xs
xsm
sm
md
lg

เตือนครั้งสุดท้าย “สาวหล่า” อาจหมดป่าเช่นกูปรี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <br><FONT color=#cc00cc>สาวหล่าตัวนี้กลายเป็นดาราหน้าจอ เมื่อเดินผ่านกล้องถ่ายรูปอัตโนมัติระบบอิฟราเรด ที่ตั้งเอาไว้ในป่าชายแดนลาว-เวียดนามเมื่อปี 2541 ถึงปัจุบันมีการพบหรือถ่ายรูปสาวหล่าได้น้อยมาก ขณะที่พรานป่ากำลังออกไล่ล่าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดนี้ (ภาพ: W. Robichaud/WCS) </FONT></bR>

รอยเตอร์/ENS - สหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติสากลเตือน กวาง “สาวหล่า” (Saola) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์ที่พบเฉพาะในเขตภูเขาชายแดนลาว-เวียดนาม กำลังจะประสบชะตากรรมเดียวกันกับกูปรี (Kouprey) ที่เคยพบในผืนป่าของกัมพูชาเมื่อหลายสิบปีก่อน และไม่ปรากฏให้เห็นอีกแล้ว

สาวหล่าก็กำลังประสบชะตากรรมที่ไม่แน่ไม่นอนเช่นเดียวกัน เนื่องจากถูกล่าทั้งโดยนายพรานและการใช้กับดักสัตว์ ป่าธรรมชาติที่อาศัยและหากินถูกทำลายลงเรื่อย

นักวิทยาศาสตร์ที่ประชุมสัมมนาในนครเวียงจันทน์สัปดาห์ก่อน กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรสาวหล่าที่อาศัยอยู่ในป่าธรรมชาติคาดว่ามีเพียงไม่กี่สิบตัวจนถึงจำนวนไม่กี่ร้อยตัว และเป็นที่น่าเสียดายที่ไม่สามารถจับนำไปขยายพันธุ์ได้

จนถึงปัจจุบันไม่พบว่า มีการเพาะเลี้ยงกวางป่าชนิดนี้ในที่แห่งใดในโลก รวมทั้งในสวนสัตว์

ตามรายงานของสื่อในเวียดนามก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่สงวนพันธุ์สัตว์ของทางการเคยจับสาวหล่าออกจากป่าจำนวน 13 ตัว นำไปศึกษาและเพาะพันธุ์ในศูนย์อนุรักษ์ฯ แห่งหนึ่ง แต่ก็ปรากฏว่ามันไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เพียง 2-3 สัปดาห์ก็เริ่มล้มตายลง และ เสียชีวิตไปจนหมดในเวลา 5 เดือน

สิ่งนี้อาจจะพิสูจน์ได้ว่า สาวหล่าไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยได้นอกถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมัน เรื่องนี้ได้ทำให้รัฐบาลเวียดนามออกกฎหมายห้ามาจับกวางสาวหลาออกจากป่าอีก

กวางสาวหล่ามีลักษณะคล้ายคลึงละมั่งทะเลทรายสายพันธุ์อาระเบีย และ เป็นญาติใกล้เคียงกับวัวป่ามากกว่าพวกกวาง พบครั้งแรกในปี 2535 บริเวณป่าสงวนรอยต่อ จ.เหงะอาน (Nghe An) กับ จ.ห่าตี๋ง (Ha Tinh) ในเวียดนาม จึงตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็น Pseudoryx nghetinhensis ตามชื่อท้องถิ่นที่พบเป็นแห่งแรก

ชื่อ “สาวหล่า” มีความหมายตรงตัวตามภาษาถิ่นในเวียดนามว่า “ดุจดาวและเดือน” แต่ก็เคยมีผู้เรียกกวางชนิดนี้ว่า “เสา-หลา” โดยอธิบายว่าเป็นคำศัพท์ในภาษาลาว หมายถึงอุปกรณ์ปั่นด้าย (หลา) ที่ประกอบด้วยไม้หลัก 2 ชิ้น ตั้งชันเหมือนกับเขาของสัตว์หายากสายพันธุ์นี้


ด้วยเครื่องหมายแถบยาวสีขาวอันโดดเด่นบนใบหน้า เขาแหลมยาวตั้งตรงเป็นความสวยงามอันเป็นหนึ่งเดียว และการใช้ชีวิตของมันในเขตป่าชื้นแถบเทือกเขาชายแดนลาวเวียดนามก็ยังเป็นปมอันลี้ลับ” นายบาร์นีย์ ลอง (Barney Long) ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งกล่าว
<br><FONT color=#cc00cc>สาวหล่าเพศเมียตัวนี้ถูกชาวบ้านในลาวจับได้เมื่อปี 2539 ก่อนนำส่งเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ป่า แต่มันมีชีวิตอยู่ได้เพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น  (ภาพ: W. Robichaud)  </FONT></bR>
“มีการพบเห็นหรือถ่ายภาพสาวหล่าน้อยมากและก็ได้พิสูจน์แล้วว่า การจับมาเพื่อให้มันมีชีวิตอยู่ได้นั้นเป็นเรื่องยาก.. ประชากรของมันอาจจะเหลืออยู่ไม่กี่สิบตัวจนถึงสองหรือสามร้อยตัวเท่านั้น”

ในปี 2539 ชาวบ้านในชนบทของลาวเคยจับสาวหลาตัวเมียได้ตัวหนึ่ง และกลายเป็นสาวหลาเพียงตัวเดียวที่โลกภายนอกได้พบเห็น มันถูกส่งไปให้เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ป่าและถูกกักบริเวณให้อยู่ แต่มันก็มีชีวิตอยู่ได้เพียงแค่ 3 สัปดาห์

ผู้เชี่ยวชาญได้เรียกร้องให้ทางการลาวเอาใจใส่ช่วยพิทักษ์สัตว์สายพันธุ์หายากที่สุดในโลกนี้ ก่อนจะสูญพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ จะต้องปราบปรามการล่าสัตว์โดยใช้สุนัขไล่ติดตาม รวมทั้งการใช้กับดัก ซึ่งเป็นที่นิยมในเขตป่าภูเขาหินปูนในภาคกลางของลาว

พวกพรานป่ากำลังไล่ล่ากวางสาวหล่าเพื่อตัดเอาเขาอันงามสง่าของมันส่งจำหน่าย นอกจากนั้นฮอร์โมนพิเศษจากต่อมไร้ท่อของมันก็มีกลิ่นหอม ซึ่งเชื่อกันว่าใช้ทำยาอายุวัฒนะได้

สำหรับกูปรีซึ่งเป็นวัวป่าสายพันธุ์เฉพาะ ถูกขึ้นบัญชีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เช่นเดียวกันกับสาวหล่า และก็มีชะตากรรมเดียวกันคือ ถูกไล่ล่า และถิ่นที่อยู่ของพวกมันถูกรุกล้ำ ไม่มีผู้ใดพบเห็นกูปรีมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว
กำลังโหลดความคิดเห็น