xs
xsm
sm
md
lg

การบินลาวไปโลดถอยไอพ่นจีนป้ายแดง 2 ลำคู่แฝดโบอิ้ง!!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>โรงประกอบของ ARJ21-700 อยู่ในนครเซี่ยงไฮ้ ยืนยันออกแบบด้วยภูมิปัญญาของจีนทั้งหมด แต่ติด อุปกรณ์จากยุโรปและสหรัฐฯ ใช้เครื่องยนต์ของ GE ตั้งใจจะเจาะตลาดการบินในเอเชีย จนถึงปัจจุบันมีลูกค้าเซ็นสัญญาแล้ว 200 ลำ รวดเร็วทันใจไม่ต้องรอนาน เริ่มส่งมอบสิ้นปีนี้ ของลาว 2 ลำรับปี 2555 </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการออนไลน์-- การบินลาวเซ็นสัญญาซื้อเครื่องบินโดยสารอีก 2 ลำ พร้อมกัน เป็นเครื่องแบบ ARJ21-700 ที่ผลิตในจีน ซึ่งดูละม้ายคล้ายคลึงกับเครื่องบินโดยสารในครอบครัว DC-9 กับโบอิ้ง 717 ของค่ายสหรัฐ

เจ้าหน้าที่สายการบินลาวกล่าวว่า เครื่องบินไอพ่นสองลำแรกนี้ จะทำให้บริษัทการบินแห่งชาติสามารถขยายเส้นทางบินเชื่อมกับต่างประเทศได้ไกลยิ่งขึ้น

เครื่องบินโดยสารใหม่ทั้ง 2 ลำมีกำหนดส่งมอบในปี 2555 และ จะกลายเป็นเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์แบบไอพ่นลำแรกของสายการบินลาว ซึ่งปัจจุบันเครื่องบินทั้งหมดที่ใช้อยู่จะติดเครื่องยนต์แบบไอพ่นกึ่งใบพัดหรือ เทอร์โบพร็อพ (Turbo-Propeller engine)

นายสมพอน ดวงมาลา ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทการบินลาว กับนายจินจวงหลง (Jin Zhuanglong) ประธานบริษัทผู้ผลิตจากจีน จัดขึ้นในนครเวียงจันทน์วันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา นายสมมาด พนเสนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง พร้อมด้วยพนักงานที่เกี่ยวข้องไปร่วมเป็นสักขีพยาน สำนักข่าวสารปะเทดลาวกล่าว

ดร.สมพอน กล่าวว่าการเซ็นสัญญาซื้อเครื่องบินใหม่ครั้งนี้ แสดงให้เห็นการเติบโตทางธุรกิจของรัฐวิสาหกิจการบิน "จากที่เคยใช้เครื่องบินใบพัดก้าวเข้าสู่เครื่องบินไอพ่น" โดย ARJ ทั้งสองลำจะช่วยให้การบินลาวสามารถขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศที่กว้างไกลยิ่งขึ้น เป็นการพัฒนาสายการบินไปพร้อมกับการพัฒนาประเทศเป็นระยะ

ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับราคาซื้อขายตลอดจนอุปกรณ์พิเศษต่างๆ สำนักข่าวของทางการกล่าวว่า ARJ21-700 บรรทุกผู้โดยสารได้ 90 ที่นั่ง ขณะที่ข้อมูลของโรงงานระบุว่าบันทุกได้เพียง 78-85 คนท่านั้น

ARJ21-700 มีพิสัยการบิน 2,225 กิโลเมตรในรุ่นมาตรฐานและ 3,704 กม.ในรุ่นพิเศษ ผลิตจากโรงงานประกอบในนครเซี่ยงไฮ้ โดยใช้ชิ้นส่วนหลักต่างๆ จากสหรัฐฯ ขึ้นบินครั้งแรกในเดือน พ.ย.2551 กำหนดส่งมอบให้ลูกค้าชุดแรกในปลายปี 2553 นี้ ส่วนของสายการบินลาวต้องรออีก 2 ปี
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ ACAC ห้องโดยสารชั้นเฟิร์สต์คลาสแถวละ 5 ที่นั่ง ชั้นประหยัดก็ 5 ที่นั่งเท่ากัน แต่ระยะห่างต่างกัน ความสะดวกสบายก็คงจะพอประมาณสำหรับการบินเส้นทางสั้นๆ </FONT></bR>
ตามข้อมูลในวิกิพีเดียเครื่อง ARJ21-700 ผลิตโดยบริษัท Commercial Aircraft Corporation of China หรือ COMAC ทดลองบินระยะไกลครั้งแรกในเดือน ก.ค.2552 จากเซี่ยงไฮ้ไปยังนครซีอาน จนถึงสิ้นปี มีลูกค้าสั่งซื้อรวม 200 ลำ ปัจจุบันได้เปิดสายการผลิตรุ่น ARJ21-900 บรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 100 ที่นั่ง คาดว่าจะผลิตออกมาในเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2554

โครงการผลิตเครื่องบิน ARJ (Asia Regional Jet) หรือ เครื่องบินโดยสารเพื่อใช้งานในภูมิภาคเอเชียของจีนได้รับความร่วมมือจากบริษัทอากาศยานในสหรัฐฯ และยุโรปเกือบ 20 แห่ง รวมทั้ง General Electric ที่สนับสนุนด้านเครื่องยนต์ กลุ่มฮันนีเวล (Honeywell) ติดตั้งระบบบินอัตโนมัติ และ ร็อกเวลคอลลินส์ (Rockwell Collins) ซึ่งสนับสนุนด้านเทคโนโลยีเรดาร์และอุปกรณ์ดิสเพลย์ในห้องนักบิน และ ชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ จำนวนหนึ่ง

