xs
xsm
sm
md
lg

พม่าเสริมเขี้ยวทัพฟ้าทั้ง MIG-29 รัสเซีย J10 จีน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#3366ff>เสริมเขี้ยวเล็บ-- เครื่องบินขับไล่โจมตี MIG-29 หรือ ฟัลครัม (Fulcrum)  ตามรหัสที่กลุ่มนาโต้ใช้เรียก กำลังทะยานขึ้นจากฐานทัพอากาศโซโคล (Sokol Airforce Base) ในรัสเซีย สื่อในประเทศนี้รายงาน ฝ่ายรัสเซียกำลังจะส่งเครื่องบินรบลอตใหม่ให้กับรัฐบาลทหารพม่า ในสัญญาซื้อขายมูลค่า 570 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเซ็นกันไป 2-3 สัปดาห์ก่อน.</FONT></bR>



นักบินหญิงรัสเซียซิ่ง MiG-29 สู่ขอบอวกาศ

เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการรายวัน-- รัสเซียได้ลงนามในสัญญาที่จะจัดส่งเครื่องบินรบแบบมิก-19 (MIG-29) ให้กับรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งนับว่าเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดในการขยายกองกำลังทหารของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบทหารมานานเกือบครึ่งศตวรรษ ทั้งนี้เป็นการรายงานของหนังสือพิมพ์ธุรกิจคอมเมอร์ซานต์ (Kommersant) ของรัสเซียในวันพุธ (23 ธ.ค.)

ข้อตกลงซื้อขายเครื่องบินรบระหว่างรัสเซียและพม่านี้เซ็นกันตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ก่อน ด้วยมูลค่า 400 ล้านยูโร (570 ล้านดอลลาร์) หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวรายงานอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวใกล้ชิดของบริษัทโรโซโบรอนเอ็กซ์พอร์ต (Rosoboronexport) ซึ่งเป็นบริษัทขายอาวุธของรัฐบาล

พม่าที่อยู่ภายใต้การคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก ซึ่งนักรณรงค์สิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลทหารได้รับการช่วยเหลือด้านอาวุธมาโดยตลอดจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน อินเดีย และจากรัสเซียด้วย

รัสเซียก็เช่นเดียวกันกับจีนซึ่งต่างก็เป็นสมาชิกถาวรใน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้พิทักษ์ปกป้องรัฐบาลทหารมาตลอด โดยใช้สิทธิยับยั้ง (วีโต้) ข้อมติประณามใดๆ ต่อรัฐบาลทหารที่ออกโดยองค์การสหประชาชาติ

แหล่งข่าวใกล้ชิดกับบริษัทจำหน่ายอาวุธจองทางการยังกล่าวอีกว่า รัสเซียได้ตกลงขายเครื่องบินรบ MIG-29 นี้ในขณะที่ทางจีนเองได้เสนอขายเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัยมากกว่าในรุ่น J-10 "ดรากอน" และ FC-1 "ธันเดอร์" ให้กับพม่าในเงื่อนไขที่ได้เปรียบมากกว่าเช่นกัน

หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ยังได้ระบุว่า รัสเซียได้ส่งเครื่องบิน MIG-29 จำนวน 12 ลำให้แก่พม่าแล้วครั้งหนึ่งในปี 2544
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์  เครื่องบินขับไล่โจมตี MIG-29 ฟัลครัม กำลังทะยานขึ้นจากฐานทัพอากาศแห่งหนึ่ง ปัจจุบันเครื่องบินรบรุ่นนี้มีประจำการในกองทัพอากาศอินเดียและมาเลเซีย แต่บางประเทศในแอฟริกาไม่ยอมรับ โดยระบุว่า ประสิทธิภาพต่ำเกินคาด ขณะที่พม่าเซ็นสัญญาซื้ออีกฝูง สื่อในรัสเซียกล่าว</FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ เครื่องบินขับไล่โจมตี MIG-29 กำลังทะยานขึ้นจากฐานทัพอากาศแห่งหนึ่ง ในยุคสงครามเย็นเจ้า ฟัลครัม เป็นที่เกรงขามของกลุ่มพันธมิตรนาโต้ในยุโรปไม่น้อยเลยทีเดียว วันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมาเพิ่งประสบอุบัติเหตุตกไปเครื่องหนึ่งในไซบีเรีย ทำให้ชื่อเสียงแย่ลงอีก </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ เครื่องบินขับไล่โจมตี MIG-29 เครื่องนี้จอดที่ฐานทัพอากาศโซโคล (Sokol Airforce Base) ในรัสเซีย มองจากด้านหน้าก็ดูหล่อเหลาเอาการ พม่าเพิ่งเซ็นซื้อไปอีก 1 ฝูง มูลค่า 570 ล้านดอลลาร์ โดยยังไม่ทราบจำนวน หลังจากซื้อฝูงแรกไปเมื่อปี 2544 สื่อในรัสเซียกล่าว   </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ เครื่องบินขับไล่โจมตี MIG-29 จอดนิ่งที่ฐานทัพแห่งหนึ่ง เครื่องบินที่นั่งเดี่ยวน่าจะมีความคล่องตัวสูง ในยุคสันติกองทัพอากาศรัสเซียได้มอบภารกิจให้ ฟัลครัม เข้าไปช่วยด้านการท่องเที่ยว ปัจจุบันฐานทัพหลายแห่งมีบริการฝึกบินให้แก่นักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักจนมีความชำนาญ ก่อนจะให้ขึ้นบินด้วยตัวเองได้</FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ MiG-31 Foxhound ของกองทัพอากาศรัสเซีย กำลังทะยานขึ้นจากฐานทัพอากาศแห่งหนึ่งเมื่อผลิตเจ้า ฟ็อกซ์ฮาวด์ ออกมาก็ทำให้ ฟัลครัม เป็นของเล่นที่เก่าไปทันที รัสเซียกำลังพยายามระบาย MiG-29 ที่พัฒนามาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น</FONT></bR>
"นี่เป็นข้อตกลงซื้อขายครั้งใหญ่ที่สุดในการซื้อเครื่องบินรบในรุ่นนี้ หลังจากที่เคยทำสัญญากับแอลจีเรียในปี 2550 แล้วล้มเลิกไป" คอมเมอร์ซานต์กล่าว

แอลจีเรียได้ยกเลิกการสั่งซื้อเครื่องบินรบ MIG-29 จำนวน 34 ลำ มูลค่า 987 ล้านยูโร เนื่องจากคุณภาพของเครื่องบินต่ำกว่าที่คาดไว้ และ ในปี 2551 ยังได้ส่งเครื่องบินคืนรัสเซียอีกหลายลำด้วย

ปัจจุบัน MIG-29 มีประจำการในหลายประเทศแถบเอเชีย รวมทั้งกองทัพอากาศอินเดียและมาเลเซียด้วย เนื่องจากเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีที่มีประสิทธิภาพดีและราคาถูกกว่า เครื่องบินรบของชาติตะวันตก อย่างเทียบกันไม่ได้ ขณะที่ประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับได้

สำหรับ FC-1 "สายฟ้า" หรือ ที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า JF-17 นั้นผลิตจากโรงงานที่เมืองเฉิงตู (Chengdu) เช่นเดียวกันกับ J-10 แต่เป็นโครงการร่วมระหว่างจีนกับปากีสถาน เพื่อผลิตเครื่องบินรบเอนกประสงค์เอาไว้ใช้งาน ซึ่งเว็บไซต์บางแห่งกล่าวว่ามีราคาเพียงลำละ 5-7 ล้านดอลลาร์เท่านั้น

