xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามลากรถหัวกระสุนอีก 300 กม.ถึงที่ราบปากน้ำโขง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#FF0000>ไม่เชื่ออย่าลบหลู่..แผนที่ทำขึ้นใหม่จากูเกิลแม็ป (Google Map) แสดงเส้นสีฟ้าเข้มซึ่งเป็นแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงฮานอย-โฮจิมินห์ 1,550 กม. กับเส้นสีแดงส่วนต่อจากโฮจิมินห์เข้าเกิ่นเทอ (Can Tho) ลงใต้ไปจนถึง จ.ก่าเมา (Ca Mau) รถหัวกระสุนโฮจิมินห์ ต้องลงทุนประมาณ $56 พันล้าน ส่วนต่อขยายเฟสที่ 1 ถึงเกิ่นเทอ อาจต้องใช้อีก $4 พันล้าน ยังไม่ทราบรายละเอียดช่วงที่เหลือ แต่แผนแม่บทคลอดออกมาแล้ว เมื่อเชื่อมทั้งหมดเข้าด้วยกันในอีก 20-30 ปีข้างหน้า รถไฟความเร็วสูงเวียดนามก็อาจจะมีระยะทางกว่า 2,000 กม. </FONT></bR>

ASTVผู้จัดการรายวันทางการเวียดนามตัดสินใจต่อทางรถไฟความเร็วสูงอีกกว่า 300 กิโลเมตร จากนครโฮจิมินห์ลงไปจนถึงตอนใต้สุดของประเทศในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง โดยจะเริ่มก่อสร้างทันทีในช่วงแรกไปจนถึงนครเกิ่นเทอ (Can Tho) ซึ่งอาจจะมีระยะทางตั้งแต่ 150-180 กม.

ระบบรถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายในช่วงแรก จะใช้ทุนก่อสร้างอีกราว 4,000 ล้านดอลลาร์ และทำให้เส้นทางรถ “ชินคันเซ็น” ในประเทศนี้ยาวขึ้นเป็นประมาณ 1,700 กม.และจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2,000 กม.เมื่อสร้างลงไปจนถึง จ.ก่าเมา (Ca Mao) ทางตอนใต้สุดดินแดนที่เรียกว่า “แหลมญวน”

บริษัทเทคนิควิศวกรรมและออกแบบแห่งภาคใต้ (Technical Engineering and Design Inc (South) ซึ่งเป็นบริษัทธุรกิจกึ่งรัฐวิสาหกิจ ประมาณว่า ในปี 2573 หรืออีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า รถไฟหัวกระสุนช่วงนี้จะขนส่งผู้โดยสารได้ราว 362,000 คนต่อวัน

บริษัทที่ปรึกษาเสนอแนวก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงโฮจิมินห์-เกิ่นเทอ จำนวนสามแนวมีความยาวต่างกัน ตั้งแต่ 146-179 กม.บางเส้นทางออกแบบเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อระบบสาธารณูปโภคของนครและตัวเมืองตามเส้นทางที่ผ่านซึ่งอาจจะต้องมีการรื้อถอนสร้างใหม่

เวียดนามมีเหตุผลมากมายที่จะต้องเร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งทางบก เพื่อเชื่อมต่อจังหวัดในเขตอู่ข้าวแห่งนี้ กับนครใหญ่ศูนย์กลางเศรษฐกิจในภาคใต้ และทั้งประเทศ

เกิ่นเทอ เป็นชุมทางของผู้คนหลายสิบล้าน เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาในเขตที่ราบปากแม่น้ำ มีท่าเรือสำหรับสินค้าส่งออก ปัจจุบันที่นั่นเป็นต้นทางของเรือท่องเที่ยวที่เข้าไปได้จนถึงกรุงพนมเปญของกัมพูชา และอยู่ไม่ไกลจากด่านตรวจคนเข้าเมืองม๊อกบ๋าย-บ่าเว็ต (Moc Bai-Bavet) ประตูสู่เขตเศรษฐกิจชายฝั่งอ่าวไทย

นั่นคือ แนวถนนระเบียงเศรษฐกิจใต้ (Southern Economic Corridor) ซึ่งจะต่อเชื่อมทะลุเข้าประเทศไทยที่ จ.ตราด ถึงกรุงเทพฯ โดยการสนับสนุนของธนาคารพัฒนาเอเชีย

เพิ่งมีการเปิดเผยเรื่องนี้บนเว็บไซต์ของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งระบุว่า รัฐบาลได้ตัดสินใจเรื่องนี้ สัปดาห์ที่แล้ว

คณะกรรมการประชาชนนครเกิ่นเทอ (Can Tho) ประชุมเมื่อวันที่ 5 ส.ค.สรุปแผนการสุดท้ายก่อนนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อลงนามอนุมัติ ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันว่าส่วนต่อขยายนี้จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในดินแดนอู่ข้าวของประเทศที่มีศักยภาพสูงมาก และเชื่อมต่อการคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา กับ ไทย

เป็นที่ทราบกันมานานก่อนหน้านี้ ว่า เวียดนามมีโครงการจะสร้างทางรถไฟระหว่างนครโฮจิมินห์ กับ นครเกิ่นเทอ เพื่อให้นครศูนย์กลางที่ราบปากแม่น้ำโขง เชื่อมต่อเข้ากับการขนส่งระบบรางสายเหนือ-ใต้ แต่เป็นครั้งแรกที่มีการเปิดเผยว่า ทางรถไฟช่วงนี้จะสร้างขึ้นเพื่อให้รถสามารถแล่นได้ด้วยความเร็วตั้งแต่ 300-350 กม./ชม.

