xs
xsm
sm
md
lg

จีนช่วย..สนามบินใหม่หลวงพระบางใหญ่เท่าวัดไต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มวันที่ 7 มี.ค.2550 เครื่อง ATR72-500 ของบางกอกแอร์เวย์สจอดที่สนามบินหลวงพระบาง มองเห็นอาณาบริเวณอันกว้างขวางทางทิศเหนือ ยังมีพื้นมากมายตามแนวตะวันออก-ตะวันตกสำหรับสนามบินใหญ่แห่งใหม่ที่สำนักข่าวทางการกล่าวว่า จะมีขนาดใหญ่โตไม่แพ้ท่าอากาศยานวัดไตนครเวียงจันทน์</FONT></bR>

ASTVผู้จัดการรายวัน/ขปล.-- ทางการลาวได้ข้อสรุปเตรียมสร้างสนามบินแห่งใหม่ในเมืองหลวงพระบางปีหน้านี้ โดยสร้างขนานกับสนามบินเดิม ตั้งเป้าเปิดใช้งานได้ปี 2556 ซึ่งเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ระดับโบอิ้ง 747 หรือ แอร์บัส A300 จะสามารถลงจอดได้ ทั้งนี้เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี

ตามรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว ซึ่งอ้างการเปิดเผยโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของแขวง สนามบินใหม่หลวงพระบางจะมีทางวิ่งขึ้นลงยาวกว่า 3,000 เมตร ซึ่งถ้าหากเป็นความจริงก็จะเป็นสนามบินขนาดใหญ่เทียบเท่ากับกับท่าอากาศยานวัดไต ในนครเวียงจันทน์

นายคำแพง ไซสมแพง รองเจ้าแขวงหลวงพระบาง เปิดเผยเรื่องนี้กับ ขปล.ระบุว่า สนามบินแห่งใหม่มีมูลค่าก่อสร้างถึง 86.4 ล้านดอลลาร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน ภายใต้ข้อตกลงร่วมที่มีการเซ็นกันระหว่างการเดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการของ พลโทจูมมะลี ไซยะสอน ประธานประเทศ และ เลขาธิการใหญ่พรรคประชาชนปฏิวัติลาวสัปดาห์ที่แล้ว

สนามบินที่จะสร้างใหม่ออกแบบให้มีรันเวย์ยาว กว่า 3 กม. ขนานไปกับรันเวย์เดิม สนามบินที่ใหญ่ขึ้นนี้จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และ ร่วมส่วนสำคัญในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของแขวง นายคำแพงกล่าว

ก่อนหน้านี้ทางการลาวได้ยกเลิกแผนการก่อสร้างสนามบินเมืองหลวงพระบางแห่งที่สอง ที่เสนอโดยนักลงทุนจากประเทศไทย โดยให้เหตุผลว่าอยู่ห่างจากตัวเมืองเกินไป
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มวันที่ 7 มี.ค.2550 เครื่อง ATR72-500 ของบางกอกแอร์เวย์สจอดที่สนามบินหลวงพระบาง มองเห็นอาณาบริเวณอันกว้างขวางทางทิศตะวันตก ตัวเมืองอยู่ห่างจากที่นี่เพียง 4 กม.สนามบินใหญ่จะถูกเนรมิตขึ้นที่นี่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยความช่วยเหลือจากมหามิตรจีน</FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพแฟ้มวันที่ 7 มี.ค.2550 คณะเยือนคณะหนึ่งจากประเทศไทย ลงจากเครื่อง ATR72-500 ของบางกอกแอร์เวย์ส ที่สนามบินหลวงพระบาง อาคารผู้โดยสารอยู่เบื้องหลัง แต่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าในอาณาบริเวณเดียวกันนี้กำลังจะมีอาคารที่ใหญ่และโอ่อ่าทันสมัยยิ่งกว่า </FONT></bR>
นายยากัว โลปังเกา (Yakua Lopangkao) อธิบดีกรมการบินพลเรือนกล่าวก่อนหน้านี้ว่า ไม่คุ้มที่จะต้องเสียงบประมาณสร้างสนามบินใหม่ในเขตบ้านเซียงแมน เมืองจอมเพ็ด ที่อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำ เนื่องจากจะต้องสร้างถนนยาว 30 กิโลเมตรกับสะพานข้ามแม่น้ำอีก 1 แห่งเชื่อมกับตัวเมือง ขณะที่สนามบินปัจจุบันห่างจากใจกลางเมืองเพียง 4 ก.ม.

