihanouk) ต่องหลีกลงข้างทาง เปิดทางให้กับรถของกองทัพที่บรรทุกติดตั้งจรวดเต็มพิกัด ขณะแล่นจากทางทิศใต้ขึ้นเหนือไปตามทางหลวงเลข 4 ด้วยความเร็วสูง มุ่งหน้าเข้ากรุงพนมเปญ แม้จะผ่านการใช้งานหนักมานานนับสิบปี แต่ก็ยังมีสภาพดี และรัฐบาลกัมพูชากำลังพัฒนายกระดับทางหลวงสายนี้ให้มี 4 ช่องทางจราจร </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 25 พ.ย.2552 บริเวณลานเอนกประสงค์สำหรับตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าที่ท่าเรือพระสีหนุ (สีหนุวิลล์) ที่นี่เป็นปลายทางสำคัญอีกแห่งหนึ่งสำหรับการขนส่งทางทะเลในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) ขณะที่ทางหลวงสาย 48 ที่รัฐบาลไทยช่วยกัมพูชาก่อสร้าง เป็นหนึ่งในระบบถนนใน 3 ประเทศไทย กัมพูชาและเวียดนาม ในโครงการ ระเบียงขนส่งสายใต้เลียบชายฝั่ง ที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี)  </FONT></bR>
ตามรายงานก่อนหน้านี้ การก่อสร้างทางหลวงสาย 48 ยังไม่เรียบร้อย 100% แต่รัฐบาลกัมพูชาได้รับมอบงานไปก่อน ก่อนที่จะมีการเปิดใช้อย่างเป็นทางการในอีกหลายเดือนต่อมา

ผู้สื่อข่าวที่เดินทางร่วมคณะได้เห็นความแตกต่างระหว่างทางหลวงเลข 48 กับทางหลวงเลข 4 ที่ดูแข็งแกร่งแม้ว่าจะผ่านการใช้งานมาอย่างหนักเป็นเวลานานนับสิบปี เนื่องจากเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือเพียงแห่งเดียวของประเทศกับเมืองหลวง

เจ้าหน้าที่กัมพูชากล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลกำลังซ่อมบำรุงและบูรณะ พร้อมกับขยายทางหลวงเลข 4 ให้มี 4 ช่องจราจร โดยให้บริษัทของรัฐร่วมกับเอกชนเป็นผู้ลงทุนสัมปทานในรูปแบบบีโอที

ทางหลวงสาย 48 หรือ "ถนนสาย 10" (R10) ในสารระบบทางหลวงเอเชียของเอสแคป (ESCAP) เป็นเส้นทางสำคัญในการเชื่อมโยงกับทางหลวง 318 (ตราด – หาดเล็ก) ของไทย กับ จ.เกาะกง จ.พระสีหนุ (Preah Sihanouk) และกรุงพนมเปญ และยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการถนนสายเอเชีย (Asia Highway Network) เชื่อมท่าเรือทวายในพม่า แหลมฉบังของงไทยกับท่าเรือสีหนุวิลล์ ในกัมพูชา

ทางหลวงสายนี้ยังอยู่ในโครงการเชื่อมต่อการขนส่งทางบกเลียบชายฝั่งทะเลจากประเทศไทยไปจนถึงเมืองก่าเมา (Ca Mau) ในภาคใต้เวียดนาม ที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชียอีกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น