xs
xsm
sm
md
lg

อีกผลงานไทย-ลาว เปิดแล้วสนามบินนานาชาติปากเซ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#FF0066>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 ป้ายประกาศขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมทางหลวงเลข 13 ใต้ บอกให้รู้ว่าข้างในกำลังมีการก่อสร้างพัฒปรับปรุง อยู่ข้างกันในภาพคือส่วนปลายของหอควบคุมการบินใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการก่อสร้างใหม่ที่ได้รับการช่วยเหลือจากไทยในวงเงิน 133 ล้านบาท กรมการบินพลเรือนของลาวได้เปิดใช้ท่าอากาศยานนานาชาติเมือปากเซอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา </FONT></br>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ทางการลาวได้เปิดใช้สนามบินเมืองปากเซอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง หลังจากปิดมาตั้งแต่เดือน มี.ค. 2551 เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเฟสที่ 2 ขยายทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบิน สร้างหอควบคุมการบินใหม่ ติดระบบสัญญาณและระบบไฟฟ้าใหม่ทั้งหมด

การพัฒนายกระดับสนามบินเฟสที่สองนี้ ด้วยความช่วยเหลือจากประเทศไทย ทั้งในรูปเงินให้เปล่าและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาว โดยบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวลล็อปเม้นต์จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง

กรมการบินพลเรือนลาวได้ประกาศเปิดใช้สนามบินปากเซตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา เป็นสนามบินนาชาติอย่างเต็มภาคภูมิ เครื่องบินโดยสารพิสัยการบินระยะใกล้-ปานกลาง ระดับโบอิ้งกับแอร์บัส สามารถขึ้นลงได้เป็นครั้งแรก

อธิบดีกรมการบินพลเรือนลาว กล่าวว่า บัดนี้การบินพลเรือนลาวกล่าวว่า สายการบินลาวและสายการบินอื่นๆ สามารถกลับไปให้บริการที่สนามบินปากเซได้เช่นเดิม

สำหรับเที่ยวบินในประเทศ บริษัทการบินลาวได้เคยเปิดบินประจำทุกวันจากนครเวียงจันทน์ รวมทั้งบินเชื่อมกับเมืองเสียมราฐในกัมพูชา นอกจากนั้นสายการบินบางกอกแอร์เวย์ของไทยก็เคยเปิดบริการบินไปที่นั่น แต่ทั้งหมดหยุดลงตลอด 18 เดือนที่ผ่านมา เพื่อการสร้างและพัฒนายกระดับ

นายยากัว เลาปังกัว อธิบดีกรมการบินพลเรือนลาวกล่าวว่า ทางวิ่งขึ้นลงของสนามบินสร้างมานานหลายทศวรรษ ซึ่งสึกหรอไปตามกาลเวลาและ เต็มไปด้วยรอยร้าว รอยแยก ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว (ขปล.)
<bR><FONT color=#FF0066>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 ด้านหน้าอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานเมืองปากเซที่ปิดชั่วคราว ข้างในโน้นเครื่องจักรกับคนงานของบริษัทอิตาเลียนไทยฯ กำลังเร่งวันเร่งคืน ขณะที่การก่อสร้างล่าช้าไป 1 เดือน </FONT></br>
"โครงการปรับปรุงสนามบินครั้งนี้ได้เน้นไปที่การซ่อมแซมเส้นทางวิ่งขึ้นลง เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องบินขนาดใหญ่ที่เดินทางมายังสนามบินปากเซจะสามารถลงจอดได้อย่างนิ่มนวล เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังแขวงจำปาสักที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ" นายยากัวกล่าว

นายอะนุสัก กิตติลาด หัวหน้าโครงการปรับปรุงสนามบินปากเซ กล่าวว่าโครงการปรับปรุงมีจุดประสงค์ที่จะยกระดับให้สนามบินนานาชาติ สามารถรองรับเครื่องบินโบอิ้ง 737 และแอร์บัส A 320 ได้