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าทางการกล่าวว่า การสร้างสนามบินใหม่อีกแห่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอาจจะจำเป็นในอนาคต เนื่องจากรัฐบาลมีแผนการจะขยายตัวเมืองไปยังฝั่งนั้นอยู่แล้ว

สนามบินหลวงพระบางได้รับการฟื้นฟูบูรณะมาก่อนหน้านี้ครั้งหนึ่ง ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย ปัจจุบันยังสามารถรองรับได้แค่ เครื่องบินโดยสารพิสัยใกล้-ปานกลาง เช่น ATR72 หรือ MA60 หรือ AN-24

ปัจจุบันสนามบินหลวงพระบางมีบริการเที่ยวบินไปยังกรุงฮานอยของเวียดนาม กรุงเทพฯ อุดรธานีกับเมือง เชียงใหม่ ของไทย และ ลงใต้ไปยังเมืองเสียมราฐ กัมพูชา โดยผ่านสนามบินปากเซ

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการกว่า 70% ของนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวเมืองมรดกโลกของลาว เดินทางโดยเครื่องบิน
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 อาคารสำนักงาน-ผู้โดยสารสนามบินเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ปิดตายมาหลายเดือนแล้ว ขณะที่บริษัทอิตัล-ไทยกำลังเร่งมือขยายทางวิ่งให้เสร็จทันปลายเดือน ต.ค.นี้ เพื่อเปิดใช้เป็นบางส่วน สนามบินปากเซถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภาคใต้   </FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 คนงานกับเครื่องจักรเครื่องกลของบริษัทอิตัล-ไทย กำลังเร่งมือขยายทางวิ่งขึ้นลงที่สนามบินเมืองปากเซให้แล้วเสร็จทันเปิดใช้บางส่วนปลายเดือนหน้า ซึ่งจะทำให้เครื่องบินพิสัยใกล้-ปานกลาง เช่น โบอิ้ง 737 และ แอร์บัส A320 ขึ้นลงได้เป็นครั้งแรก</FONT></bR>
การสร้างขยายสนามบินให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้สามารถรองรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำ จากไทย ฮ่องกง ไต้หวัน และ ไกลออกไปถึงเกาหลีกับญี่ปุ่น

ปัจจุบันบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวลล็อปเม้นต์จำกัด (มหาชน) กำลังเร่งมือสร้างขยายสนามบินปากเซ ในแขวงจำปาสัก เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศในภาคใต้ เมื่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้เครื่องบินโดยสารขนาดพิสัยใกล้-ปานกลาง ระดับโบอิ้ง 737 หรือ แอร์บัส A320 บินขึ้นลงได้

การสร้างขยายสนามบินปากเซเริ่มมาตั้งแต่ต้นปีนี้ ด้วยความช่วยเหลือทั้งแบบให้เปล่าและเงินกู้ผ่อนปรนจากรัฐบาลไทยกว่า 230 ล้านบาท นับเป็นการช่วยพัฒนาสนามบินแห่งนี้ครั้งที่สอง
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 หอควบคุมการบินแห่งใหม่ของสนามบินปากเซ ตั้งเด่นเป็นสง่ามองเห็นได้ชัดเจนจากทางหลวงเลข 13 ใต้ ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้วด้วยฝีมือของบริษัทรับเหมาจากไทยและทั้งหมดด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย ในวงเงินกว่า 230 ล้านบาท 30% ให้เปล่า ที่เหลือเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ระยะปลอดหนี้ 10 ปีและใช้คืนใน 30 ปีถัดไป</FONT></bR>
<bR><FONT color=#cc00cc>ภาพถ่ายวันที่ 18 ก.ย.2552 หอควบคุมการบินหลังเก่าของสนามบินปากเซใช้งานมานานเท่าๆ กับอายุของสนามบิน ตั้งอยู่ชิดเขตทางหลวงเลข 13 ใต้ แต่นี้เป็นต้นไปอาจจะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ หรือ อาจจะถูกรื้อถอนไป สนามบินปากเซมีกำหนดเปิดใช้การบางส่วนในปลายเดือน ต.ค.นี้ </FONT></bR>
ในปี 2546 รัฐบาลไทยยังได้ช่วยเหลือรัฐบาลคล้ายๆ กันนี้ เพื่อสร้างขยายและพัฒนาท่าอากาศยานวัดไต รองรับเครื่องบินของบรรดาผู้นำกลุ่มอาเซียนกับประเทศหุ้นส่วนต่างๆ ที่ไปร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่จัดขึ้นในนครเวียงจันทน์ปลายปี 2547

รัฐบาลกำลังพัฒนาสนามบินอีกหลายแห่งในภาคเหนือของประเทศ รวมทั้งสนามบินอุดมไซ สนามบินหลวงน้ำทา และการพัฒนายกระดับสนามบินเชียงขวาง

ลาวยังมีสนามบินสะหวันนะเขตในภาคกลางอีก 1 แห่ง ที่พัฒนาขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภาคกลาง ผู้ที่เดินทางไปยังจังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยสามารถไปลงที่สนามบินสะหวันนะเขตได้.
กำลังโหลดความคิดเห็น