นั่นคือ เส้นทางสำหรับรถไฟความเร็วสูงไม่ว่าจะเลือกใช้เทคโนโลยีจากเอเชียหรือยุโรปก็ตาม

“โครงการมูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งโซนเส้นทางรถไฟแห่งชาติตั้งแต่นี้ไปจนถึงปี 2563 ที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลแล้ว ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนออกแบบและจะมีการกำหนดจัดพิธีวางศิลาฤกษ์ในระยะต่อไปข้างหน้า" หนังสือพิมพ์ไซ่ง่อนหยายฟง (Saigon Gia Phong) หรือ “ไซ่ง่อนปลดปล่อย” รายงานในสัปดาห์ต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา

ตามโครงการที่จัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษาเวียดนามกับบริษัทเกาหลีแห่งหนึ่ง การเดินทางจากโฮจิมินห์ไปยังเกิ่นเทอ ด้วยรถไฟสายนี้จะใช้เวลา 30-45 นาทีเท่านั้น เทียบกับเดินทางโดยรถยนต์ตามทางหลวงระยะทาง 169 กม.ในปัจจุบัน ที่ต้องใช้เวลากว่า 5 ชั่วโมง และ ยังต้องต่อเรือเฟอร์รีอีกทอดหนึ่ง

การก่อสร้างสะพานเกิ่นเทอข้ามลำน้ำแห่งหนึ่ง ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น และโดยบริษัทก่อสร้างญี่ปุ่นหยุดชะงักมาตั้งแต่เดือน ก.ย.2550 เมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างก่อสร้างทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 50 คน

ขณะที่เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า รัฐบาลเวียดนามกำลังจะเลือกใช้ระบบรถชินคันเซ็นของญี่ปุ่นสำหรับเส้นทางหลัก 1,550 กม.ฮานอย-โฮจิมินห์ แต่ยังไม่มีการกล่าวถึงเทคโนโลยีที่จะเลือกใช้ ตลอดจนรูปแบบและแผนการลงทุนรถไฟส่วนต่อขยาย รวมทั้งช่วงเกิ่นเทอ-ก่าเมา ซึ่งอาจจะจะมีความยาวอีก 200 กม.หรือกว่านั้น

“วิศวกรที่ปรึกษาได้ออกแบบให้รถความเร็วสูงยุคที่ 1 ความเร็ว 300 กม./ชม.กับยุคที่สอง 350 กม./ชม.แล่นได้ มีการออกแบบให้สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ตลอดเวลา 200 ปีข้างหน้า หลายช่วงต้องยกระดับขึ้น” หนังสือพิมพ์ของทางการ กล่าว
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพจากเว็บไซต์แห่งหนึ่งแสดงให้เห็นรถหัวกระสุนชินคันเซ็นถึง 3 รุ่นจอดที่สถานีแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว ญี่ปุ่นผลิตรถหัวกระสุนมานานจนเข้าสู่ ยุคที่ 3 เมื่อเดือนที่แล้วฮือฮากันในตลาดหลักทรัพย์กรุงโตเกียว หุ้นของกลุ่มคาวาซากิ (Kawasaki) ผู้ผลิตรถชินคันเซ็นรายใหญ่พุ่งกระฉูด หลังมีข่าวสะพัดว่ารัฐบาลเวียดนามเลือกใช้ระบบรถของญี่ปุ่น สำหรับเส้นทาง 1,550 กม.ฮานอย-โฮจิมินห์ </FONT></bR>
<bR><FONT color=#FF0000>ภาพจาก commons.wikimedia.org ไม่ได้ระบุวันเดือนปี รถหัวกระสุนเตเฌเว (TGV) จอดที่สถานีแห่งหนึ่งในกรุงปารีส ทุกอย่างยังเป็นไปได้สำหรับรถไฟความเร็วสูงระบบนี้ในเวียดนาม เมื่อเกิดส่วนต่อขยายระยะทางอีกกว่า 300 กม. ใครจะรู้ใจชาวเวียดนามดีเท่าฝรั่งเศส? </FONT></bR>
สนามบินเกิ่นเทอเพิ่งเปิดใช้เมื่อปลายปีที่แล้วหลังก่อสร้างขยาย และยกระดับขึ้นเป็นสนามบินนานาชาติ เครื่องบินโบอิงและแอร์บัสขึ้นลงได้เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี ตั้งแต่สงครามยุติลง

เกิ่นเทอเป็นจุดเชื่อมต่อการท่องเที่ยวเกาะฟุก๊วก (Phu Quoc) เกาะใหญ่ในอ่าวไทยที่รัฐบาลประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ หลังจากในปี 2548 ได้ประกาศแผนแม่บทพัฒนาให้เป็นปลายทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศระดับโลก

ตามรายงานของสื่อทางการ ในเดือน ส.ค.นี้ คณะทำงานชุดหนึ่งของรัฐบาลจะต้องสรุปโครงการรถไฟหัวกระสุนเหนือ-ใต้ระยะทาง 1,550 กม.มูลค่าก่อสร้างประมาณ 56,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อรัฐสภาในสมัยประชุมปลายปีที่คาดว่าจะมีขึ้นในปลายเดือน พ.ย.หรือต้น ธ.ค.ศกนี้

โครงการรถไฟความเร็วสูงโฮจิมินห์-เกิ่นเทอ-ก่าเมา แยกออกจากรถไฟหัวกระสุนโฮจิมินห์-ฮานอย ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้อย่างเป็นอิสระ แต่เมื่อแล้วเสร็จทั้งระบบจะถูกเชื่อมต่อเป็นเส้นทางเดียวกัน

ในเวลานั้นการท่องเที่ยวทะเลอ่าวไทย จังหวัดที่ราบปากแม่น้ำโขงกับนครโฮจิมินห์และปลายทางอื่นๆ ของประเทศก็จะเชื่อมเข้าหากันอย่างสมบูรณ์ สื่อของทางการกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น