ทางวิ่งขึ้นลงได้ขยายจากเดิมที่มีความยาว 1,650 เมตร กว้าง 36 เมตร เป็น 2,400 เมตร กว้าง 45 เมตร การพัฒนาปรับปรุง ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศไทยกว่า 230 ล้านบาท ในนั้น 30% เป็นเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า ส่วนที่เหลือเป็นเงินกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ การเซ็นสัญญา เงินช่วยเหลือมีขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2550

รัฐบาลไทยได้ช่วยเหลือทางการลาวพัฒนาสนามบินแห่งนี้มาตั้งแต่เฟสที่ 1 ซึ่งมีการก่อสร้างบูรณะอาคารผู้โดยสาร และบูรณะทางวิ่งกับลานจอด ทำให้เครื่องบินโดยสารขนาดเล็ก-ขนาดกลางแบบ ATR72 กับ ฟ็อกเกอร์80 กับเครื่องแอนโตนอฟ-24 ที่ทำในรัสเซียสามารถขึ้นลงได้อีกครั้งหนึ่ง

ตามรายงานของสำนักข่าวทางการ การก่อสร้างเพิ่มเติมและปรับปรุงเพื่อขยายสนามบินปากเซได้ล่าช้ามาเป็นเวลา 1 เดือน โดยบริษัทก่อสร้างจากประเทศไทยกล่าวว่ามีความไม่สะดวกหลายประการในช่วงฤดูฝน
<bR><FONT color=#FF0066>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 มองเห็นเครื่องจักรกับคนงานของบริษัทอิตาเลียนไทยฯ กำลังเร่งมือก่อสร้างรันเวย์กับบริเวณลานจอด ทางการลาวได้เปิดใช้ท่าอากาศยานเมืองปากเซอย่างเป็นทางการวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา  </FONT></br>
<bR><FONT color=#FF0066>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 แผ่นป้ายประกาศภายในบริเวณท่าอากาศยานนานาชาติเมืองปากเซกับแผ่นป้ายจราจรอีกจำนวนหนึ่ง แม้ว่าการก่อสร้างยกระดับข้างในจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ทางกรลาวยังต้องปรับปรุงอาณาบริเวณโดยรอบอีกมาก</FONT></bR>
สนามบินนานาชาติเมืองปากเซตั้งอยู่ในเมืองเอกของแขวงจำปาสัก เป็นศูนย์กลางการขนส่งในภาคใต้ ทางการลาวยังมีแผนการสร้างสนามบินอีกแห่งหนึ่งในเมืองโขง แขวงเดียวกันที่อยู่ใต้ลงไปเกือบ 200 กิโลเมตร ติดชายแดนกัมพูชา เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตนทีสีพันดอน คอนพะเพ็ง ทางตอนใต้สุดของประเทศ

ทางการลาวค่อยๆ ก่อสร้าง ฟื้นฟูบูรณะ และบริหารสนามบินเองทุกแห่งในประเทศเอง โดยได้รับการช่วยเหลือจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือประเทศไทย

ในช่วงปี 2545-2547 ไทยได้ช่วยเหลือลาวแบบเดียวกันนี้พัฒนายกระดับท่าอากาศยานนานาชาติวัดไตในนครเวียงจันทน์ ให้เครื่องบินขนาดใหญ่ระดับโบอิ้ง 747 ของบรรดาผู้นำกลุ่มอาเซียนสามารถขึ้นลงได้ ในปีที่ลาวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด

ต่างไปจากในกัมพูชาที่รัฐบาลฮุนเซนให้สัมปทานแก่บริษัทฝรั่งเศส ในการปรับปรุงและบริหารสนามบินนานาชาติทุกแห่งภายใต้สัญญาสัมปทาน 30 ปี

ในปัจจุบันยังไม่มีสนามบินแห่งใดในกัมพูชาที่เครื่องบินโดยสารขนยาดใหญ่สามารถลงจอดได้ รวมทั้ทงสนามบินานาชาสติโปเจินตงในกรุงพนมเปญด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น