ส่วน J-10 มีรูปลักษณ์ที่ละม้ายคล้ายคลึงกับเครื่องบินรบแบบเอฟ-16 ที่ผลิตในสหรัฐฯ เป็นอย่างยิ่ง แต่ต่างกันที่ประสิทธิภาพ ซึ่งเอฟ-16 บินได้เร็วกว่าและคล่องตัวมากกว่าในเชิงยุทธ์ รวมทั้งความแตกต่างในด้านประสิทธิภาพและเทคโนโลยีของระบบอาวุธที่ใช้ติดตั้งด้วย
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ เจเท็น หรือ J10 ดราก้อน ของจีน ซึ่งดูหน้าตาแล้วน่าจะเป็นญาติๆ ของเอฟ-16 ได้ สื่อในรัสเซียรายงานว่า จีนได้เสนอขายเครื่องบินรบรุ่นนี้ให้แก่รัฐบาลทหารพม่าเหมือนกัน ด้วยราคาที่ต่ำกว่า MiG-29 เสียอีก </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ ดูเจ้า เจเท็น กันใกล้ๆ เป็นเครื่องบินรบแบบสองที่นั่ง ทันสมัยที่สุดและเป็นสิ่งที่กองทัพอากาศจีนภาคภูมิใจมากที่สุดในทศวรรษนี้ ขายยาก  แต่ก็เป็นทางเลือกสำหรับประเทศที่โลกตะวันตกไม่ยอมขายอาวุธให้ ซึ่งรวมทั้งพม่าด้วย</FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ เครื่องบินขับไล่โจมตีเอนกประสงค์แบบ FC-1 หรือ JF-17 ธันเดอร์ เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่สื่อในรัสเซียกล่าวว่า จีนได้เสนอขายราคาถูกๆ ให้รัฐบาลทหารพม่า เว็บไซต์บางแห่งรายงานว่า JF-17 ติดระบบขีปนาวุธที่ยิงเข้าเป้าได้ไกลถึง 90 กิโลเมตร แต่เครื่องบินมีค่าตัวลำละ 7 ล้านดอลลาร์ เท่านั้น</FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์ แสดงภาพด้านบน ด้านหน้าและด้านข้างของ JF-17 ธันเดอร์ ผลงานร่วมระหว่างจีนกับปากีสถาน ผลิตจากโรงงานเมืองเฉิงตู (Chengdu) เช่นเดียวกับ J-10 ดราก้อน เพื่อให้มีเครื่องบินรบเอนกประสงค์ใช้งานร่วมกัน หนังสือพิมพ์ในรัสเซียกล่าวว่าจีนได้เสนอขายเครื่องบินรุ่นนี้ให้แก่รัฐบาลทหารพม่าเช่นกัน </FONT></bR>
<bR><FONT color=#3366ff>ภาพจากเว็บไซต์กระทรวงกลาโหมปากีสถาน นักบินหญิงของเครื่องบิน JF-17 ธันเดอร์ ทุกคนจะต้องพร้อมรบเสมอ กองทัพอากาศปากีสถานมีเครื่องบินรุ่นนี้ในประจำการหลายฝูง พร้อมระบบขีปนาวุธก้าวหน้าที่ผลิตจากจีน</FONT></bR>
แต่ข้อที่ได้เปรียบของ J-10 ก็คือ ราคาที่ถูกกว่า เอฟ-16 อย่างเทียบกันไม่ได้

ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการซื้ออาวุธของพม่า เพื่อเสริมความแข็งแร่งให้แก่กองทัพ ยังมีขึ้นขณะที่เวียดนามได้เซ็นสัญญาซื้อเครื่องบินรบที่ยังไม่ทราบชนิดจากรัสเซีย กับเรือดำน้ำชั้นโล (Kilo Class) อีกจำนวน 6 ลำ ซึ่งเรื่องนี้มีขึ้นระหว่างการเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) ในสัปดาห์กลางเดือน ธ.ค.นี้

นอกจากนั้นสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมนตรีกลาโหมเวียดนาม นายพลโทอาวุโสฟุงกวางแทง (Phung Quang Thanh) ซึ่งกำลังเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ยังได้ขอซื้อเฮลิคอปเตอร์กับเครื่องบินลำเลียงขนส่งจากฝรั่งเศส และ เรียกร้องให้ฝ่ายนั้นขายอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารที่ทันสมัยให้แก่เวียดนามอีกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น