ถึงแม้ว่า ARJ21-700 จะออกแบบติดเครื่องยนต์ 2 เครื่องที่ส่วนท้ายลำตัว และเมื่อดูโดยรวมจะมีลักษณะและรูปร่าวหน้าตาละม้ายคล้ายกับโบอิ้ง 717 ที่ยังมีใช้อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ แต่ COMAC ก็ยืนยันว่า ทั้งหมดออกแบบโดยภูมิปัญญาของวิศวกรกับนักวิชาการอากาศยานของจีนเอง และได้จดสิทธิบัตรอย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้กล่าวว่า ส่วนปีกของ ARJ21 ออกแบบโดย Antonov Design Bureau บริษัทของรัฐบาลที่ออกแบบเครื่องบินแอนโตนอฟ แห่งสาธารณรัฐยูเครน แต่ติดเครื่องยนต์ของ GE ที่ผลิตในสหรัฐฯ
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ ACAC ห้องนักบินติดอุปกรณ์นำทางของฮันนีเวล อุปกรณ์เรดาร์ ระบบดิสเพลย์ต่างๆ ของร๊อคเวลคอลลินส์ อะไรต่อมิอะไรจากค่ายยุโรป ปีกออกแบบโดยแอนโตนอฟจากยูเครน เป็นเครื่องบินอินเตอร์เนชันแนลมากกว่าจะเป็น รีเจียนัล แต่จีนก็ยืนยันว่าเป็นของจีนแท้ๆ</FONT></bR>
บริษัท COMAC ตั้งใจจะส่ง ARJ21 แทรกเข้าสู่ตลาดการบินในระดับภูมิภาคเอเชีย เช่นเดียวกันกับกลุ่มมิตซูบิชิในญี่ปุ่นที่เปิดสายการผลิตเครื่อง MJR (Mitsubishi Regional Jet) เมื่อปี 2550

สำหรับ DC-9 ที่ถูกมองเป็น "คู่แฝด" ของ ARJ21-700 นั้นผลิตครั้งแรกในปี 2508 โดยบริษัทแม็คดอนเนลดักลาส (McDonnell Douglas) ออกแบบสำหรับการยินระยะใกล้และขึ้นบินบ่อยๆ มีความคล่องตัวสูง

แม็คดอนเนลส่งมอบ DC-9 ให้แก่ลูกค้าเป็นลอตสุดท้ายในเดือน ต.ค.2535 ก่อนจะเริ่มไปผลิต MD-80 MD-90 และ จนกระทั่งกลายเป็นโบอิ้ง 717 หลังจากบริษัทโบอิ้งเข้าควบรวมกิจการ

ตามข้อมูลในวิกิพีเดีย บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่แห่งสหรัฐฯ สงมอบโบอิ้ง 717 ลอตสุดท้ายให้แก่ลูกค้าในปี 2549 ที่ผ่านมา และ ปิดสายการผลิตเครื่องบินในครอบครัว DC-9 ลง หลังจากผลิตติดต่อกันมานาน 41 ปี รวม 2,500 ลำ.
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ ACAC มองปร๊าดก็ถึงบางอ้อทันที นี่คือคู่แฝดของตระกูล DC-9 กับ โบอิ้ง 717 ของค่ายสหรัฐฯ ผลิตออกมาลำแรกในปายปี 2550 ทดลองขึ้นบินครั้งแรกเดือน พ.ย.2551 บินระยะไกลครั้งแรกกลางปีที่แล้ว ได้รับคำชมเรื่องขึ้นได้รวดเร็วทันใจ ไต่เพดานบินได้เร็ว เหมาะสำหรับสนามบินที่รันเวย์สั้นๆ จึงเป็นเครื่องไอพ่นที่ไปได้เกือบจะทุกที่ </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ ACAC ผู้ผลิตบอกว่าทำ ARJ21 ออกมาใช้กับสภาพภูมิประเทศที่ภูมิอากาศแปรปรวนบ่อยๆ มีภูเขาสูงกับที่ราบลุ่มสลับกันไปมาเช่นเดียวกับในภาคตะวันตกของจีน และ สภาพทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชียโดยรวมก็เป็นเช่นนี้  จึงเหมาะที่จะเป็น Regional Jet</FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์แห่งหนึ่งถ่ายในเดือน ส.ค.2526 เป็น DC-9 ของนิวยอร์กแอร์ คู่แฝดรุ่นลุงของ ARJ31-700 แต่ผู้ผลิตในนครเซี่ยงไฮ้ยืนยันว่า ออกแบบโดยสติปัญญาของวิศวกรอากาศยานของจีนเองล้วนๆ จดสิทธิบัตรไว้อย่างถูกต้อง ส่วนหน้าตาออกมาจะบังเอิญไปเหมือนใครเข้าคงช่วยไม่ได้ </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ aerospace.technology.com เป็นเครื่องโบอิ้ง 717 ซึ่งก็คือรุ่นลูกของ DC-9 นั่นเอง ปิดสายการผลิตไปเมื่อปี 2549 แม็คดอลแนลดักลาส กับโบอิ้ง ผลิตเครื่องบินตระกูลนี้ออกมาทั้งหมด 2,500 ลำ ตลอดเวลา 41 ปี และ วันนี้มีญาติห่างๆ ปรากฎตัวออกมาจากโรงงานประกอบในนครเซี่ยงไฮ้</FONT></bR>
กำลังโหลดความคิดเห็น