xs
xsm
sm
md
lg

เฟกสุดๆ เจอ “แบร์ฮัก” ฮุนเซน สหายแม้วเจ้ามูลเมืองสอบตกเลย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

<bR><FONT color=#FF0000>เฟ้คสุดๆ -- ฮุนเซนให้ แบร์ฮัก แก่นักโทษชายทักษิณ ในตอนสายวันพุธ 11 พ.ย.2552 ในภาพเอเอฟพี แสดงความรักอันปานจะกลืน ราวกับว่าจากกันไปหลายปี ทั้งๆ ที่ค่ำวันก่อนเพิ่งจะเปิดบ้านฉลองเอิกเริก และ ฝ่ายรับตั้งหลักไม่ทัน แสดงอาการเคอะเขิน ดูจากภาพเคลื่อนไหวจะเห็นอาการเก้ๆ กังๆ ได้ชัด ริจะคบกับบรรดาสหาย แต่ไม่เรียนรู้เรื่องแบบนี้  </FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มรอยเตอร์-- เร่รอนไปพบกันในเสียมราฐวันที่ 6 เม.ย.2551 หรือ เพียงปีเศษๆ ก่อนหน้านี้ ความรักยังไม่รุนแรง จึงยังไม่ให้ แบร์ฮัก   </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ผู้ที่ได้ชมภาพทางโทรทัศน์ในคืนวันพุธ (11 พ.ย.) ที่ผ่านมาจะเห็นนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร มีอาการเคอะเขิน และดูงุ่มง่ามไปถนัดตา เมื่อนายกฯ กัมพูชา ฮุนเซน อ้าแขนโผเข้าสวมกอด ก่อนจะเริ่มการแถลงข่าวในตอนสายวันเดียวกัน

ฉากนั้นหวานปานจะกลืน ดูราวกับว่าสองฝ่ายพลัดพรากจากกันนานปี ทั้งๆ ที่เพิ่งจะลับตาจากกันไปแค่ข้ามคืน แต่เหตุการณ์นั้นจะดูดูดดื่มยิ่งขึ้น ถ้าหากต่างฝ่ายต่างเป็นในประเพณีนิยมดั้งเดิมของชาวคอมมิวนิสต์ค่ายหมีขาว

การสวมกอดแบบ “แบร์ฮัก” (Bearhug) เป็นการปฏิบัติของบรรดาผู้นำคอมมิวนิสต์ค่ายโซเวียต เพื่อแสดงความรักอันดูดดื่มกับความใกล้ชิดสนิทแน่นระหว่างสหายร่วมรบ (Comrade-in-Arms) แต่ในเวลาต่อมาถูกนำมาใช้ในการต้อนรับมิตรสหายผู้ไปเยี่ยมเยือนที่สนิทชิดเชื้อ และ ด้วยความรักความอบอุ่น

นั่นคือการลอกเลียนกิริยาการกอดของหมี (Bear) ที่โอบสมาชิกในฝูงแนบแผ่นอก โดยใช้อุ้งเท้าหน้ากดรัดแผ่นหลังอีกฝ่ายหนึ่งเอาไว้อย่างมั่นคง คำว่า “แบร์ฮัก” ยังถูกนำมาใช้เรียกท่าล็อกตัวคู่ต่อสู้ เพื่อมิให้ขยับเขยื้อนได้ ในการแข่งมวยปล้ำอีกด้วย

หลังจากโอบรัดร่างของสหายอีกฝ่ายหนึ่งเอาไว้อย่างแนบแน่น ไม่ว่าจะเป็นส่วนเอว กลางหลังหรือสูงขึ้นไปถึงระดับไหล่ ตามความถนัดในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจะต้องทิ้งระยะห่างพอเหมาะ นิ่งพักหนึ่ง เพื่อสบตากันและกล่าวคำทักทายสั้นๆ

จากนั้นสองฝ่ายจะหาจังหวะค่อยๆ ผละออกจากกันเล็กน้อย แล้วค่อยๆ เบี่ยงตัวไปทางซ้าย 1 ครั้ง อย่างมีจังหวะจะโคน กอดรัดอีกครั้งหนึ่ง ให้ลำตัวชิดกันและแก้มชิดแก้ม ก่อนจะค่อยๆ ผละจากกันแล้วเบี่ยงไปทางขวามืออีกครั้งหนึ่ง กระทำซ้ำขั้นตอนต่างๆ
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 19 มิ.ย.2549 มาดูของจริง..พล.ท.จูมมะลี ไซยะสอน เลขาธิการใหญ่พรรคประชาชนปฏิวัติลาว เยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการ เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามให้การต้อนรับ สหายร่วมรบ (Comrade-in-Arms) ด้วย แบร์ฮัก (ซึ่งในภาพนี้ยังไม่เต็มรูปแบบ) แสดงความใกล้ชิดสนิทสนมและความดูดดื่ม </FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มรอยเตอร์วันที่ 27 ก.ย.2549 ดูของจริง.. ผู้นำเวียดนาม-เขมร แบร์ฮัก ในพิธีฉลองการปักหลักเขตแดนที่ด่านบาเว็ต-หม็อกบ๋าย (Bavet-Moc Bai) แสดงความสนิทสนม จริงจัง และมิตรภาพอันหนักแน่น</FONT></bR>
และมีอยู่บ่อยครั้งที่อาจจะมีการเบี่ยงตัวครั้งที่ 3 ติดตามมา เพื่อแสดงความรักความชื่นชมอย่างเป็นพิเศษ เช่นที่ปรากฏผ่านโทรทัศน์จากกรุงพนมเปญคืนวันพุธ

