xs
xsm
sm
md
lg

เขมรขวัญผวาหาไทยส่ง “จักรีนฤเบศร” ขย่ม!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#FF0000>เรือหลวงหมายเลข 911 ลำนี้ ทำให้ทะเลย่านเกาะกูดร้อนฉ่าขึ้นมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชากล่าวหาว่า ราชนาวีไทยซ้อมรบใหญ่เพื่อข่มขวัญฝ่ายกัมพูชา โดยระดมเรือบรรทุกเครื่องบินกับเรือรบต่างๆ เข้าร่วมนับสิบลำ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากกัมพูชาให้สัมปทานบริษัทน้ำมันฝรั่งเศสเข้าสำรวจในเขตทับซ้อนอ่าวไทยที่อยู่ใกล้กัน</FONT></bR>

ASTV ผู้จัดการออนไลน์ — โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา กล่าวว่า ราชนาวีไทยเพิ่งจะเสร็จสิ้นการซ้อมรบใหญ่เป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ ในน่านน้ำบริเวณเกาะกูด สิ่งนี้มีขึ้นหลังจากฝ่ายกัมพูชาให้สัมปทานแก่บริษัท โตตาล ของฝรั่งเศส เข้าสำรวจน้ำมันและก๊าซในเขตทับซ้อนทางทะเลที่อยู่ใกล้เคียง การซ้อมรบใหญ่ดังกล่าว ประกอบด้วย “เรือบรรทุกเครื่องบิน” และเรือรบอีกหลายลำ ซึ่งเป็นการข่มขู่กัมพูชา

พล.ท.ชุม สุชาติ (Chhum Socheat) โฆษกกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ “รัศมีกัมพูชา” (Reasmei Kampuchea) วันพฤหัสบดี (20 ส.ค.) ระบุว่า การซ้อมรบใหญ่ของกองทัพเรือไทย มีขึ้นระหว่างวันที่ 9-17 ส.ค.ที่ผ่านมา ในอาณาบริเวณเกาะกูด ซึ่งอยู่ใกล้ชายฝั่ง จ.เกาะกง (Kog Kong) และใกล้พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่กัมพูชากล่าวอ้างเป็นน่านน้ำของตนเช่นเดียวกัน

การให้สัมภาษณ์ของโฆษกกระทรวงกลาโหม ได้ให้ภาพรวมที่ใหญ่ขึ้น หลังจากผู้บังคับการตำรวจน้ำกัมพูชากล่าวก่อนหน้านี้ ว่า เรือรบของไทยซึ่งมีอยู่จำนวน 3 ลำ ไม่ได้ข่มขู่อะไรต่อกัมพูชา และปรากฏตัวอยู่ที่นั่นเพียงแค่วันเดียวก็ออกไปจากอาณาบริเวณเกาะกูด

แต่ พล.ท.สุชาติ ให้สัมภาษณ์ “รัศมีกัมพูชา” ทางโทรศัพท์ในตอนบ่ายวันพฤหัสบดี ระบุว่า การซ้อมรบของราชนาวีไทย มีเรือเข้าร่วมถึง 10 ลำ ทั้ง “เรือมาตรฐาน” เรือบรรทุกอากาศยาน กับเรือรบอีกหลายลำ ก่อนที่จะคงเรือรบเอาไว้ในอาณาบริเวณนั้นจำนวน 3 ลำ

หนังสือพิมพ์รัศมีกัมพูชารายวันภาษาเขมรยอดนิยม มีความใกล้ชิดกับพรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People’s Party) ได้อ้างรายงานข่าวของสื่อในประเทศไทย ที่ระบุว่า ไทยกำลังเตรียมการยื่นประท้วงต่อกัมพูชา โดยกล่าวหาว่า เรือรบของกัมพูชาได้ล่วงล้ำน่านน้ำของไทยในอาณาบริเวณเดียวกัน เหตุเกิดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเช่นเดียวกัน

โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา กล่าวว่า ไม่เพียงแต่ไทยจะประท้วงเท่านั้น แต่กองทัพเรือไทยยังได้สร้างฐานทัพแห่งใหม่ขึ้นที่เกาะกูดอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม พล.ท.สุชาติ ได้ปฏิเสธรายงานของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ที่ระบุว่า เรือรบกัมพูชาได้ลาดตระเวนล่วงละเมิดเข้าไปในน่านน้ำบริเวณเกาะกูดของไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

“กระทรวงกลาโหมกัมพูชาขอปฏิเสธข้อกล่าวหา (เกี่ยวกับการลาดตระเวน) ดังกล่าว” หนังสือพิมพ์รัศมีกัมพูชาอ้างคำกล่าวของโฆษกกระทรวงกลาโหม

ในวันเดียวกัน นายกอยเกือง (Koy Kuong) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวง กล่าวว่า “กัมพูชามีสิทธิ์อย่างสมบูรณ์ในการให้สัมปทานแก่บริษัท โตตาล ในการเข้าสำรวจน้ำมันในอาณาเขตดังกล่าว”

