xs
xsm
sm
md
lg

พบโลมาอิรวดีท้องแฝด เกยตื้นตายในเขมร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มรอยเตอร์ วันที่ 24 มี.ค.2550 โลมาอิรวดีกำลังเล่นน้ำ เพลิดเพลินในล้ำน้ำโขง ที่หมู่บ้านกัมปี (Kampi) จ.สตึงแตร็ง (Stung Treng) ทางภาคตะวัตออกเฉียงเหนือของกัมพูชา แต่ใต้ลงไปใน จ.กัมปงจาม สัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ทางการพบโลมาอิรวดีท้องแฝดตายเกยตื้นอีก 1 ตัว นับเป็นตัวที่ 2 ที่เสียชีวิตในเดือนเดียว </FONT></b>

พนมเปญโพสต์-- เจ้าหน้่าที่จังหวัดกัมปงจาม พบโลมาอิรวดีที่กำลังตั้งท้องแฝดนอนตายเกยตื้นอีกตัว ในวันเสาร์ (23 ม.ค.) ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งที่ 2 ในเดือนเดียว ที่พบโลมาแม่น้ำตายเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์กล่าวกับพนมเปญโพสต์ในวันจันทร์

นายโต๊ดเสียงธนา (Touch Seang Tana) ประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอนุรักษ์โลมาแม่น้ำโขงแห่งกัมพูชา กล่าวว่าโลมาที่พบเสียชีวิตในวันเสาร์มีน้ำหนักกว่า 102 กก.

"เรารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อเรานำโลมาขึ้นฝั่งเพื่อจัดการให้เรียบร้อยเราถึงพบว่าภายในท้องของมันมีลูกโลมาน้อยอีก 2 ตัวหนักประมาณตัวละ 1 กก.รอคลอดออกมา" นายธนากล่าว

"โดยทั่วไป โลมาอิรวดีในกัมพูชาจะตกลูกระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงประมาณกลางเดือนธันวาคม แต่กรณีที่พบนี้ถือว่าแปลกมาก" นายโต๊ดกล่าวต่อ

เจ้าหน้าที่ผู้นี้ยังคงโศกเศร้ากับการตายของโลมาที่พบ โดยระบุว่าสาเหตุอาจจะเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือเป็นเพราะทำประมงลากอวนผิดกฎหมายในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตโลมา

ก่อนหน้านั้นในวันที่ 18 ม.ค. เจ้าหน้าที่ได้พบโลมาอีกตัวหนึ่งน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ตายอยู่ในพื้นที่ จ.สตึงแตร็ง (Stung Treng) ซึ่งเจ้าหน้าที่กล่าวว่า อาจเกี่ยวข้องกับการทำประมงลากอวนผิดกฎหมายเช่นกัน
<bR><FONT color=cc00cc>ภาพแฟ้มรอยเตอร์ วันที่ 24 มี.ค.2550 โลมาอิรวดีอีกตัวหนึ่งกำลังเล่นน้ำเพลิดเพลินในลำน้ำโขงที่บ้านกัมปี (Kampi)  จ.สตึงแตร็ง (Stung Treng) การเป็นมิตรกับมนุษย์นำอันตรายมาสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ไม่มีทางป้องกันตัวเองสายพันธุ์นี้ จำนวนเหลือน้อยลงทุกทีในล้ำน้ำโขง ทั้งในดินแดนลาวและกัมพูชา </FONT></b>
นายเตียกเส็ง (Teak Seng) ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund) ประจำกัมพูชากล่าวว่า ได้ส่งตัวอย่างจากโลมาที่ตายไปยังเยอรมนีเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ

"เราสงสัยว่าโลมา 1 หรือทั้ง 2 ตัวที่พบนี้ ตายเพราะการลากอวนของชาวประมง" เจ้าหน้าที่คนเดียวกันกล่าว

ปัญหาการเสียชีวิตของโลมาอิรวดีกลายเป็นจุดของการต่อสู้กันระหว่างรัฐบาลกัมพูชา และ WWF ในปี 2552 หลังจากกลุ่มอนุรักษ์ ตีพิมพ์รายงานซึ่งระบุว่า โลมาอิรวดีในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์

รายงานฉบับเดิมยังได้ระบุว่า ในปี 2546 มีโลมาอิรวดีตายไปทั้งหมด 88 ตัว โดย 60% ตายในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ และ มีการติดเชื้อแบคทีเรียด้วย

แต่นายธนากล่าวว่า งานวิจัยของเขาเอง ได้พบจำนวนประชากรโลมาเพิ่มขึ้นในปีช่วงไม่กี่ปีมานี้.
กำลังโหลดความคิดเห็น