นอกจากนั้นผู้นำค่ายหลังม่านเหล็กยุโรปตะวันออก จำนวนไม่น้อยยังนิยมชมชอบการจุมพิตสหายร่วมรบ หลังจากการสวมกอดอันอบอุ่น เป็นการจูบปากต่อปาก อย่างดูดดื่มและไม่ขัดเขินอีกด้วย

ในยุคสงครามเย็น นักข่าวโลกตะวันตกเคยจัดอันดับบรรดาผู้นำคอมมิวนิสต์ที่ทำ “แบร์ฮัก” ได้อย่างงดงามที่สุด และ พร้อมใจกันยกตำแหน่งนี้ให้กับนายเลโอนิด เบรซเนฟ (Leonid Brezhnev) อดีตผู้นำที่มีอำนาจมากที่สุดคนหนึ่งของอดีตสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพโซเวียต

รองอันดับ 1 ตกเป็นของฟิเดล คาสโตร (Fidel Castro) ผู้นำอาวุโสแห่งคิวบา

ในย่านเอเชีย ผู้นำประเทศคอมมิวนิสต์ทำแบร์ฮักได้งามสง่าอันดับ 1 เป็น อดีตประธานไกสอน พมวิหาน ของลาว

ส่วนคอมมิวนิสต์จีน ผู้นำในยุคใหม่นิยมใช้การสัมผัสมือในการต้อนรับขับสู้บรรดามิตรสหาย ให้เป็นแบบสากลนิยมมากขึ้น แต่ทำให้แตกต่างออกไปด้วยการใช้สองมือประกบมือ

อย่างไรก็ตาม การต้อนรับด้วยแบร์ฮักสงวนเอาไว้ให้กับบรรดาสหายที่มีตำแหน่งทางการเมืองหรือตำแหน่งในพรรคคอมมิวนิสต์เท่าเทียมกันเท่านั้น
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพแฟ้มรอยเตอร์ วันที่ 22 พ.ค.2551 พล.ท.จูมมะลี ไซยะสอน ไปเยือนญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรียาสุโอะ ฟุกุดะต้อนรับด้วยการสัมผัสมือ ที่นั่นไม่มีวัฒนธรรมโอบกอดแบบหมีๆ  </FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพเอเอฟพีวันที่ 22 พ.ค.2552 ประธานประเทศลาวเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ รั้วบ้านติดกันแต่ต่างวัฒนธรรม รองพลเอกอาวุโสหม่องเอ (Maung Aye) ไปต้อนรับอย่างอบอุ่นที่สนามบินเมืองเนย์ปีดอ.. ไม่ธรรมดา สัมผัสมือและ ถือแขน ด้วย</FONT></bR>
ในปัจจุบัน บรรดาสหายในย่านเอเชียที่ยังสวมกอดแบบหมี ให้เห็นในโอกาสต่างๆ มีอยู่เพียงไม่กี่คน คือ พล.ท.จูมมะลี ไซยะสอน เลขาธิการใหญ่พรรคประชาชนปฏิวัติลาว, ประธานประเทศ นายนงดึ๊กแหม่ง (Nong Duc Manh) เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม กับ นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung)

ทั้งหมดเป็นผู้นำในสังกัดค่ายโซเวียตดั้งเดิม ยกเว้น “สหายฮุนเซน” ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์เขมรแดงสายจีนแปรพักตร์ ทำแบร์ฮักด้วยกิริยาที่ค่อนข้างรุนแรง

ส่วน “สหายแม้ว-เจ้ามูลเมือง” ซึ่งประกาศศักดาอวดชาวเขมรว่า เป็นนายกฯ มาถึง 6 ปี ได้คะแนนต่ำสุด และสอบตกไม่เป็นท่า.
<bR><FONT color=#FF0000>เรื่องนี้ดารานักร้องทั่วไปไม่อาจจะสอนให้ได้ แต่สามารถเรียนรู้ได้จากต้นตำหรับ.. นักล่าที่แสนจะอ่อนโยน ซื่อสัตย์และจริงใจ กับสมาชิกครอบครัว  </FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>แบร์ฮัก ต้นตำหรับ แสดงความรักอันอบอุ่น หนักแน่น แต่อ่อนโยนและ ไม่เสแสร้ง</FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>แบร์ฮัก สำหรับสุนัขจิ้งจอก เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ต่างเผ่าพันธุ์และไม่อาจคาดหวัง ในความรักความอบอุ่นได้</FONT></bR>


กำลังโหลดความคิดเห็น