โฆษกผู้นี้อธิบายว่า สัญญาที่รัฐบาลทำกับบริษัทน้ำมันฝรั่งเศสนั้นเป็นเพียงเพื่อ "สำรวจ" เท่านั้น ไม่ได้เซ็นสัญญาเพื่อให้ “ผลิต” ในเชิงพาณิชย์ ยิ่งไปกว่านั้นในอดีตประเทศไทยก็เคยให้สัมปทานในเขตทับซ้อนทางทะเลแก่บริษัท เชฟรอน (Chevron) ของสหรัฐฯ กับบริษัท มิตซุย (Mitsui) ของญี่ปุ่นมาแล้ว โดยไม่ได้แจ้งต่อฝ่ายกัมพูชาและกัมพูชาก็ไม่เคยประท้วงฝ่ายไทย
<bR><FONT color=#FF0000>ถ้าหาก การชุมนุมมีตตี้งครั้งใหญ่ เกิดขึ้นจริงอย่างที่โฆษกเขมรกล่าวอ้าง เรือแฝด หมายเลข 461, 462 คงจะไม่พลาดงานแน่ๆ (ภาพจาก dek-d.com) ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับ รล.พุทธเลิศหล้านภาลัย มีเขี้ยวเล็บรอบตัว รวมทั้งติดตั้งระบบป้องกันตัวกระชั้นชิด Phalanx ที่ใช้ในเรือรบสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อกว่า 10 ปีก่อนระบบนี้เคยจมเรือน้ำมันขนาดใหญ่ในอ่าวเปอร์เซียมาแล้ว เนื่องจากเรือเคราะห์ร้ายลำดังกล่าว เข้าใกล้เกินไป และ มีการเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นมิตร ระบบถูกตั้งให้ทำงานอัตโนมัติ </FONT></bR>
เจ้าหน้าที่ของไทยเปิดเผยก่อนหน้านี้ ว่า การให้สัมปทานแก่บริษัทต่างชาติดังกล่าวมีขึ้นตั้งแต่ปี 2515 ในสมัย “รัฐบาลสาธารณรัฐกัมพูชา” (Republic of Cambodia) ภายใต้ประธานาธิบดีลอนนอล (Lon Nol) ก่อนที่ฝ่ายเขมรแดงจะเรืองอำนาจและจัดตั้งรัฐบาล “กัมพูชาประชาธิปไตย” (Democratic Kampuchea) ขึ้นมาในเดือน เม.ย.2518

ส่วนรัฐบาลชุดปัจจุบันจัดตั้งขึ้นในกรุงพนมเปญโดยกองทัพเวียดนาม ในเดือน ม.ค.2522 ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่จากกัมพูชาประชาธิปไตย เป็น “สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา” (People’s Republic of Kampuchea)

พรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา (Kampuchean People’s Revolutionary Party) ของกลุ่ม “ฮุนเซน-เจียซิม-เฮงสัมริน” ได้เสียงข้างน้อยในการเลือกตั้งปี 2536 ที่จัดโดยองค์การบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติ แต่อาศัยที่คุมกองทัพกำลังพลมหาศาล จึงได้ต่อรองเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคฟุนซินเปก ของกรมหลวงนโรดมรณฤทธิ์ในขณะนั้น

กัมพูชาในยุคใหม่เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ราชอาณาจักรกัมพูชา” จนกระทั่งปัจจุบัน ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่

จะเห็นได้ว่า การให้สัมปทานของฝ่ายไทยมีขึ้นเป็นเวลาถึง 10 ปีก่อนที่จะมีอนุสัญญาว่าด้วย “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” (Exclusive Economic Zone) ขององค์การสหประชาชาติ ออกมาในปี 2525 ซึ่งอนุญาตให้ประเทศต่างๆ ใช้ประโยชน์ในเขตน่านน้ำและแผ่นดินใต้ผืนน้ำครอบคลุมระยะทาง 200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง

อนุสัญญาดังกล่าวได้ทำให้ “รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา” กล่าวอ้างสิทธิ์ทำให้น่านน้ำของไทยเมื่อก่อนนี้กลายเป็น “พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล” ในอ่าวไทยเช่นปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับที่เกิดเป็น “พื้นที่ทับซ้อน” กับมาเลเซีย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2522-2535 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาของกลุ่ม “เพ็ญ สุวรรณ-เฮง สัมริน-เจียซิม-ฮุน เซน” ในขณะนั้น ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ เนื่องจากจัดตั้งขึ้นโดยกองกำลังของต่างชาติ ทำให้ “ระบอบปกครอง” ดังกล่าวไม่เคยมีที่นั่งในการประชุมสมัชชาใหญ่ จนกระทั่งเมื่อกลายเป็น “ราชอาณาจักรกัมพูชา” หลังการเลือกตั้งปี 2536

โฆษกของกัมพูชาไม่ได้พูดถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ ขณะเดียวกันก็ให้สัมภาษณ์สันสนไปมา

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ “ดืมอัลปึล” (Deum Ampil) นายกวยเกืองให้สัมภาษณ์ในวันพุธ (19 ส.ค.) ระบุว่า กัมพูชาให้สัมปทานแปลงสำรวจ Block3 หรือ Area3 แก่บริษัทน้ำมันฝรั่งเศส ในส่วนที่อยู่ในน่านน้ำกัมพูชาเท่านั้น ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนที่เป็นปัญหากับฝ่ายไทย จึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

ดาวน์โหลดไฟล์ DOC คำบรรยายกฎหมายทางทะเล
ดาวน์โหลดไฟล์ PPT ว่าด้วยกฎหมายทางทะเล
อ่านข่าวฝรั่งเศส-ไทยร่วมรำลึกยุทธนาวีเกาะช้าง

กำลังโหลดความคิดเห็น